Site icon Thumbsup

กรณีศึกษา Cloud ตอนที่ 1 : Harvey Norman กับการใช้ Cloud Service ในธุรกิจค้าปลีกบนเว็บ

Harvey_Norman_Pavillon_resize

ในปีที่ผ่านมา หลายคนได้ยินคำว่า “Cloud” กันบ่อยๆ จนเริ่มชินกับเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนชีวิต หรือรูปแบบธุรกิจแบบเดิมๆ ให้มีประสิทธิภาพและที่สำคัญคือคุ้มค่าคุ้มราคา เหมาะกับการลงทุน วันนี้เราจะพาไปดูอีกหนึ่งบริษัทด้านธุรกิจค้าปลีกสินค้าไอทีในต่างประเทศหนึ่งราย ที่นำ Cloud Services ไปประยุกต์ใช้แล้วประสบความสำเร็จต่อองค์กร ไปดูว่าเค้าทำกันอย่างไรให้ “เวิร์ค” กันดีกว่าครับ…

เพื่อนๆ thumbsup’er หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อของ Harvey Norman กันมาบ้างแล้ว กับการเป็นร้านค้าปลีกที่เน้นจำหน่ายสินค้าไอทีและเครื่องใช้ไฟฟ้า จากประเทศออสเตรเลีย และพวกเขาก็เป็นบิ๊กเนมที่ไม่ได้มีสาขาแค่ในประเทศเท่านั้น แต่ 230 สาขาของพวกเขาที่มีพนักงานกว่าหมื่นคน มีอยู่ทั้งในประเทศนิวซีแลนด์?ประเทศแถบยุโรป และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

และไม่แต่ต่างจากบริษัทค้าปลีกหลายราย ที่พยายามจัดทำเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางส่งเสริมการค้าในรูปแบบต่างๆ และ?BiG BUYS ก็คือเว็บไซต์นั้น โดยเว็บนี้จะมีรูปแบบเป็น Daily Deals เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าของพวกเขาได้มีโอกาสซื้อสินค้าในราคาที่ประหยัดขึ้นในทุกๆ วันนั่นเอง

แต่เรื่องทุกอย่างไม่ได้ง่ายครับ เมื่อ Harvey Norman แม้จะเป็นบริษัทใหญ่ แต่การสร้างเว็บไซต์ที่มีระบบมากมายในเวลาแค่ 8 สัปดาห์ และยังต้องลงทุนในเรื่องของระบบโครงสร้างต่างๆ ที่ไม่ได้มีอยู่แต่เดิมอีกด้วย นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการยากที่จะคาดเดาว่าการทำธุรกรรมที่จะเข้ามาในเว็บนั้นจะมีมากน้อยเพียงใด แต่ทางบริษัทก็จำเป็นต้องเผื่อระบบของเว็บ ให้สามารถรองรับการเข้าใช้งานกว่า 100,000 ครั้งต่อชั่วโมงให้ได้

ด้วยปัญหาดังกล่าวทำให้ทาง Harvey Norman ต้องใช้เงินมหาศาล หากหวังที่จะทำให้?BiG BUYS เพียบพร้อมที่จะรองรับการใช้งานที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และไม่อาจจะทำนายยอดการใช้งานที่เข้ามาในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม?การแก้ปัญหาของเว็บไซต์ Daily Deals ของร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่สัญชาติของออสเตรเลียน จบลงที่การใช้บริการอย่าง Cloud Service ของ Microsoft นั่นคือ “Microsoft Windows Azure” ในรูปแบบของ?Infrastructure-as-a-Service (IaaS)?นั่นเอง ครับ

โดยที่?BiG BUYS เปลี่ยนการโฮสติ้งจากบนเซิร์ฟเวอร์เดิม ที่ต้องมีการเผื่อระบบโครงสร้างและเครือข่ายไว้มากกว่าความเป็นจริง มาใช้ระบบการโฮสต์ผ่าน Cloud Platform ซึ่งข้อดีหลังการเปลี่ยนมาใช้ Azure ก็คือการใช้งาน และการจัดการทำได้ง่ายผ่านเว็บ Portal สามารถโอนย้ายข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มจากของเดิมมา โดยนอกจากจะรองรับภาษาและระบบปฏิบัติของทาง Microsoft เองได้ ยังรองรับ Linux ไม่ว่าจะเป็น CentOS, openSUSE, SUSE Linux และ Ubuntuได้ทันทีอีกด้วย แถมยังรองรับการพัฒนารูปแบบบริการใหม่ๆ ของทางบริษัทได้ ไม่ว่าจะเป็น?Java, PHP หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของ Microsoft เองก็ตาม

ทางผู้บริหารของ Harvey Norman ยังสามารถที่จะดูรายการการเข้าใช้บริการได้ง่ายๆ แถมยังดูปริมาณการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์มากขึ้นได้อีกด้วย

ทั้งนี้ Harvey Norman สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย สำหรับการลงทุนในโครงสร้างเครือข่ายของ BiG BUYS เมื่อใดก็ตามที่ปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้น Windows Azure ก็จะเพิ่มทรัพยากรสำหรับเว็บไซต์ให้อัตโนมัติ และลดลงเมื่อไม่มีการเข้าใช้งานแบบอัตโนมัติเช่นเดียวกัน ทำให้พวกเขาแทบไม่ต้องเสียทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้งานไปแบบฟรีๆ เลยล่ะครับ

โดยปัจจุุบัน BiG BUYS นั้นใช้เซิร์ฟเวอร์อยู่ใน Cloud Service อยู่ทั้งหมด 3 ตัว ซึ่งรองรับการใช้งานราวร้อยละ 10-15 หรือประมาณ 15,000 ถึง 20,000 page views เท่านั้น ในขณะที่มีเป็นช่วงพีคของการใช้งาน พวกเขาสามารถเพิ่มจำนวนเซิร์ฟเวอร์เพื่อรองรับการใช้งานกว่าร้อยละ 80 หรือ?375,000 page views ได้อย่างไม่มีปัญหาแต่อย่างใด