Site icon Thumbsup

Accelerator (โครงการบ่มเพาะ startup) สำคัญอย่างไรต่อการเติบโตของ Startup

 

ปัจจุบัน Startup ถือได้ว่าเติบโตอย่างมากในไทย ซึ่งทุกวันนี้ Startup ส่วนมากมีคุณภาพที่ดีขึ้นมาก แต่มีอยู่ประเด็นที่พูดถึงกันมากว่าการเป็น Startup นั้น จำเป็นไหมที่ต้องเข้าโรงเรียน หรือที่เรียกว่า Accelerator (โครงการบ่มเพาะ startup) ที่ตอนนี้มีหลายองค์กรในประเทศไทยเข้ามามีบทบาทกันมากขึ้น ทั้งโทรคมนาคมและธนาคาร อย่างเช่น ธนาคารไทยพาณิชย์มี Digital Ventures (DVA) เป็นต้น โดยผู้ที่จะมาไขปัญหาเหล่านี้ได้แก่ผู้คร่ำหวอดในวงการสตาร์ทอัปที่เราคุ้นหน้ากันดี

• คุณชาล เจริญพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง co-working space แห่งแรกในไทย อย่าง Hubba และปัจจุบันนี้เขาก็ได้รับบทบาทเป็น Head of Accelerator แห่ง Digital Ventures ในเครือ SCB
• คุณกัน – เจติยา งามเมฆินทร์ Accelerator Program Manager จากบริษัท Digital Ventures จำกัด
• คุณเคี้ยว – อนวัช คิมหสวัสดิ์ Founder จาก One Stock Home บริการซื้อวัสดุก่อสร้างออนไลน์
• คุณนพ – พงศธร ธนบดีภัทร COO จาก Refinn บริการรีไฟแนนซ์บ้านออนไลน์
• คุณเอิร์ธ – สรณัญช์ ชูฉัตร CEO จาก ETRAN ผู้ผลิตมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าเจ้าแรกของไทย

(จากซ้ายไปขวา) คุณนพ – พงศธร ธนบดีภัทร COO จาก Refinn, คุณเคี้ยว – อนวัช คิมหสวัสดิ์ Founder จาก One Stock Home และคุณชาล เจริญพันธ์ Head of Accelerator แห่ง Digital Ventures ในเครือ SCB

 

ที่มาที่ไปของ DVA หรือ Accelerator (โครงการบ่มเพาะ startup)

Accelerator ในต่างประเทศมีมานานมากกว่า 10 ปีแล้ว แต่ในไทยดูเหมือนจะเป็นปรากฏการณ์ในช่วง 2-3 ปีนี้ จะเห็นว่ามีหลายๆ องค์กรในไทย ได้ setup หน่วยงาน accelerator ขึ้นมา ซึ่งพิสูจน์กันว่า Accelerator นั้นจะอยู่รอดหรือไม่ใช้เวลาประมาณ 3 ปีเช่นเดียวกันกับ Startup จุดสำคัญที่ Accelerator สามารถส่งเสริม Startup คือให้ความรู้ที่ช่วยเหลือ Startup ได้จริง ๆ พอจบโครงการแล้วยังติดตามผลต่อและดูแลจนถึงวันที่สำเร็จ ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ นี้มาจากการดูงานจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ แล้วนำจุดแข็งที่มีใน Startup มาเสริมให้แน่นขึ้น เป็นเหมือนพี่เลี้ยงที่พาไปให้ถึงฝั่งฝัน

(จากซ้าย) คุณคุณสรณัญช์ ชูฉัตร ผู้ก่อตั้ง อีทราน (ไทยแลนด์) และคุณเจติยา งามเมฆินทร์ Accelerator Program Manager จาก Digital Ventures

จุดที่ Startup ตัดสินใจเข้า Accelerator

ถือว่าไม่ง่ายเลยที่ Startup จะสามารถดำเนินไปได้ดีตลอดรอดฝั่ง ตั้งแต่มีไอเดียตั้งต้น จนถึงการรวมกลุ่มคนที่สนใจมาทำ เริ่มทดลองใช้งาน พอมาถึงจุดหนึ่งที่จำนวนลูกค้าเริ่มคงที่ มี 2 ทางให้เลือกคือ หาทางเพิ่มลูกค้าด้วยตัวเอง หรือลองเข้า Accelerator เพื่อหาความรู้เพิ่ม

เหตุผลหลักที่เหล่า Startup ตัดสินใจสมัครเข้า Accelerator คือ ยังขาดความรู้ในบางส่วนหลังจากที่ทดลองไอเดีย เช่น เทคโนโลยี การเงิน กฎหมาย ฯลฯ แล้วต้องการโค้ชที่คอยแนะนำและชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของ Startup ได้ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้การดำเนินการเป็นไปได้ด้วยดีจากที่มีไอเดียที่ดีอยู่แล้วอีกด้วย

เข้า Accelerator แล้วได้มากกว่าที่คิด

จากที่คิดแค่ว่าจะมาเพิ่มความรู้มาพัฒนา Startup และต้องการโค้ชนั้น ถือได้ว่าสิ่งที่ Startup ได้จาก Accelerator นั้นได้มากกว่าที่คาดคิดไว้มาก เปรียบเหมือนได้อยู่โรงเรียนสอน Startup ที่แท้จริง ที่มีเพื่อนร่วมทางเป็น Startup จากหลายสาขาอาชีพ มีความถนัดต่างกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถึงขนาดจัดคลาสเรียนสอนกันเอง ถือว่าเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ที่ต่างคนต่างได้เรียนรู้ แชร์ความรู้กันจนตกตะกอน จัดว่าเป็น “MBA for Startup”

