ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่นักการตลาดให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องสำหรับ TikTok ด้วยจำนวนผู้ใช้งานที่มีช่วงอายุหลากหลาย เนื้อหาที่สนุกสนานและจำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
จึงยังเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างโอกาสให้แก่นักการตลาดที่สนใจจะสร้างกลยุทธ์บนแพลตฟอร์มนี้
ดังนั้น นักการตลาดและเอเจนซี่ต่างก็ต้องรู้จักการนำเทคโนโลยีหรือโซเชียลมีเดียมาใช้ให้เหมาะสม ซึ่ง TikTok เองก็มีเครื่องมือมากมายให้เลือกใช้งาน เหลือแค่คุณรู้จักนำมาปรับใช้อย่างไร ให้เหมาะสมและตรงกับแผนที่วางไว้มากที่สุด
TikTok เปิดให้บริการในจีนเมื่อปี 2016 ในชื่อ douyin ก่อนจะเริ่มเป็นที่รู้จักนอกประเทศเมื่อปี 2018 ตอนนั้นแค่ผู้ใช้งานในสหรัฐก็ปาไปกว่า 80 ล้านคนแล้ว ความสำเร็จของ TikTok นั้น มีการขนานนามว่ายอดนิยมจนมีผู้ใช้งานในหนึ่งปีถึง 100 ล้านคนและรับชมวีดีโอมากกว่า 1 พันล้านคลิปทุกวัน
แม้จะไม่มีการเปิดเผยตัวเลขที่ชัดเจนแต่ยอดการดาวน์โหลดกว่า 2,600 ล้านครั้งทั่วโลก จากบริษัทวิจัยต่างก็เป็นเครื่องยืนยันว่าดังจริงและถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่อายุน้อย (ผู้ใช้) หลายพันล้านมากๆ (ที่มา : Wikipedia) จนกลายเป็นสตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับยูนิคอร์นภายในระยะเวลาที่สั้นมากๆ
ดังนั้น หากคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่อยากสร้างโอกาสในการเข้าถึงโฆษณาบน TikTok ก็ต้องไม่พลาดขั้นตอนเหล่านี้ค่ะ
TikTok จะช่วยอะไรได้บ้าง
เพราะเสน่ห์และพฤติกรรมของผู้ใช้งานในแต่ละแพลตฟอร์มมีความแตกต่างกัน ดังนั้น คุณต้องรู้ก่อนว่าแพลตฟอร์มที่คุณจะเข้าไปใช้งานนั้น มีประโยชน์และสร้างโอกาสอย่างไรบ้าง ในมุมทางธุรกิจสิ่งที่ TikTok จะเข้ามาช่วยคือ
- สร้างการรับรู้ถึงแบรนด์
- รับคำติชมจากลูกค้า
- ขายสินค้าหรือบริการ
- เปิดตัวโฆษณาที่ตรงเป้าหมาย
จากนั้น สิ่งที่คุณควรลองพิจารณาขั้นต่อมาก็คือ
- งบการตลาดควรทุ่มไปทั้งหมดในทีเดียวหรือไม่
- แพลตฟอร์มอื่นๆ มีความน่าสนใจอย่างไร
- ตั้งงบไว้แต่ละแพลตฟอร์มที่เท่าไหร่
- เป้าหมายต่อไปคืออะไร
คำถามเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากถาม แต่เชื่อว่าคุณจะต้องเจอเมื่อคุณต้องเขียนแผนงานและตอบโจทย์เหล่านี้ให้ได้ก่อนยื่นของบกับทางผู้บริหาร เพราะแต่ละแพลตฟอร์มก็มีข้อดีที่ไม่ควรมองข้ามทั้งนั้น แต่หากคุณอยากลองในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนตัดสินใจใช้งบจริงจังก็สามารถทดลองได้ไม่ยาก เพราะ TikTok ยังเป็นสื่อใหม่ให้คุณทดลองก่อนลงเม็ดเงินจริงจังได้ ถึงจะยังไม่ได้ผลยอดขายกลับมามากมาย แต่อย่างน้อยก็ได้เรียนรู้พฤติกรรม ความชอบ และการเข้าถึงแบรนด์ ให้ได้รับรู้กันไม่ยาก
วางแผนอย่างจริงจัง
