“เมื่อไม่มีธุรกิจหน้าร้าน (Brick-and-mortar) ก็ไม่มีธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce)” เป็นเคมเปญที่มีการโปรโมตมากขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ในขณะที่ธุรกิจบางอย่างอาจระบุไม่ได้ว่าเป็นแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นธุรกิจแบบประยุกต์ที่สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งสองช่องทาง โดยสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างสองสิ่งนี้ คือ “โซเชียลมีเดีย”
เป็นธรรมดาที่ธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซจะทำการโปรโมตสินค้าและบริการผ่านทางโซเชียลมีเดีย ส่วนร้านค้าที่มีหน้าร้านก็ใช้กลยุทธ์ทั่วๆ ไป อย่างจดหมายทางตรง (Direct Mail) ซึ่งเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์เพื่อติดต่อกับลูกค้าแบบตัวต่อตัว โปรโมชั่นในร้านค้าอาจไม่จำเป็นต้องมีการวางแผนล่วงหน้า แต่สามารถทำให้ลูกค้าตื่นตัวรู้ล่วงหน้าก่อนจากการใช้โซเชียลมีเดีย โฆษณาออนไลน์ หรืออีเมลในการเผยแพร่
ซึ่งในวันนี้ พบว่าร้านค้าสามารถทำการตลาดและวางแผนจัดการได้อย่างทันทีด้วยการเข้าถึงของโซเชียลมีเดีย เพื่อส่งข่าวสารไปยังลูกค้าของพวกเขาได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่ปลายนิ้ว ดังนั้น แคมเปญทางการตลาดของร้านค้าออฟไลน์จึงเกิดขึ้นมาทันที
ทางเว็บไซต์ Mashable จึงได้นำวิธีที่แบรนด์ต่างๆ ใช้ในการสร้างสะพานเพื่อเชื่อมต่อร้านค้าออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน เป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเรียนรู้ได้จากตัวอย่างเหล่านี้
- สร้างโปรโมชั่นทางอีคอมเมิร์ซ โดยร้านค้าออฟไลน์
เป็นไปได้ยากที่ธุรกิจขายเสื้อผ้าจะขายได้โดยที่ลูกค้าไม่ได้ลองสวมใส่ ไม่เห็นคุณภาพของการตัดเย็บและเนื้อผ้าที่แท้จริง แต่แบรนด์เทย์เลอร์เมดรับตัดเสื้อสูทอย่าง Indochino สามารถขายสินค้าให้กับลูกค้าทางออนไลน์ได้ โดยการเสนอโปรแกรม “Traveling Tailor” ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกสไตล์ของตนเองจากแบบจำลอง เลือกแบบสูทที่ชอบ และวัดตัวผ่านระบบออนไลน์ เสมือนไปตัดสูทกับผู้เชี่ยวชาญด้านเสื้อผ้าโดยตรง
- ทำออนไลน์โปรโมชั่น โดยร้านค้าแบบดั้งเดิม
พันคำอธิบายก็เทียบไม่ได้กับรูปภาพเพียงภาพเดียว ร้านตัดผมร้านหนึ่งในเมือง Provo, Utah สหรัฐอเมริกา ได้โพสต์ภาพทรงผมของลูกค้าที่มาตัดผมกับทางร้านทุกๆ วัน ซึ่งสร้างความสนใจให้ผู้คนเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก
ในทำนองเดียวกันกับ Clark Walker ร้านตัดผมชื่อดัง ก็ได้ใช้ Instagram มาเป็นตัวช่วยในการโปรโมตการบริการของร้าน ซึ่งตัวอย่างนี้มีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งในเมืองไทยเองก็ตาม
- แคมเปญที่ใช้ได้ทั้งร้านออนไลน์และออฟไลน์
Coolhaus บริษัทไอศกรีมที่ทำธุรกิจในรูปแบบบริการรถขนส่งสำหรับงานเลี้ยงปาร์ตี้ และมีการขายผ่านทางออนไลน์ด้วย โดยแบรนด์ได้ออกโปรโมชั่นพิเศษ สร้างสูตรแซนวิชไอศกรีมชื่อว่า “Killer Combo” เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษ
และโปรโมตผ่านทาง Instragran เพื่อล่อลูกค้าจากทั่วทุกมุมเมืองมาสั่งไอศกรีมทานทั้งทางหน้าร้านและร้านออนไลน์ กระแสข่าวเช่นนี้เรียกว่า “social buzz” ทำให้มียอดขายถล่มทลายตั้งแต่แบรนด์เคยก่อตั้งมา
จะเห็นได้ว่าโซเชียลมีเดียเป็นพระเอกของการโปรโมตแคมเปญการตลาด ไม่ว่าธุรกิจร้านค้าประเภทไหนก็สามารถเรียกลูกค้าจากสื่อนี้ได้ หากนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง
ที่มา : Mashable