ปัจจุบัน Startup ถือได้ว่าเติบโตอย่างมากในไทย ซึ่งทุกวันนี้ Startup ส่วนมากมีคุณภาพที่ดีขึ้นมาก แต่มีอยู่ประเด็นที่พูดถึงกันมากว่าการเป็น Startup นั้น จำเป็นไหมที่ต้องเข้าโรงเรียน หรือที่เรียกว่า Accelerator (โครงการบ่มเพาะ startup) ที่ตอนนี้มีหลายองค์กรในประเทศไทยเข้ามามีบทบาทกันมากขึ้น ทั้งโทรคมนาคมและธนาคาร อย่างเช่น ธนาคารไทยพาณิชย์มี Digital Ventures (DVA) เป็นต้น โดยผู้ที่จะมาไขปัญหาเหล่านี้ได้แก่ผู้คร่ำหวอดในวงการสตาร์ทอัปที่เราคุ้นหน้ากันดี
• คุณชาล เจริญพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง co-working space แห่งแรกในไทย อย่าง Hubba และปัจจุบันนี้เขาก็ได้รับบทบาทเป็น Head of Accelerator แห่ง Digital Ventures ในเครือ SCB
• คุณกัน – เจติยา งามเมฆินทร์ Accelerator Program Manager จากบริษัท Digital Ventures จำกัด
• คุณเคี้ยว – อนวัช คิมหสวัสดิ์ Founder จาก One Stock Home บริการซื้อวัสดุก่อสร้างออนไลน์
• คุณนพ – พงศธร ธนบดีภัทร COO จาก Refinn บริการรีไฟแนนซ์บ้านออนไลน์
• คุณเอิร์ธ – สรณัญช์ ชูฉัตร CEO จาก ETRAN ผู้ผลิตมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าเจ้าแรกของไทย
ที่มาที่ไปของ DVA หรือ Accelerator (โครงการบ่มเพาะ startup)
Accelerator ในต่างประเทศมีมานานมากกว่า 10 ปีแล้ว แต่ในไทยดูเหมือนจะเป็นปรากฏการณ์ในช่วง 2-3 ปีนี้ จะเห็นว่ามีหลายๆ องค์กรในไทย ได้ setup หน่วยงาน accelerator ขึ้นมา ซึ่งพิสูจน์กันว่า Accelerator นั้นจะอยู่รอดหรือไม่ใช้เวลาประมาณ 3 ปีเช่นเดียวกันกับ Startup จุดสำคัญที่ Accelerator สามารถส่งเสริม Startup คือให้ความรู้ที่ช่วยเหลือ Startup ได้จริง ๆ พอจบโครงการแล้วยังติดตามผลต่อและดูแลจนถึงวันที่สำเร็จ ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ นี้มาจากการดูงานจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ แล้วนำจุดแข็งที่มีใน Startup มาเสริมให้แน่นขึ้น เป็นเหมือนพี่เลี้ยงที่พาไปให้ถึงฝั่งฝัน
จุดที่ Startup ตัดสินใจเข้า Accelerator
ถือว่าไม่ง่ายเลยที่ Startup จะสามารถดำเนินไปได้ดีตลอดรอดฝั่ง ตั้งแต่มีไอเดียตั้งต้น จนถึงการรวมกลุ่มคนที่สนใจมาทำ เริ่มทดลองใช้งาน พอมาถึงจุดหนึ่งที่จำนวนลูกค้าเริ่มคงที่ มี 2 ทางให้เลือกคือ หาทางเพิ่มลูกค้าด้วยตัวเอง หรือลองเข้า Accelerator เพื่อหาความรู้เพิ่ม
เหตุผลหลักที่เหล่า Startup ตัดสินใจสมัครเข้า Accelerator คือ ยังขาดความรู้ในบางส่วนหลังจากที่ทดลองไอเดีย เช่น เทคโนโลยี การเงิน กฎหมาย ฯลฯ แล้วต้องการโค้ชที่คอยแนะนำและชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของ Startup ได้ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้การดำเนินการเป็นไปได้ด้วยดีจากที่มีไอเดียที่ดีอยู่แล้วอีกด้วย
เข้า Accelerator แล้วได้มากกว่าที่คิด
จากที่คิดแค่ว่าจะมาเพิ่มความรู้มาพัฒนา Startup และต้องการโค้ชนั้น ถือได้ว่าสิ่งที่ Startup ได้จาก Accelerator นั้นได้มากกว่าที่คาดคิดไว้มาก เปรียบเหมือนได้อยู่โรงเรียนสอน Startup ที่แท้จริง ที่มีเพื่อนร่วมทางเป็น Startup จากหลายสาขาอาชีพ มีความถนัดต่างกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถึงขนาดจัดคลาสเรียนสอนกันเอง ถือว่าเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ที่ต่างคนต่างได้เรียนรู้ แชร์ความรู้กันจนตกตะกอน จัดว่าเป็น “MBA for Startup”
