การสร้างเนื้อหาแบบ Everygreen Content หรือ Vanilla Content ต่างก็เป็นในรูปและวัตถุประสงค์ที่คล้ายกันคือ นำเสนอได้ยาวนาน ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็สามารถดึงกลับมาแชร์ซ้ำได้เสมอ เพราะเนื้อหามีประโยชน์ในการนำไปใช้งาน เกี่ยวข้องหรือมีประโยชน์กับรูปแบบของคนทำงานในสังคมเดียวกัน
มีหลายบทความจากหลายแหล่งที่พยายามให้นักการตลาด แบรนด์หรือคนทำคอนเทนต์ก็ตาม เลือกทำคอนเทนต์แบบเกาะกระแส หรือกำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ เช่น #SAVE…… #review #ของมันต้องมี #รีวิว #ลองยัง เป็นต้น ซึ่งในฐานะนักเขียนทุกคนย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่าการทำเอเวอร์กรีนคอนเทนต์ ช่วยสร้างข้อดีให้แก่นักเขียนอย่างมาก เสมือนผลงานชิ้นโบว์แดงที่กล่าวอ้างได้ตลอดเวลา
และด้วยความดีนี้ นักเขียนที่เลือกจะเขียนบทความประเภทเอเวอร์กรีนคอนเทนต์จะต้องเสียเวลาไปอย่างมาก ทั้งการหาข้อมูล การเรียบเรียงที่เหมาะสม รวมถึงการเลือกลำดับเรื่องราวให้เหมาะสมกับผู้อ่านที่หลากหลายและไม่ว่าจะถูกกล่าวถึงครั้งใดก็เป็นที่ประทับใจทุกครั้งและ Google ก็ช่วยให้เนื้อหาของเราเจออย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ เรายังวัด KPI ของบทความได้ด้วยการดูจากการกดแชร์ คลิกลิงก์ การติดอันดับในแรงก์กิ้ง หากบทความไหนที่ได้รับการยอมรับทั้งสามด้านนี้ ถือว่าเป็นบทความที่เรียกว่า ‘สุดยอดมาก’ (Zenith Content)
การที่คนเขียนบทความอยากได้รับการกล่าวถึงหรือเป็นที่จดจำในฐานะนักเขียนจากบทความใดบทความหนึ่ง แล้วข้อดีนี้เหมาะกับแบรนด์ในการทำเอเวอร์กรีนคอนเทนต์อย่างไร ที่เรานำมาเขียนนั้น ก็เพราะอยากจะบอกว่า หากคุณอยากเป็นแบรนด์ที่ได้รับการจดจำ คุณก็จำเป็นต้องมีบทความที่ดีสักชิ้น ไม่ใช่แค่บทความทางการตลาด บทความเพื่อกิจกรรมทางสังคม หรือบทความเพื่อสนับสนุนใครสักคน แต่การมีบทความที่ดีนั้น เพื่อให้แบรนด์ของคุณเป็นที่จดจำไปตลอด และเมื่ออยากจะนึกชื่อแบรนด์ที่ดีสักแบรนด์ พวกเขาก็จะเลือกนึกถึงคุณก่อนนั่นเอง
เริ่มต้นอะไรก่อนกับการเป็นเนื้อหาที่สุดยอด
- มีรูปแบบของเนื้อหาที่หลากหลาย (Rich formats)
- การออกแบบหน้าตาบทความที่เรียบร้อยอ่านง่าย (Neat designs)
- มีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้ข้อมูล (Subject matter expert input)
- บทความที่ช่วยแก้ปัญหาและตอบคำถามผู้ใช้งานจริง (Solving problems and answering real audience questions)
- เนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย (Easy to read content)
- หากเป็นหลักการทางทฤษฎีที่ไม่ซ้ำใครยิ่งเป็นเอกลักษณ์ให้นึกถึง (Unique theories)
- คาดเดาเรื่องราวล่วงหน้าได้อย่างน่าสนใจ (Timeless ideas)
- มีบทความต่อเนื่อง (Ongoing distribution)
การวัดผลนอกจากที่กล่าวไปข้างต้นคือ การกดแชร์ คลิกลิงก์ การติดอันดับในแรงก์กิ้ง ยังมีการจัดอันดับ KPI ที่น่าสนใจสำหรับเอเวอร์กรีนคอนเทนต์อีกนะคะ ไม่ว่าจะเป็น การอยู่ในเว็บของเรานานแค่ไหน (Dwell time) การกลับมาใช้งานซ้ำ (Bounce rate) อัตราการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ (Goal conversions) เป็นต้น
นอกจาก เอเวอร์กรีนคอนเทนต์แล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกมาก และเราก็น่าจะทำความรู้จักไว้บ้าง เผื่อว่านำไปปรับใช้กับบทความที่จะเขียนในอนาคต
- Evergreen : คือประเภทของบทความที่คุณจะสามารถนำมาใช้งานได้ตลอดทั้งปี และเอากลับมาใช้งานซ้ำได้ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม
- Nevergreen : เป็นบทความประเภท reactive content หรือบทความที่จะกระตุ้นให้เกิดแรงกระเพื่อมบางอย่าง แต่ก็มีโอกาสที่จะไม่ได้รับความสนใจในระยะยาวเช่นกัน
- Severgreen : เป็นหนึ่งในประเภทคอนเทนต์ที่เคยดีมากบนเฟซบุค แต่จะใช้งานเพียงปีละครั้งเท่านั้น
- Fairweathergreen : อีกหนึ่งประเภทคอนเทนต์ที่ทำให้คนอยากเข้ามาอ่านซ้ำๆ แต่ไม่ต่อเนื่อง เช่น คอนเทนต์ประเภท แนะนำแห่งปี แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปีนั้นๆ
รูปแบบของการทำคอนเทนต์นั้น มีหลากหลาย บางครั้งในฐานะคนทำคอนเทนต์ก็มีภาวะตัน หรือคิดไม่ออก ว่าวันนี้จะเขียนงานอะไรดีบ้าง การที่เราทำความรู้จักประเภทของคอนเทนต์ที่แตกต่างกัน ก็จะทำให้สร้างสรรค์งานที่ดีๆ ออกมาได้
ที่มา : Buzzsumo