บ่มเพาะ Startup นานถึง 6 เดือนเพราะอะไร

อันที่จริงแล้วระยะเวลา 6 เดือนนั้นอาจจะสั้นเกินไปเสียด้วยซ้ำ เพราะเหล่า Startup ต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย จึงมีเวลาไม่มากนัก ซึ่ง 6 เดือนนี้ถือเป็นการติวเข้มชาว Startup ให้รู้ทุกอย่างที่ควรรู้จริง ๆ เน้นตั้งแต่พื้นฐานความรู้ทั้งหมดในการทำ Startup อย่างเช่น การทำบัญชี การทำสไลด์สำหรับนำเสนอ การหา Partner ฯลฯ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทุกสิ่งอย่างและดัน Startup ให้ไปได้ไกลที่สุด

ความประทับใจที่มากกว่าที่คิด

ความประทับใจในโครงการที่มีกำลังใจจากทั้งเพื่อนในทีม เพื่อนต่างทีมที่คอยให้กำลังใจ หรือแม้แต่ทีมงานของ DVA ที่ดูแลกันจนถึงขอบเวทีก่อนขึ้นไปนำเสนองานด้วยซ้ำ เหมือนที่คุณเอิร์ธจะต้องนำมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าขึ้นเวที ทีมงานก็คอยดูแลอย่างใกล้ชิด เปรียบแล้ว ทีมงาน DVA เป็นเหมือนกูรูด้าน Startup ที่ปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้ลองผิดลองถูกไปด้วยกันจนหลังจากจบโครงการก็ยังดูแลกันอยู่

เหตุการณ์ที่ Startup ต่างช่วยกันสร้างจริง ๆ

จากการที่สนับสนุนให้ Startup ช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้น ทำให้เกิดการช่วยเหลือขึ้นมากจริง ๆ อย่าง One Stock Home แอปพลิเคชันที่ขายวัสดุก่อสร้างให้กับผู้รับเหมา ได้คุยกับทาง Peer power (Marketplace กู้ยืมเงินแบบ Peer-to-peer ระหว่างลูกค้าในไทย) ได้ทำกองเงินให้ผู้รับเหมาได้ใช้จ่ายก่อนและมีเครดิตเงินคืนกับทาง Peer power ได้ โดยในอนาคตจะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง Seekster (บริการ On-demand Marketplace ระหว่างผู้บริโภคและ SMEs) อีกด้วย หรือการที่ Refinn บริการรีไฟแนนซ์บ้านออนไลน์ ซึ่งคุยกับลูกค้าตลอดเวลา อยากจะติดต่อกับลูกค้าได้ง่ายขึ้นจึงคุยกับทาง Convolab (AI Chatbot เพื่อแก้ปัญหาให้แต่ละธุรกิจตามความต้องการ) ดึง Chatbot เข้ามาช่วยตอบ ในจุดนี้ทางโครงการได้เลือก Startup ทั้ง 10 ทีม ที่สามารถช่วยเหลือกันได้อยู่แล้ว รวมทั้งช่วยกันออกความคิดเห็นเวลาแต่ละทีมนำเสนองานทั้ง ๆ ที่เป็นคู่แข่งกัน

คุณชาล เจริญพันธ์ Head of Accelerator และคุณเจติยา งามเมฆินทร์ Accelerator Program Manager จากบริษัท Digital Ventures จำกัด

ขอแค่วิสัยทัศน์ดีก็มาสมัครได้

ถ้าถามว่า Startup แบบไหนที่สมัครโครงการ DVA นี้ได้ ขอแค่มีเทคโนโลยีที่ดี แปลกใหม่ น่าสนใจ และพร้อมค้นคว้าหาข้อมูลไปด้วยกัน แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ วิสัยทัศน์และความคิดของผู้สมัครเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เก่งไม่เก่งไม่สำคัญ ขอแค่เชื่อมั่นในไอเดียและเป็นตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องตอบคำถามได้ดี แต่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ มีแรงขับเคลื่อนสูง เปิดใจรับการเรียนรู้ก็สามารถสมัครได้

นับได้ว่าได้รับความรู้และแรงบันดาลใจกันไปเต็มๆ สำหรับ Startup และคนที่สนใจธุรกิจ Startup ทุกท่าน ยิ่งถ้าได้เข้า Accelerator อย่าง DVA แล้ว ยิ่งส่งเสริมให้ Startup เติบโตอย่างก้าวกระโดดมากยิ่งขึ้น สามารถติดตามความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับ Startup และเทคโนโลยีฟินเทคได้ต่อที่ FB page : DigitalVenturesTH

ส่วน Startup ใดที่สนใจอยากจะทำให้ธุรกิจเติบโต อย่าลืมสมัครเข้าโครงการ Digital Ventures Accelerator ได้ที่ www.dv.co.th/DVA ซึ่งจะหมดเขตรับสมัคร 15 ก.ค. นี้

บทความนี้เป็น Advertorial