P&G ร่วมกับ GC และ Habitat for Humanity Thailand ร่วมกันสร้างบ้านหลังแรกจากวัสดุ Upcycling หลังแรก หวังช่วยแก้ปัญหาพลาสติกใช้แล้วในท้องทะเล
คุณนิติน ดาร์บารี รองประธานและผู้จัดการทั่วไป P&G กล่าวว่า “ บริษัทฯ มุ่งดำเนินธุรกิจตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติจึงได้จับมือพันธมิตร เพื่อหาทางออกในการลดปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้แล้วและไหลลงสู่ทะเล ให้หมดไปภายในปี 2030 ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้พลาสติกเหล่านั้น โดยต้องนำมาซึ่งประโยชน์ต่อชุมชน และสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
ด้วยแนวคิด Waste to Worth บ้านจากวัสดุอัพไซคลิงหลังแรกของไทย จึงสร้างด้วยวัสดุที่แปรรูปมาจากพลาสติกใช้แล้วกว่า 3 ตัน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสายการผลิตของ P&G และบางส่วนมาจากพลาสติกใช้แล้วในชุมชน และจากจุดเริ่มต้นนี้เอง ทำให้เราตระหนักถึงปัญหาของพลาสติกใช้แล้ว ซึ่งยังขาดการจัดเก็บและคัดแยกอย่างถูกวิธี ซึ่งหากจัดเก็บและคัดแยกอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะนำมาซึ่งมูลค่าเพิ่มดังเช่นความสำเร็จของโครงการนี้
ดร.ชญาน์ จันทวสุ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความยั่งยืนและภาพลักษณ์องค์กร GC กล่าวว่า “GC ต้นแบบและนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจ และขยายผลไปสู่โครงการต่างๆ ภายใต้แนวคิด GC Circular Living เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรดำเนินดำเนินการอย่างครบวงจร “Loop Connecting”
สำหรับบ้าน Upcycling หลังนี้ ผลิตจากพลาสติกใช้แล้วทั้งประเภท HDPE Bottle และ Multilayered Flexible Packaging ที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บและคัดแยกร่วมกันในชุมชน กว่า 3 ตัน โดยใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้เทียม Eco Board และ Eco Roof เพื่อนำมาสร้างเป็นตัวบ้านและหลังคาบ้าน
พร้อมกันนี้ได้ประสานกับ Habitat for Humanity ในการส่งมอบให้ผู้ขาดแคลนที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ นับว่าโครงการนี้สามารถขยายผลไปสู่ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ต่อยอดกลยุทธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนตระหนักรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการพลาสติกยิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต
อย่างไรก็ตาม บ้าน Upcycling หลังแรกนี้ นอกจากจะเป็นต้นแบบที่สร้างความมั่นใจว่า วัสดุ Upcycling มีคุณภาพสูง สามารถใช้งานทดแทนวัสดุดั้งเดิมได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังตอบโจทย์ Loop Connecting หรือความร่วมมือกับพันธมิตรของ GC อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง คือ การสร้างความตระหนักให้เกิดการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง
กลางทาง คือ ขยะที่ถูกคัดแยกอย่างถูกต้อง เหมาะสม จะช่วยสร้างรายได้เพิ่ม และปลายทาง คือ ขยะพลาสติกได้รับการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็น Upcycled Products ใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง โดยมิต้องสิ้นเปลืองทรัพยากร นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์รีไซเคิลคุณภาพสูง ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย