พูดถึงสื่อสังคมออนไลน์แล้ว คนกลุ่มแรกๆ ที่ผมมักคิดถึงคือกลุ่มเด็กนักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มคนยุคใหม่ที่น่าจะมีความสนใจในสื่อประเภทสังคมออนไลน์มากที่สุดกลุ่มหนึ่ง คำถามที่ตามมาก็คือบรรดาสถาบันของพวกเขาให้ความสำคัญกับสื่อประเภทนี้มากน้อยขนาดไหน แล้วจะดีหรือไม่ถ้าบรรดาสถาบันการศึกษาเหล่านั้นหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้…
วันนี้เรามี Infographic เกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ที่เน้นการแจง “ข้อดี-ข้อเสีย” ออกมาด้วยครับ โดยใน Infographic ชิ้นนี้ระบุถึง Facebook, Twitter, LinkedIn, Blog และเว็บบอร์ด แน่นอนว่าข้อมูลในภาพได้ระบุว่า Facebook คือสื่ออันดับหนึ่งที่บรรดาสถาบันการศึกษาใช้กันมากที่สุด แถมในสามปีหลังสุด อัตราการเติบโตของการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ก็เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ในขณะที่ Twitter และ LinkedIn ก็เติบโตสูงเร็วแบบพรวดพราดเช่นกัน ส่วนสื่อออนไลน์รูปแบบเดิมๆ อย่างเว็บบอร์ดและบล็อก ก็ไม่ได้มีการการเปลี่ยนแปลงมากนัก
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงรูปแบบการนำบรรดาสื่อออนไลน์ไปใช้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศว่าวันนี้จะมีเรียนที่ไหนอย่างไร อาจารย์เอาเอกสารประกอบการสอนมาแชร์ การถ่ายภาพแบบ 360 องศาของห้องเรียนให้คนภายนอกดู?การช่วยให้สถาบันค้นหานักศึกษาที่โดดเด่น หรือแม้กระทั่งก้าวไปถึงการช่วยให้ผู้ด้อยโอกาสมีโอกาสในการศึกษแนวคล้ายๆ กับการศึกษาทางไกล (มีเยอะจริงๆ ครับ รายละเอียดก็ดูได้จากใน Infographic ด้านล่างได้เลย)
แน่นอนว่าสถาบันการศึกษาที่นำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้คงไม่ได้ประสบความสำเร็จไปเสียทุกที่ แต่สถาบันหลายแห่งที่ประสบความสำเร็จนั้น มักจะมีลักษณะคล้ายกันอย่างหนึ่ง นั่นคือการเปิดให้บรรดาครูอาจารย์สามารถเข้าไปตรวจสอบความเรียบร้อยถูกต้องในเรื่องต่างๆ เพื่อไม่ให้การนำสื่อเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิด ในเรื่องนี้หลายส่วนได้ให้ความเห็นว่าการให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมมือในการเรียนการสอนด้วยการให้แสดงความคิดเห็นจากนักเรียนนักศึกษา ที่เสมือนกับการสื่อสารตลอดเวลากับครูอาจารย์ ทำให้การเรียนการสอนพัฒนาไปได้ดียิ่งขึ้น
สุดท้ายเป็นเรื่องเนื้อหาหรือ Content ที่ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คือยุคที่เนื้อหาสาระที่นำเสนอเป็นเรื่องที่สำคัญเอามากๆ ยิ่งใครที่มีเนื้อหาที่ดีและมีจำนวนมาก (ต้องมีทั้งคู่ควบคู่กันไป) ก็ยิ่งได้เปรียบ สถาบันที่ประสบความสำเร็จในการบริหารสื่อออนไลน์ สามารถชักชวนให้นักเรียนนักศึกษาเข้ามาสร้างสรรค์เนื้อหาสาระในสังคมออนไลน์ และนี่กลายเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ขับเคลื่อนให้สถาบันนั้นๆ ประสบความสำเร็จ
