เรื่องการช่วยเหลือประชาชนนั้น เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องเร่งด่วนที่ภาครัฐให้ความใส่ใจไม่แพ้เรื่องการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 กันเลยนะคะ แม้จำนวนผู้ป่วยจะมีทิศทางที่ดีขึ้น คือ ผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตลดลง แต่ก็ต้องเร่งฟื้นฟูให้ประชาชนอยู่ได้ เศรษฐกิจภาพรวมอยู่รอด วันนี้เรามาดูกันค่ะ ว่าแต่ละประเทศที่มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนนั้น มีอันไหนน่าสนใจและนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้บ้าง
ประเทศไทย
- โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
- ประกันสังคม : กรณีว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินชดเชยในอัตราร้อยละ 50 เป็นเวลาไม่เกิน 60 วัน
- ประกันสังคม : กรณีไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานด้วยเหตุสุดวิสัย จะได้รับเงินชดเชยในอัตราร้อยละ 50 เป็นเวลาไม่เกิน 180 วัน
- ลดค่าน้ำ-ค่าไฟ เป็นเวลา 3 เดือน (เม.ย.-มิ.ย.) คืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย-กิจการขนาดเล็ก 21.5 ล้านราย วงเงิน 30,000 ล้านบาท และตรึงอัตราค่าไฟ (FT) เดือนพฤษภาคม 2563 ในอัตรา 11.60 สตางค์/หน่วย วงเงิน 4,534 ล้านบาท
- เลื่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2562 จากสิ้นสุด 31 มี.ค. 63 เป็นสิ้นสุด 31 ส.ค.63
- ยกเว้นค่าเช่าที่ราชพัสดุ 1 ปีให้กับผู้อาศัย-เกษตรกร
- พักชำระหนี้ในกลุ่มธนาคารเอกชนและธนาคารของรัฐ
ญี่ปุ่น
- มอบเงินครัวเรือนละ 3 แสนเยน (ประมาณ 91,000 บาท)
- พนักงานลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบให้วันละ 8,330 เยน (ประมาณ 2,500 บาท)
- กู้เงินฉุกเฉิน 100,000-200,000 เยน โดยไม่มีดอกเบี้ย
สิงคโปร์
- บุคคลที่อายุ 21 ปีขึ้นไป รับเงินช่วยเหลือคนละ 600 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 14,000 บาท)
- ช่วยเหลือบริษัทจ่ายชดเชยเงินค่าจ้างให้พนักงานคนละ 4,600 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 1 แสนบาท)
ฮ่องกง
- บุคคลที่อายุ 18 ปีขึ้นไป รับเงินช่วยเหลือคนละ 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 42,000 บาท)
- ช่วยลดภาษีกำไรให้ผู้ประกอบการ ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงินไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ลดภาษีกำไรปี 62-63
- ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ยกเว้นภาษีที่อยู่อาศัย ยกเว้นค่าเช่า 1 เดือนสำหรับผู้มีรายได้น้อย
- ให้เงินช่วยเหลือพิเศษสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ จำนวนเท่ากับเบี้ยเลี้ยง 1 เดือน
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับนักเรียน
มาเลเซีย
- ประชาชน 4 ล้านครัวเรือนที่มีรายได้ 4,000 ริงกิต (ประมาณ 30,000 บาท) หรือต่ำกว่า ได้รับเงิน 1,600 ริงกิต (ประมาณ 12,000 บาท)
- อายุ 21 ปีขึ้นไปที่มีรายได้ 2,000 ริงกิต (ประมาณ 15,000 บาท) หรือต่ำกว่า ได้เงินช่วยเหลือ 800 ริงกิต (ประมาณ 6,000 บาท)
- ผู้ที่มีรายได้ 4,000-8,000 ริงกิต ได้รับเงินช่วยเหลือ 1,000 ริงกิต (ประมาณ 3,700 บาท)
- คนโสด อายุ 21 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ 2,000-4,000 ริงกิต ได้รับเงินช่วยเหลือ 500 ริงกิต (ประมาณ 3,700 บาท)
- พักชำระหนี้ 6 เดือน
- มอบเงินช่วยเหลือเดือนละ 600 ริงกิต (ประมาณ 4,500 บาท) สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 4,000 ริงกิต
- ไม่อนุญาตให้นายจ้างลดเงินเดือนลูกจ้างที่ได้เงินเดือนต่ำกว่า 4,000 ริงกิต
- ข้าราชการและข้าราชการเกษียณ ได้รับเงิน 500 ริงกิต
- เจ้าหน้าที่ศุลกากร/ตรวจคนเข้าเมือง ได้เบี้ยเลี้ยง 200 ริงกิต/เดือน (ประมาณ 1,500 บาท)
สหรัฐอเมริกา
- ชาวอเมริกาที่บรรลุนิติภาวะแล้ว จะได้รับเงินเยียวยา 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 39,000 บาท)
- คู่สมรสที่มีรายได้รวมกัน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ รับเงินช่วยเหลือ 24,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 78,000 บาท) และได้รับเงินเพิ่มตามจำนวนบุตรอีก 500 ดอลลาร์สหรัฐ
- ตรวจหาเชื้อไวรัสฟรีทุกกรณี
สหราชอาณาจักร
- ประกาศแผน Statutory Sick Pay จะมีการจ่ายเงินชดเชยให้กับธุรกิจ SMEs มีพนักงานไม่เกิน 250 คน และให้กับผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่ต้องกักกันตนเองเพื่อรอดูอาการ จะได้รับเงินชดเชยเป็นเวลา 2 สัปดาห์
- ประกาศแผน Job Retention Schemes โดยจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับบริษัทที่ไม่ได้เลิกจ้างพนักงานสูงสุด 80% หรือ เดือนละ 2,500 ปอนด์ต่อคน เป็นเวลา 3 เดือน
อินโดนีเซีย
- เพิ่มงบประมาณ Social Security Funds 30% เช่น เงินช่วยเหลือคนจน มูลค่า 4.6 ล้านล้านรูปี เพื่อกระตุ้นการบริโภค
- ให้เงินสมทบเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยบ้านและเงินดาวน์ ให้กับผู้มีรายได้น้อย
- อุดหนุนค่าโดยสารสำหรับการเดินทางไป top 10 destination คิดเป็นมูลค่า 433.9-443.3 พันล้านรูปี
ออสเตรเลีย
- ให้เงินแก่ครัวเรือนที่เป็นผู้รับสวัสดิการรัฐ ครัวเรือนละ 750 ดอลลาร์ออสเตรเลีย จ่าย 2 ครั้งในเดือนมี.ค. และ ก.ค. 2563
- ให้เงินช่วยเหลือผู้ว่างงาน คนละ 1,100 ดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยจ่ายทุก 2 สัปดาห์เป็นเวลา 6 เดือน
- อนุญาตให้ถอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อการเกษียณ ได้ก่อนกำหนด ปีละ 10,000 ดอลลาร์ออสเตรเลียในปีงบประมาณ 62-63 และ 63-64
- มาตรการช่วยเหลือด้านการผ่อนคลายเกณฑ์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประกันสังคม
ที่มา : เจาะใจ, ประชาชาติธุรกิจ , Thaibizchina , kapook