Gen Z หรือ Zoomers เป็นกลุ่มที่เกิดระหว่างปี 1997 – 2012 ที่ไม่เคยเห็นโลกที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต คนที่มีอายุมากที่สุดในยุคนี้คือคนหนุ่มสาวอายุ 20 ต้นๆ ดังนั้น Zoomer หรือชาวเจน Z นับว่าเป็นกลุ่มคนที่มีการใช้โซเชียลมีเดียสูงและเป็นโอกาสของแบรนด์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพวกเขาอย่างต่อเนื่อง
แต่ชาว Zoomers ที่เรียกว่าเป็น Digital Natives กลับไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อความบันเทิงหรือเข้าถึงข้อมูลเพียงผิวเผินเท่านั้น แต่พวกเขายังเปิดกว้างเกี่ยวกับการแสดงความเชื่อ ความคิดเห็น และการสนับสนุนที่พวกเขาเชื่อมั่น และนี่คือสถิติที่น่ารู้เกี่ยวกับชาว Zoomer เพื่อให้แบรนด์และนักการตลาดนำไปปรับใช้กัน
ชาว Zoomer ใช้โซเชียลมีเดียเพื่ออะไร
- หาแรงบันดาลใจในการซื้อสินค้า 97%
- เพื่อความบันเทิง 65%
- ดูคอนเทนต์ 61%
ดูเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ เมื่อชาว Zoomer วางแผนใช้งานโซเชียลมีเดียเพื่อการซื้อสินค้า เพราะกระแสโซเชียลคอมเมิร์ซที่กำลังมาแรง อีกทั้งธุรกิจทั้งขนาดใหญ่ กลาง ย่อม ต่างก็ใช้โซเชียลมีเดียในการสร้างโอกาสทางการขายทั้งสิ้น และนั่นจึงเป็นทั้งการสร้างการจดจำ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ ปิดท้ายด้วยโอกาสทางการขายที่มาแบบไม่ทันตั้งตัวด้วย
โซเชียลมีเดียยอดนิยม
- Snapchat 42 ล้านยูสเซอร์
- TikTok 37.3 ล้านยูสเซอร์
- Instagram 33.3 ล้านยูสเซอร์
ไม่น่าแปลกใจหาก Snapchat จะรั้งอันดับหนึ่งในสถิติต่างๆ เพราะชาวเจน Z ต้องการแพลตฟอร์มที่พวกเขารู้สึกสบายใจและคุ้นเคย ขณะที่ Snapchat ไม่ได้ทำตลาดในไทยอย่างจริงจังและไม่ได้สร้างโอกาสในการขยายตลาดเทียบเท่ากับแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่ติดอันดับ สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้งานของ TikTok ที่โตแซง Instagram นั้น แสดงว่าชาวเจน Z ยังเน้นความสนุก สั้นและเข้าใจง่าย ทำให้ TikTok ตอบโจทย์ได้ดีและคัดกรองสิ่งที่ชาวเจน Z อยากเห็นจริงๆ
อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ทั้ง 3 โซเชียลมีเดีย นำเสนอคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับภาพที่ต้องสวย หรือคลิปสั้นๆ ที่ต้องสร้างการจดจำอย่างรวดเร็ว ซึ่ง 74% ของชาวเจน Z ก็เลือกติดตามแบรนด์ที่พวกเขาสนใจจาก 3 แพลตฟอร์มนี้
ดังนั้น การทำตลาดให้กับ Gen Z หมายความว่าคุณต้องใช้ประโยชน์จากเนื้อหา ความถูกต้อง และบุคลิกภาพของแบรนด์เพื่อดึงดูดผู้ติดตามด้วย
กลยุทธ์ที่ควรใช้กับชาว Zoomer คือ
- พวกเขาชอบการซื้อสินค้าแบบ Social Commerce
- เลือกที่จะทำความรู้จักแบรนด์ผ่าน Community
- เชื่อถือการรีวิวผ่านเหล่าครีเอเตอร์
กลยุทธ์ที่เราบอกนั้น พบว่า ควรทำร่วมกันหากแบรนด์สามารถที่จะดึงทั้งสามเรื่องมาใช้ในการวางแผนสักแคมเปญหรือทดลองผ่านสินค้าที่วางแผนโปรโมทในช่วงนี้ โดยใช้ทั้ง 3 เรื่องมาเชื่อมโยงกัน นั่นหมายความว่าคุณมีโอกาสที่จะสร้างแบรนด์ให้เติบโตได้โดยไว แต่สินค้านั้นต้องเหมาะกับชาวเจน Z ด้วย เพราะไม่ใช่ทุกสินค้าที่เหมาะกับเทคนิคนี้
เคล็ดลับที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม
- เตรียมระบบโซเชียลคอมเมิร์ซให้ดี
- ภาพสินค้าต้องสวย คมชัด และรับชมได้แบบ 360 องศา
- ตั้งแต่ภาพโปรโมทสินค้าไปจนถึงการชำระเงินต้องง่ายและสะดวก
- อัพเดทคอนเทนต์แบบ UGC เพื่อให้เห็นว่าแบรนด์ได้รับความสนใจจากคนจำนวนมาก
- การรีวิวที่มีทั้งแบบดีและร้าย เพิ่มโอกาสการตัดสินใจได้ดี แต่แบรนด์ก็ต้องรับมือให้ได้เช่นกัน
- ควรสร้าง Community, Group, Spaces ไว้สำหรับคนที่ใช้แบรนด์ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- การสั่งซื้อและจัดส่งฟรีก็เป็นเรื่องที่แบรนด์ควรให้ความสนใจ
- ทำคอนเทนต์กับอินฟลูเอนเซอร์แบบเฉพาะเจาะจงเพิ่มโอกาสซื้อมากขึ้น
แล้วคอนเทนต์แบบไหนที่ควรทำให้ชาวเจน Z อยากแชร์หรือนำไปเผยแพร่ในช่องทางส่วนตัวของตนเองมากที่สุด
- มีม (Memes)
- คลิปวีดีโอ
- เนื้อหาที่มีสาระน่าบอกต่อ
- เนื้อหาที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน
- เนื้อหาที่สร้างขึ้นใหม่และมีหลักฐานอ้างอิง (UGC and Social Proof)
อย่างไรก็ตาม ในโลกของคอนเทนต์ที่หลากหลาย สิ่งที่ควรระวังที่สุดคือการนำข้อมูลมาใช้งาน เพราะการสร้างข่าวปลอม ข่าวเท็จ หรือข่าวปลุกปั่นบนโลกออนไลน์นั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นง่ายมาก แบรนด์หรือนักการตลาดที่ต้องการจับกระแส realtime content ก็ต้องเช็คให้รอบคอบ ตรวจสอบให้รอบด้าน ว่ามีกระแสเชิงลบแฝงอยู่ หรือมีการปั่นกระแสเพื่อสร้างเหตุการณ์หรือไม่ หากไม่ระวังให้ดี คุณอาจกลายเป็นคนที่โดนโจมตีแทนก็เป็นได้
ที่มา : Content Studio