เริ่มต้นทำงานใน Grab มาได้ 100 วันแล้ว สำหรับ คุณธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย ที่พร้อมออกสื่อเพื่อพูดคุยและแสดงวิสัยทัศน์ โดยหน้าที่หลักคือการดูแลด้านกลยุทธ์ของธุรกิจและสร้างพันธมิตรในตลาด แน่นอนว่าประสบการณ์ในการทำงานก่อนหน้านี้ คือเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดประจำประเทศไทยของ ลาซาด้า กรุ๊ป ซึ่งเขายอมรับว่าการทำงานส่วนใหญ่คือ “ดีล” กับหน่วยงานภาครัฐเป็นหลัก
ธรินทร์ เริ่มต้นด้วยการเกริ่นถึงบริการของ Grab ว่าพยายามผลักดันให้ Grab เป็น One Stop Service ในไทย เหมือนกับในหลายประเทศ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นคุยเรื่องกรอบการทำ Sandbox ในขณะที่อีก 6 ประเทศที่เหลือเขาเปิดกว้างให้บริการของ Grab Car ถูกกฏหมายกันไปแล้ว
Grab ใน 8 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์และอินโดนีเซีย มีผู้ใช้งาน 6 ล้านเที่ยว/วัน ดาวน์โหลดเพื่อใช้งานกว่า 100 ล้านครั้งและมีการกระจายรายได้ให้แก่พาร์ทเนอร์กว่า 6 ล้านชีวิต บริการของ Grab มีทั้งเดินทาง ส่งอาหาร ส่งสินค้าและชำระเงินผ่านมือถือและบริการทางการเงิน ซึ่งแน่นอนว่า ในไทยหลังแบงค์ชาติเปลี่ยนกฏข้อบังคับ ทำให้บริการ Wallet ของ Grab ยังไม่เกิดในไทย และบริการไฟแนนเชียลหรือเงินกู้สำหรับผู้ร่วมขับก็ยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้แน่นอน
พนักงานในไทยส่วนของออฟฟิศ มีกว่า 400 คน เป็นคอลล์เซ็นเตอร์ 120-150 คนไปแล้ว มี Data Scientist ประมาณ 10 กว่าคน และเกือบทั้งหมดเป็นคนไทย แต่ก็มีทีมงานต่างชาติประมาณ 3 คน ช่วงอายุของพนักงานเฉลี่ยอยู่ที่ไม่เกิน 30 ปี เรียกว่าเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ หัวใจไอทีกันทั้งนั้น ซึ่งคนเหล่านี้ไม่รวมพนักงานของ Uber และไม่บอกด้วยว่าทีมนี้มีกันกี่คนที่ยังอยู่ในช่วงฟอร์มทีม
ทางด้านของ Grab Taxi บอกไม่ได้ว่ามีจำนวนแท็กซี่ในระบบเท่าไหร่ แต่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ขับแท็กซี่ที่มีใบอนุญาตประมาณ 9 หมื่นคัน และแน่นอนว่าอยู่ในระบบของ Grab ประมาณ 20% ส่วนคนขับ Grab Car หลังรวมกับ Uber ก็มีเพิ่มประมาณ 10-15% แต่เดิมผู้ร่วมขับเหล่านี้ก็ให้บริการทั้ง 2 แอปอยู่แล้ว การมาร่วมมือกันไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร ด้านรายได้ สิทธิประโยชน์ เงิน Intensive ก็ต้องใช้ Rate เดียวกับของ Grab
อนาคตของแกร็บ อยากให้เป็นแอปเดียวสำหรับทุกคน ในธีม everyday app for everyone แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบในไทย เพราะยังไม่ผ่านข้อกฏหมายหลายเรื่อง ก็จะพยายามผลักดันกันต่อไป เน้น Transpotation เป็นหลัก แต่ก็เสริมบริการด้านการส่งอาหารมากขึ้น เมื่อร่วมกับ Uber Eats ตอนนี้มีร้านในระบบ 4,000 กว่าร้านค้าแล้ว ซึ่งเที่ยวการส่งอาหารโต 4.5 เท่าเลยทีเดียว เพราะเป็นบริการส่งฟรีไม่มีชาร์จเพิ่ม
แน่นอนว่าตอนนี้ไม่มีคู่แข่งที่น่ากังวล การจัดโปรโมชั่นในส่วนของ Transpotation อาจไม่หวือหวาเท่ากับกลุ่ม Food เพราะตอนนี้มีผู้เล่นรายเดียว การให้ส่วนลดก็จะเฉลี่ยกันไปในแต่ละเดือน สิ่งที่จะเร่งทำตลาดคือในกลุ่มจัดส่งสินค้า-อาหาร มากกว่า โดยมั่นใจตอนนี้มีมอเตอร์ไซต์ในระบบเยอะ ทำให้การส่งของทำได้ดีขึ้น ในบริเวณระยะ 5 กม.รอบตัวของผู้ใช้งาน จะต้องมีมอเตอร์ไซต์รองรับอยู่แน่นอน เพื่อให้ใช้งานได้ทั่วถึง
สุดท้ายบริการของใครจะดีที่สุดก็อยู่ที่ผู้ใช้งานเปิดใจแล้วล่ะค่ะ