บ่มเพาะ Startup นานถึง 6 เดือนเพราะอะไร
อันที่จริงแล้วระยะเวลา 6 เดือนนั้นอาจจะสั้นเกินไปเสียด้วยซ้ำ เพราะเหล่า Startup ต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย จึงมีเวลาไม่มากนัก ซึ่ง 6 เดือนนี้ถือเป็นการติวเข้มชาว Startup ให้รู้ทุกอย่างที่ควรรู้จริง ๆ เน้นตั้งแต่พื้นฐานความรู้ทั้งหมดในการทำ Startup อย่างเช่น การทำบัญชี การทำสไลด์สำหรับนำเสนอ การหา Partner ฯลฯ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทุกสิ่งอย่างและดัน Startup ให้ไปได้ไกลที่สุด
ความประทับใจที่มากกว่าที่คิด
ความประทับใจในโครงการที่มีกำลังใจจากทั้งเพื่อนในทีม เพื่อนต่างทีมที่คอยให้กำลังใจ หรือแม้แต่ทีมงานของ DVA ที่ดูแลกันจนถึงขอบเวทีก่อนขึ้นไปนำเสนองานด้วยซ้ำ เหมือนที่คุณเอิร์ธจะต้องนำมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าขึ้นเวที ทีมงานก็คอยดูแลอย่างใกล้ชิด เปรียบแล้ว ทีมงาน DVA เป็นเหมือนกูรูด้าน Startup ที่ปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้ลองผิดลองถูกไปด้วยกันจนหลังจากจบโครงการก็ยังดูแลกันอยู่
เหตุการณ์ที่ Startup ต่างช่วยกันสร้างจริง ๆ
จากการที่สนับสนุนให้ Startup ช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้น ทำให้เกิดการช่วยเหลือขึ้นมากจริง ๆ อย่าง One Stock Home แอปพลิเคชันที่ขายวัสดุก่อสร้างให้กับผู้รับเหมา ได้คุยกับทาง Peer power (Marketplace กู้ยืมเงินแบบ Peer-to-peer ระหว่างลูกค้าในไทย) ได้ทำกองเงินให้ผู้รับเหมาได้ใช้จ่ายก่อนและมีเครดิตเงินคืนกับทาง Peer power ได้ โดยในอนาคตจะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง Seekster (บริการ On-demand Marketplace ระหว่างผู้บริโภคและ SMEs) อีกด้วย หรือการที่ Refinn บริการรีไฟแนนซ์บ้านออนไลน์ ซึ่งคุยกับลูกค้าตลอดเวลา อยากจะติดต่อกับลูกค้าได้ง่ายขึ้นจึงคุยกับทาง Convolab (AI Chatbot เพื่อแก้ปัญหาให้แต่ละธุรกิจตามความต้องการ) ดึง Chatbot เข้ามาช่วยตอบ ในจุดนี้ทางโครงการได้เลือก Startup ทั้ง 10 ทีม ที่สามารถช่วยเหลือกันได้อยู่แล้ว รวมทั้งช่วยกันออกความคิดเห็นเวลาแต่ละทีมนำเสนองานทั้ง ๆ ที่เป็นคู่แข่งกัน
ขอแค่วิสัยทัศน์ดีก็มาสมัครได้
ถ้าถามว่า Startup แบบไหนที่สมัครโครงการ DVA นี้ได้ ขอแค่มีเทคโนโลยีที่ดี แปลกใหม่ น่าสนใจ และพร้อมค้นคว้าหาข้อมูลไปด้วยกัน แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ วิสัยทัศน์และความคิดของผู้สมัครเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เก่งไม่เก่งไม่สำคัญ ขอแค่เชื่อมั่นในไอเดียและเป็นตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องตอบคำถามได้ดี แต่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ มีแรงขับเคลื่อนสูง เปิดใจรับการเรียนรู้ก็สามารถสมัครได้
นับได้ว่าได้รับความรู้และแรงบันดาลใจกันไปเต็มๆ สำหรับ Startup และคนที่สนใจธุรกิจ Startup ทุกท่าน ยิ่งถ้าได้เข้า Accelerator อย่าง DVA แล้ว ยิ่งส่งเสริมให้ Startup เติบโตอย่างก้าวกระโดดมากยิ่งขึ้น สามารถติดตามความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับ Startup และเทคโนโลยีฟินเทคได้ต่อที่ FB page : DigitalVenturesTH
ส่วน Startup ใดที่สนใจอยากจะทำให้ธุรกิจเติบโต อย่าลืมสมัครเข้าโครงการ Digital Ventures Accelerator ได้ที่ www.dv.co.th/DVA ซึ่งจะหมดเขตรับสมัคร 15 ก.ค. นี้
บทความนี้เป็น Advertorial