Site icon Thumbsup

ทำยังไงให้โพสต์ Ad ผ่าน กับเคล็ดลับที่น่าสนใจของ Facebook

อาจไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับนักการตลาดที่คุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือบูสต์โพสต์ของ Facebook แต่ครั้งนี้ เรามีคำตอบที่น่าสนใจกับคำถามที่น่าสงสัยมากมายในการทำโฆษณาบนแพลตฟอร์มชื่อดังนี้ กับนายเจมส์ ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Facebook จะมาอธิบายเคล็ดลับและเครื่องมือการทำงานว่าจะบูสต์โพสต์ยังไงให้ผ่าน และให้คนเห็นเนื้อหาของเรามากขึ้น รวมทั้งยืนยันว่าไม่มีการแอบฟังเสียงอย่างแน่นอน

ปั้นโฆษณาบน Facebook ให้ปัง

การขึ้นโฆษณาบน Facebook นั้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ การสร้างสรรค์โฆษณา ขั้นตอนการตรวจสอบ การเผยแพร่โฆษณาและรายงานสรุปผล ด้วยจำนวนผู้ใช้งานเฟสบุคที่เป็นยอดแอคทีฟสูงถึง 2,300 ล้านคนทั่วโลก/เดือน รวมทั้ง Instagram ที่มีผู้ใช้งานแอคทีฟเดือนละกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก

ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์โฆษณานั้น นักการตลาดจะต้องรู้จักการวางแผนให้ดี เพราะรูปแบบการทำคอนเทนต์หรือโฆษณาแต่ละครั้งนั้นใช่ว่าจะตรงใจกับผู้รับสารทุกครั้ง การมี “งบ” มากๆ ก็ใช่ว่าคนเห็นแล้วจะคลิกหรือเกิดยอดขายสูงทุกครั้งไป

คุณเจมส์ แนะนำว่า ด้วยระบบของ Facebook เราเน้นประสบการณ์และความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นหลัก (People First) ดังนั้นหากโฆษณาหรือแคมเปญนั้น ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานการบูสต์โพสต์ชิ้นงานนั้นก็ไม่ใช่จะประสบความสำเร็จเสมอไป ดังนั้น เราจึงมีขั้นตอนที่เรียกว่า Total Bid ขึ้นมา ช่วยนักการตลาดให้วางแผนทำโฆษณาก่อนเริ่มการโปรโมท

วิธีการของ Total Bid นั้น นักการตลาดจะต้องกำหนด “งบประมาณ” ในแคมเปญนั้นๆ ให้สอดคล้องกับระยะเวลาก่อน ว่าจะใช้งบกับแคมเปญนี้เท่าไหร่ ระยะเวลานานแค่ไหน ซึ่งไม่ควรมองแค่การโปรโมทครั้งเดียวและจบ แต่ควรกระจายให้การโปรโมทเป็นอย่างสม่ำเสมอ เช่น ระยะเวลาแคมเปญอยู่ที่ 6 เดือน งบประมาณก้อนแรก 10,000 บาท ในระยะเวลา 1 เดือน จากนั้นเว้นวรรค 1 เดือนเพื่อรอผลตอบกลับ ก่อนจะใช้งบประมาณก้อนที่สองกับการโปรโมทในเดือนที่ 3 เป็นต้น

จากนั้น ต้อง “กำหนดกลุ่มเป้าหมาย” ที่จะมองเห็นโฆษณาของเราให้ชัด และต้องตรงกับวัตถุประสงค์ที่แบรนด์ต้องการ เช่น เพศหญิง อายุ 18-24 ปี ชอบแต่งหน้า อาศัยอยู่ในกรุงเทพ อาชีพนักเรียนนักศึกษา เป็นต้น เพราะการกำหนด Target ที่ชัดเจนนั้น จะมีโอกาสที่ยอดคลิก (Conversion Rate) สูงกว่า การกำหนดเป้าหมายแบบหว่านและไม่เจาะจง รวมทั้งคนที่ไม่ต้องการรับสร้างนั้นอาจมองว่าเป็นการรบกวนและกดปิดการรับโฆษณาของเราด้วย

สุดท้าย คือ “มอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งานหรือไม่” ด้วยกฏเกณฑ์ในความเป็น People First ของ Facebook หากผู้ใช้งานรู้สึกว่าโฆษณาชิ้นนั้นรบกวนหรือกระทบต่อความรู้สึกในการใช้งาน Facebook จะอนุญาติให้ผู้ใช้แจ้งปัญหาเข้ามาเพื่อไม่ให้การแสดงผลนั้นรบกวนการใช้งานนั่นเอง

ดังนั้น เคล็ดลับสำคัญที่จะทำให้โฆษณาชิ้นนั้นประสบความสำเร็จ มี 3 แกน คือ

นอกจากนี้ ทีม Facebook ยังแนะนำให้มีการดาวน์โหลดเครื่องมือแยกที่ชื่อว่า Facebook Adverts Manager ติดเครื่องไว้ เพราะจะช่วยวิเคราะห์ผลและกำหนดเป้าหมายต่างๆ ได้ดีกว่า การรอดูผลจากเครื่องมืออื่นๆ ถึงแม้ว่าจะมีการสรุปผลให้แก่ทางนักการตลาดอยู่แล้ว แต่บางครั้งการเลือก-เปลี่ยนข้อมูลเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านทางมือถือ อาจทำงานได้เร็วกว่า

นอกจากนี้ จำนวนความนิยมการใช้งาน Stories ทั้งบน Facebook และ Instagram ของผู้ใช้งานทั่วโลกนั้นสูงถึง 500 ล้านเรื่องราวในแต่ละวัน ดังนั้น นักการตลาดไม่ควรมองข้ามการวางกลยุทธ์โฆษณาผ่านช่องทางนี้

ทั้งนี้ Facebook ยังคงยืนยันว่าไม่มีการแอบฟังเรื่องราวใดๆ ของผู้ใช้งาน แต่การที่ผู้ใช้งานเห็นโฆษณาปรากฏขึ้น หลังจากที่มีการเอ่ยถึงสิ่งนั้นๆ เป็นเพราะมีการค้นหาข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ เพราะทางเว็บไซต์ต่างๆ ที่เราค้นหาผ่าน Google หรือเว็บไซต์ต่างๆ นั้น มีการเชื่อมระบบหลังบ้านไว้ว่าอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลการค้นหา

ลองสังเกตว่าหากเว็บไซต์ใดสามารถแชร์คอนเทนต์ผ่านโซเชียลมีเดียได้ นั่นหมายความว่าหากคุณค้นหาและเจอเว็บไซต์เหล่านั้น Facebook จะมีถังข้อมูลแล้วว่ามีการค้นหา ทำให้แบรนด์ที่กำลังทำโฆษณาหรือแคมเปญกับเรา จะแสดงผลขึ้นไปให้บัญชีผู้ใช้งานนั้นๆ ได้เห็น แต่หากต้องการปิดไม่ให้เข้าถึงข้อมูลหรือแสดงเนื้อหา สามารถเข้าไปปิดการเข้าถึงข้อมูลได้เช่นกัน

ยิ่งการสอบถามก่อนตัดสินใจซื้อของผู้ใช้งานมีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น แบรนด์ต้องเตรียมช่องทางทุกอย่างให้พร้อมก่อนปล่อยโฆษณาออกไป เพื่อไม่ให้ผู้ที่สนใจสั่งซื้อเลิกสนใจและติดตามแบรนด์ของคุณ

การทำโฆษณาบนเฟสบุคไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะคะ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากหากศึกษาให้พร้อมและเตรียมวัตถุประสงค์ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