“คน” เป็นทรัพยากรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร แต่ตอนนี้ทุกองค์กรทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง เมื่อเด็กจบใหม่เข้ามาในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น คน Gen X จะทำงานร่วมกับ Gen Y และ Gen Z ได้อย่างไร
ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน Brand Inside Forum 2020 New Workforce ใน Panel: How to Deal with Cross-gen Workforce โดย ดร.ศรุต วานิชพันธ์ุ Director of Sea (Thailand) และ คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer, SCG CBM ดำเนินรายการโดย คุณอานนทวงศ์ มฤคพิทักษ์ Head of People LINE MAN Wongnai
ใน Panel นี้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงการบริหารจัดการพนั
คนรุ่นใหม่กับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร
ดร.ศรุต จากเล่าว่า Sea ทำธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์ม ฉะนั้นกลุ่มลูกค้าหลักก็จะเป็นกลุ่มที่คนรุ่นใหม่ และพนักงานในองค์กรกว่า 90% เป็น Gen Y และเริ่มมี Gen Z เข้ามาสู่องค์กรแล้ว สิ่งที่คนรุ่นใหม่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนคือ มีไฟ มีความคิดสร้างสรรค์สูง คิดนอกกรอบ สามารถทำงานได้หลายแนวทาง
การที่สินค้าและบริการของ Sea มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น พนักงานรุ่นใหม่ก็จะรู้ว่าลูกค้าคิดอะไรอยู่ ต้องการบริการแบบไหนไปตอบโจทย์ ส่วนคนรุ่นก่อนๆ ก็สามารถแนะแนวคนรุ่นใหม่ได้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือโอกาสที่ดีกว่า
ด้านคุณอภิรัตน์เล่าว่า SCG เป็นองค์กรที่อยู่มานาน ฉะนั้นจึงมีความหลากหลายในองค์กรมาก ระดับบริหารก็จะเป็น Baby Boomer ประมาณ 2% Gen X ประมาณ 40% ที่เหลือจะเป็น Gen Y และเริ่มมี Gen Z เข้ามาแล้ว
Transform องค์กรอย่างไรในความหลากหลาย
สำหรับ SCG เริ่มต้นธุรกิจจากความเป็นโรงงาน ดังนั้นระบบการดำเนินการตามระเบียบ ตามขั้นตอน แต่ในยุคนี้จะทำตามขั้นตอน 1-10 ไม่ได้แล้ว การ Transform องค์กรจึงต้องเริ่มต้นที่ “คน” ให้มีความเป็น Generalist มากขึ้นหรือก็คือ T Shape ไม่ใช่ Specialist แบบเดิม คือต้องรู้รอบด้าน คนพัฒนาธุรกิจที่เข้าใจดีไซน์ วิศวกรที่เข้าใจธุรกิจ
สำหรับคนรุ่นเก่าก็สามารถใช้ Wisdom ในการแนะแนวให้กับคนรุ่นใหม่ เพราะเชื่อว่าคนที่ทำงานมาก่อนย่อมมีวิธีคิดวิธีมอง Design Thinking ที่ช่วยให้คนรุ่นใหม่มี Skill Set ร่วมกันได้
ส่วน Sea มีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจ Startup ที่ทุกคนในองค์กรจึงมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ อยากให้องค์กรเติบโต และมีความต้องการที่จะทำให้องค์กรใหญ่ขึ้น ดังนั้นผู้บริหารเจน X มีหน้าที่เป็นผู้สร้างสภาพแวดล้อมที่คนทำงานรู้สึกล้มเหลวได้ มีโอกาสทำงานได้ สร้าง Mindset ความเป็น Startup ขึ้นมา ให้ทรัพยากร ให้งบประมาณ ให้คิดนอกกรอบได้เพื่อให้องค์กรยังคงมี Startup Spirit
HR กับบทบาทในการ Transform
SCG มองว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือองค์กรต้องรู้ว่าต้องการคนแบบไหนดังนั้นบทบาทของ HR จึงต้องทำหน้าที่เป็นพาร์ทเนอร์ โดยตั้งคำถามพื้นฐานถึงคนที่กำลังจะเข้ามาในองค์กร อย่าง SCG มี Passion ที่ต้องการทำให้ชีวิตการอยู่อาศัยของคนไทยดีขึ้น ซึ่งสิ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายคือ Mindset และ Passion รวมถึง Hard skill และ Soft skill ของคนในองค์กร
ทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่อยู่กับองค์กร
ดร.ศรุต เล่าว่ามุมมองการเติบโตของสมัยก่อนคือการเลื่อนขั้น แต่ปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่ว่ามองว่าการเติบโตคือการเรียนรู้ การได้เสริมสร้างสกิลใหม่ๆ รวมถึง Career Path ที่ชัดเจนยังคงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ สำหรับคนรุ่นใหม่ เพราะการจะทำอะไรบางอย่างต้องมีวัตถุประสงค์ รู้ว่าสิ่งที่ทำมีความหมาย อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือสภาพแวดล้อมการทำงาน ทำอย่างไรให้ออฟฟิศเป็นที่ๆ คนอยากมาทำงานในทุกๆ วัน
ในมุมของคุณอภิรัตน์ก็เห็นด้วยว่าพนักงานต้องมีเส้นทางของอาชีพ และระดับขั้นของตำแหน่ง รวมถึงการเลื่อนขั้นโดยไม่คำนึงถึงความอาวุโส ดูจาก KPIs ดังนั้นคนที่มีประสิทธิภาพการทำงานดีก็จะเติบโตได้ไว
คำแนะนำถึง HR
ในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์กรถูก Disrupt ให้รู้จักปรับตัวให้เร็ว สำหรับ “คน” แม้ว่า Skill จะมีความสำคัญ แต่ ดร.ศรุตมองว่า Mindset สำคัญกว่า
โดยเฉพาะองค์กรอย่าง Sea ที่ต้องมีทั้ง Startup Mindset และ Growth Mindset ที่จะทำให้คนทำงานได้เรียนรู้ แก้ไขปัญหา และพัฒนาองค์กร
ด้าน SCG คุณอภิรัตน์ มองว่าจะทำงานตามขั้นตอน 1-10 ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แต่ต้องเริ่มทำตั้งแต่ขั้นตอน 0-1 ใหม่ โดยคนรุ่นใหม่ โดยใช้โครงสร้างบริหารแบบ Top-down แต่หาคำตอบแบบ Bottom-up ทำให้วัฒนธรรมองค์กรมีความหลากหลายมากขึ้น เพราะคนรุ่นใหม่ต้องการทำงานที่รู้สึกว่าตนเองมีความหมาย สำคัญที่สุดคือการให้คนรุ่นใหม่ได้ลงมือทำ ได้ตัดสินใจ ไม่กลัวความล้มเหลว แต่ขอวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นสำคัญ