เมื่อดาวน์โหลดแอปมาแล้ว แน่นอนสิ่งที่ควรทำก่อนอันดับแรกคือ ลองใช้งานจริงเพื่อเรียนรู้อัลกอริธึ่มของระบบทั้งหมด เพราะนักการตลาดยุคเก่าหลายคนยังยึดติดกับความไม่น่าดึงดูดของ TikTok ที่มีคอนเทนต์ไม่เหมาะสมบางอย่าง แต่เมื่อคุณได้ลองใช้จากประสบการณ์จริงแล้ว ก็จะทราบว่าการใช้งานหรือพฤติกรรมอะไรบน TikTok จะเป็นโอกาสของคุณในการทำกลยุทธ์การตลาดในอนาคต
เมื่อคุณทราบแล้วว่า กลุ่มผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายที่คุณจะเข้าไปทำตลาดแล้ว ก็เริ่มใช้หลักการ SWOT มาวิเคราะห์กันได้เลย ซึ่งนอกจากการวิเคราะห์ SWOT ในเรื่องเนื้อหาแล้ว ก็ต้องเก็บข้อมูลของกลุ่มครีเอเตอร์และเนื้อหามาใส่ในหลักการนี้ด้วย
หลังจากที่คุณวางแผนกลยุทธ์ กำหนดแนวทางคอนเทนต์ และสร้างเนื้อหาได้ตามกลยุทธ์แล้ว ย่อมเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มคนแบบออร์แกนิก แต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะตอกย้ำไว้คือการขายสินค้าที่ฮาร์ดเซลล์มากเกินไป อาจจะลดโอกาสในการเข้าถึงผู้ชมได้ ดังนั้น จึงควรขายของแบบน่ารักกรุบกริบและไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่ายัดเยียดจนเกินไป
ตั้งเป้าหมายที่วัดผลได้จริง
หลายต่อหลายครั้ง นักการตลาดหรือผู้บริหารมักจะมองแค่ยอดไลค์ ยอดแชร์ หรือยอดขายที่กลับมาเพียงแง่มุมเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตัวจัดการโฆษณาของ TikTok นั้นมีความซับซ้อนและวัดผลแคมเปญตามเป้าหมายได้ หากมีการตั้งค่าและเข้าใจในหลักการวิเคราะห์แคมเปญ คุณจะทราบว่าควรเริ่มใช้งบไปในช่องทางไหนบ้าง เพราะรูปแบบโฆษณาของ TikTok มีทั้งแบบ Brand Takeover, Top View, In-Feed Ads, Hashtag Challenge, Branded Effect ให้เราสามารถเลือกใช้งานได้เหมาะกับแต่ละแคมเปญ หรือแต่ละลูกเล่น เพื่อให้ผู้ใช้งานจดจำแบรนด์ของคุณ
- Topview ad : โฆษณา Topview คือโฆษณาที่ผู้ใช้เห็นขณะเปิดแพลตฟอร์ม
- Brand Takeover : โฆษณาเทคโอเวอร์แบรนด์จะถูกดูเมื่อผู้ใช้เปิดแอป แต่ไม่มีปุ่ม CTA หรือตัวเลือกที่จะชอบหรือแสดงความคิดเห็น
- In feed ad : โฆษณาที่ปรากฏในฟีดจะคล้ายกับเนื้อหาออร์แกนิกมากที่สุด โดยจะปรากฏเมื่อผู้ใช้ปัดบนแอปท่ามกลางเนื้อหาอื่นๆ
- Branded hashtag challenge : ให้ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วมในแคมเปญของคุณและสร้างเนื้อหาเฉพาะของคุณ
- Branded effects : ฟิลเตอร์ สติ๊กเกอร์ และเอฟเฟกต์พิเศษใดๆ ที่สร้างโดยแบรนด์สำหรับแพลตฟอร์ม
รูปแบบของแต่ละโฆษณาถือว่ามีความสนุกที่แตกต่างกัน ซึ่งหลายแบรนด์ที่เคยเลือกใช้งาน จะพบว่า สามารถสร้างโอกาสและรับรู้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี และมีหลายอบรนด์ยังคงเลือกใช้งานต่อเนื่อง เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อและต้องการความสนุก หากแบรนด์ของคุณยังไม่สามารถเข้าถึงพวกเขาและสร้างการจดจำได้ดีนัก แสดงว่าถึงเวลาที่คุณต้องคิดไอเดียใหม่ๆ แล้ว
ที่มา : DAN