Site icon Thumbsup

5 เทคนิคการทำไลฟ์สำหรับธุรกิจให้สำเร็จและขายของได้

LIVE ถือว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ธุรกิจส่วนใหญ่ให้ความสนใจมากขึ้น แม้ว่าช่องทางนี้จะเป็นที่นิยมในกลุ่มแบรนด์ที่คุ้นเคยกับช่องทางออนไลน์เป็นอย่างดีแล้ว เช่น สินค้าแฟชั่น สินค้าบำรุงสุขภาพ หรือธุรกิจที่ใช้อีคอมเมิร์ซเป็นช่องทางขายหลัก แต่ในกลุ่มของธุรกิจขนาดใหญ่ที่ยังไม่กล้าใช้ช่องทางออนไลน์อย่างไลฟ์มาเป็นกลยุทธ์หลักในการทำงาน

วันนี้ thumbsup จะมาแนะนำ 5 เทคนิคหลักในการทำไลฟ์ให้ประสบความสำเร็จมาฝากกันค่ะ

เข้าใจกระบวนการทำไลฟ์

การทำไลฟ์ (LIVE) ที่เราจะมาแนะนำนั้น ต่างจากการไลฟ์ผ่านโซเชียลแบบทั่วไป ที่เป็นการสื่อสารทางเดียว แต่จะเป็นรูปแบบการทำไลฟ์เชิงธุรกิจหรือเพื่อการขายสินค้าออนไลน์ (อีคอมเมิร์ซ) มีคนเคยเข้าใจว่าการใช้ระบบ Zoom ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเพื่อการประชุมสัมมนา มาใช้ในการไลฟ์แนววาไรตี้ ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ช่วยแก้ปัญหาช่วงโควิดได้ แต่เครื่องมือของ Zoom นั้น เหมาะสำหรับการไลฟ์เชิงการประชุมแบบ Video Conference มากกว่า

แม้ว่า Zoom, Google Meet และ Microsoft Team จะสะดวกมากในการประชุมหรือสื่อสารในประเภทงานสัมมนา แต่ระบบพวกนี้อาจจะมีเครื่องมือที่แตกต่างจากการไลฟ์สำหรับงานประเภทคอนเสิร์ตหรืองานเชิงไลฟ์สไตล์ เพราะการไลฟ์ผ่านแพลตฟอร์มอย่างเฟสบุคหรือติ๊กต๊อกอาจจะเอื้อประโยชน์มากกว่า หากเราเข้าใจกระบวนการทำงานทั้งหมด และรู้จักปรับเลือกใช้ให้เหมาะกับงานแต่ละประเภท

เตรียมไฟล์สไลด์ให้ดึงดูด

ไม่ว่าจะเป็นงานประเภทไหน การมีไฟล์สไลด์หรือเนื้อหาสอดแทรกขณะไลฟ์ที่น่าดึงดูด ก็จะช่วยให้คนฟังอยากอ่านเนื้อหาต่อจนจบ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือเนื้อหาต้องตรงประเด็นกับสิ่งที่ผู้ฟังรอคอย เช่น ไฮไลต์เหตุการณ์สำคัญ ข้อมูลวิเคราะห์เจาะลึกที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน หรืออาจจะใช้ Quiz มาสอดแทรกความสนุกสนานให้ผู้ชมมีส่วนร่วม

ทั้งนี้ คลิปสรุปเหตุการณ์ที่น่าสนใจหรือแม้กระทั่งการทำโพลล์ให้คนฟังร่วมโหวตขณะไลฟ์ ก็เป็นเหตุการณ์ให้ผู้ชมรู้สึกว่างานสนุกและไม่น่าเบื่อ แต่ต้องพยายามเชื่อมต่อเครือข่ายให้ไหลลื่น ลูกเล่นต่างๆ จะได้ไม่สะดุดกลางคัน

ลงทุนทั้งเครื่องมือและแรงงาน

แม้หลายคนจะรู้ว่าดีกว่าการไลฟ์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ จะฟรี เพราะเรามีบัญชีผู้ใช้งานอยู่แล้ว ระบบแพลตฟอร์มต่างๆ ก็เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้ LIVE ฟรีเพื่อกระตุ้นการใช้งาน หากเราต้องทำงานหรือใช้ประโยชน์จากการไลฟ์อย่างคุ้มค่า ก็ควรที่จะลงทุนในเรื่องของอุปกรณ์และทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้วย

เพราะการทำไลฟ์ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีฝ่ายไอทีสำหรับดูแลเรื่องระบบเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีฝ่ายประสานงานคอยเชื่อมโยงกับฝ่ายต่างๆ ต้องมีทีมกล้องที่จะคอยใส่ใจกับมุมกล้องให้สวยงาน ทีมตัดต่อที่จะคัดเลือกจังหวะการออกอากาศให้ภาพออกมาสวยงาม หรือแม้แต่ช่างแต่งหน้า ทำผม จัดไฟจัดแสง เทสต์เสียง ก็ล้วนแล้วแต่เป็นทีมงานที่สำคัญทั้งนั้น เพราะหากทุกฝ่ายไม่ประสานงานกันหรือไม่รู้จังหวะการส่งต่องานที่ดีพอ การไลฟ์ของคุณก็อาจจะสะดุดกลางทางได้

พร้อมรับมือเหตุการณ์เฉพาะหน้า

“เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ” ดังนั้น ทีมโปรดักชั่นหรือฝ่ายวางแผนการผลิตจะต้องคิดทั้ง Best Case และ Worst Case ไว้ทุกทาง เพื่อที่เราจะได้จำลองสถานการณ์และสิ่งที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิดได้

หากเราอยู่ในฐานะผู้ชม เมื่อเจอเหตุการณ์สะดุด เช่น ภาพค้างจากเน็ตกระตุก เสียงหายระหว่างพูด หรือภาพค้างจากกรณีการเชื่อมต่อหลุดระหว่างไลฟ์ แค่นี้ก็รู้สึกหงุดหงิดแล้วใช่ไหมคะ แต่สำหรับทีมทำงานนั้น หากเจอปัญหาที่กล่าวด้านบนเรียกว่า หายนะ กันเลยทีเดียว เพราะทุกสิ่งเกิดขึ้นได้เสมอ เราจึงควรมีทีมที่เชี่ยวชาญในทักษะการไลฟ์แง่ต่างๆ เพื่อคอยช่วยแก้ปัญหาในสิ่งที่ไม่คาดฝันได้

ซ้อมให้เยอะลดข้อผิดพลาด

แน่นอนว่านอกจากการมีทีมงานที่ดีคอยช่วยซัพพอร์ตการทำงานแล้ว การซ้อมให้เยอะ ซ้อมให้มาก ซ้อมให้บ่อย ทดลองผิดพลาดและราบรื่นให้มาก จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจในการไลฟ์ให้ดีขึ้นได้ เพราะยิ่งซ้อมเยอะเท่าไหร่ก็จะยิ่งเห็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิดได้มากขึ้นเท่านั้น

ซึ่งบริษัท เดอะ ซีโร่ พับลิชชิ่ง จำกัด นั้น ถือว่ามีความเชี่ยวชาญในการจัดงานไลฟ์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดงานเลือกตั้ง BNK การจัดคอนเสิร์ตของศิลปินชื่อดังผ่านแพลตฟอร์ม TikTok การไลฟ์เพื่อขายสินค้าของแบรนด์สินค้าชั้นนำระดับโลก เรียกได้ว่ามีประสบการณ์ในการไลฟ์มากมาย หากสนใจสามารถติดต่อเพื่อขอรายละเอียดได้ที่ Sale@thezero.co.th