ตรงกันข้ามกับอีกลุ่มที่พบอุปสรรคมากมาย อย่างการขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจมาจัดการกับสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้สุดท้ายบรรดาผู้ใช้งานอย่างนักเรียนนักศึกษาขาดความเชื่อมั่น และไม่ใช้สื่อที่สถาบันการศึกษานั้นบริหารอยู่ หรือสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าวขาดการทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมหรือผูกพันธ์ ก็จะไม่มีทางได้รับความสำเร็จจากการบริหารสื่อออนไลน์ได้เด็ดขาด
สุดท้ายแล้วความสม่ำเสมอในการให้ข้อมูล สร้างเนื้อหา หรือติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ก็เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้สถาบันนั้นๆ ประสบความสำเร็จ แม้แต่ Facebook ยังใช้เวลานานกว่าที่จะก้าวมาจนถึงจุดที่ยืนอยู่ ณ วันนี้ เพราะฉะนั้นคุณจะต้องสร้างความมั่นคง สม่ำเสมอกับสื่อประเภทนี้ให้ได้ จึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ
ทีนี้ลองไปดูสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ผู้สำรวจได้ไปลองถาม โดย 5 อันดับที่ได้รับการยกย่องว่าสามารถจัดการกับสื่อสังคมออนไลน์ได้ดีมากๆ ก็ได้แก่ :-
- John Hopkins University: ซึ่งมีคนกด Likes บน Facebook ให้มากถึง 16,976 คน, มีผู้ติดตามจำนวน 4,324 คน บน Twitter, และคนดูใน YouTube มากถึง 89,501 ครั้ง
- มหาวิทยาลัยชื่อดังอย่าง Harvard University นั้นมีคนกด Likes บน Facebook?ให้มากถึง 1,281,596 คน, มีผู้ติดตามจำนวน 95,352 คน บน Twitter, และคนดูใน YouTube มากถึง 1,292,259 ครั้งเลยทีเดียว
- University of Notre Dame: มีคนกด?Likes?บน?Facebook?ให้มากถึง?52,569 คน, มีผู้ติดตามจำนวน?5,014 คน บน Twitter, และคนดูใน YouTube มากถึง 153,575 ครั้ง
- Ohio State University: ซึ่งมีคนกด?Likes?บน?Facebook?ให้มากถึง?407,848 คน, มีผู้ติดตามจำนวน?25,111 คน บน Twitter, และคนดูใน YouTube มากถึง?116,127 ครั้ง
- สุดท้ายก็คือมหาวิทยาลัยอย่าง Columbia University, NY: ที่มีคนกด?Likes?บน?Facebook?ให้มากถึง?33,321 คน, มีผู้ติดตามจำนวน?2,426 คน บน Twitter, และคนดูใน YouTube มากถึง?184,071 ครั้ง
เราได้อะไรจากข่าวนี้:?จริงๆ แล้วตัวเลขการกด Like จำนวน Follower หรือจำนวนการเข้าใช้งาน YouTube ของแต่ละสถาบัน อาจจะไม่ได้สื่อถึงความสำเร็จไปเสียทุกอย่าง ถ้าดูเทียบกันจริงๆ มหาวิทยาลัยอย่าง Harvard น่าจะเป็นอันดับหนึ่งได้ไม่ยากหากมองกันในแง่ของตัวเลขและปริมาณการเข้าชม แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมดทั้งปวงของความสำเร็จ หากแต่การได้ความพึงพอใจและการบอกต่อต่างหากที่น่าจะเป็นสิ่งที่องค์กรที่ไม่ได้หวังพึ่งพากำไร (มากนัก) อย่างที่สถาบันการศึกษาต้องการ
นอกจากนี้การเลือกใช้เครื่องมือให้ถูกที่ถูกเวลา เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย อาจจะเป็นสิ่งที่ควรพึงกระทำมากกว่า การทำการตลาดเพื่อเพิ่มตัวเลข โดยไม่ได้พึงนึกถึงความพึงพอใจที่แท้จริงๆ จากผู้ใช้งานของสื่อสังคมออนไลน์เอาเสียเลย
ที่มา:onlineuniversities