Site icon Thumbsup

แบรนด์ต้องรู้! 5 เคล็ดลับเพื่อการปรับตัวในวันที่ Instagram เริ่มใช้อัลกอริทึม

หลังจาก Instagram ออกมาประกาศว่าจะเริ่มใช้อัลกอริทึม เราก็เห็นหลายๆ แบรนด์เริ่มปรับตัวกันบ้างแล้ว แต่สำหรับคนที่ยังมึนๆ เรามี 5 แนวทางมานำเสนอ  

อย่าขอให้ผู้ติดตามเปิดรับการแจ้งเตือนสำหรับคอนเทนต์ของคุณ

เชื่อเถอะว่าถ้าคอนเทนต์ของคุณเจ๋งพอ หรือถ้าแบรนด์ของคุณเป็นที่รักมากพอ พวกเขาจะเปิดรับการแจ้งเตือนด้วยตัวเอง และในขณะเดียวกัน คุณคงไม่สามารถโน้มน้าวใจให้พวกเขาทำตามได้ เพราะถ้าคอนเทนต์ของคุณไม่ได้โดนใจแฟนๆ ขนาดนั้น พวกเขาก็คงเฉยๆ ถ้าจะไม่เห็นมันอยู่บนหน้าจอของตัวเอง

เทรนด์อัลกอริทึม มีให้เห็นมานานแล้ว

อย่างที่เรารู้กันมาก่อนหน้านี้ว่า ยอดการเติบโตของผู้ใช้งาน Instagram และการเข้าถึงแบบ Organic เริ่มลดลงไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ปีก่อน มีกูรูการตลาดหลายๆ คนออกมาวิเคราะห์ว่า มันเป็นเพราะผู้ใช้งานไม่เจอคอนเทนต์ที่มีคุณภาพโดนใจพวกเขา และโดยหลักการแล้ว ทั้ง Instagram และ Facebook ต่างก็อยากให้แพลตฟอร์มของตัวเองมีแต่คอนเทนต์คุณภาพ เพื่อที่จะดึงให้คนอยู่กับหน้าจอแอปพลิเคชั่นนานๆ

จำไว้ว่าโซเชียลมีเดียไม่เกี่ยวกับองค์กรของคุณ

เพราะโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย มันคือเรื่องที่พวกเขาสนใจ แบรนด์มักจะพลาดเรื่องนี้ไปเสมอเมื่อทำกลยุทธ์การสื่อสารในโซเชียลมีเดีย และอยากจะได้ ROI อย่างรวดเร็ว

แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่ามันไม่ได้ง่ายเหมือนการแปะรูปบนบิลบอร์ดแล้วปล่อยทิ้งไว้ สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือการสร้างคอนเทนต์ที่นำไปสู่คอนเวอร์ชั่น และความสำเร็จในระยะยาว

สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ

จากที่อ่านมาทั้งหมด จะเห็นว่าการสร้างคอนเทนต์ที่ดีคือหนทางที่จะดันเอาแบรนด์ของคุณไปอยู่บนหน้าฟีดของกลุ่มเป้าหมาย นั่นคือคำแนะนำที่ดีที่สุด อย่างน้อยๆ ก็ในตอนนี้ ลองย้อนกลับไปดูรูปภาพทั้งหมดในหน้า Home แล้วเช็คว่าคอนเทนต์แบบไหนได้รับความสนใจจากแฟนๆ ของคุณมากที่สุด

ซื้อโฆษณาดูบ้าง

สำหรับเวลานี้ การทำคอนเทนต์ที่ดีอย่างเดียวอาจจะไม่พอ เพราะต้องตามมาด้วยการซื้อสปอนเซอร์ พูดง่ายๆ ก็คือโฆษณานั่นแหละ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องซื้อโฆษณาทุกคอนเทนต์ อาจจะเลือกเฉพาะอันที่เป็นแคมเปญ หรือคอนเทนต์ที่คิดว่าเจ๋งจริงๆ

ความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อาจไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายๆ แบรนด์คิด เพราะมันอาจจะช่วยให้แบรนด์ได้รับ engagement จากสาวกตัวจริงได้ง่ายขึ้นก็ได้

ที่มา : Socialmediatoday