แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซกลายเป็นแหล่งช็อปปิ้งยอดนิยมของผู้บริโภคจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะมีทั้งคูปองส่วนลดและดีลสุดคุ้มกว่าที่ไหนๆ และยังมีสินค้าให้เลือกมากมายนับไม่ถ้วน ขณะเดียวกัน Retailer ก็ใช้อีคอมเมิร์ซเป็นช่องทางเพิ่มยอดขาย หาแบรนด์หรือเจ้าของธุรกิจรายใดสามารถมองเห็นโอกาสก็จะพยายามคิดกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ เพื่อต่อยอดความสำเร็จและขยายช่องทางในการขายสินค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งต่อแบรนด์สู่ตลาดที่กว้างขึ้น
จากการประเมินในรายงาน “อีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2024” ของ Google โดยบริษัทร่วมทุน Momentum Works พบว่าการจับจ่ายของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดขึ้นในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซถึง 82% และมูลค่าสินค้ารวม (GMV) ของตลาดอีคอมเมิร์ซ ในภูมิภาคนี้ ยังมีแนวโน้มที่จะพุ่งขึ้นจาก 1.59 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2024 เป็น 3.7 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2030
สาเหตุที่อีคอมเมิร์ซดึงดูด Retailer ได้ เป็นเพราะว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้มีเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้ธุรกิจขยายตัว เช่น โฆษณารูปแบบใหม่ โปรแกรมสะสมคะแนน และข้อมูลวิเคราะห์ประสิทธิภาพ เครื่องมือเหล่านี้ดึงดูดแม้กระทั่งแบรนด์ใหญ่ๆ ที่มีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ตลอดจนผู้ขายทางออฟไลน์ที่ต้องการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ
แต่ในทางกลับกัน ความนิยมของอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นจนฉุดไม่อยู่นี้ก็ทำให้ Retailer สร้างความโดดเด่นให้กับตัวเองบนแพลตฟอร์มได้ยากขึ้น
วิธีเพิ่มยอดขายในมาร์เก็ตเพลส คือ การเข้าถึงนักช็อปตั้งแต่นอกแพลตฟอร์มจนมาถึงหน้าเพจร้านค้าได้เลย หากคุณสามารถวางกลยุทธ์ให้แบรนด์ประสบความสำเร็จได้ด้วยการปรับข้อมูลผลิตภัณฑ์ในอีคอมเมิร์ซให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องเลือกใช้รูปภาพที่มีคุณภาพสูง คำอธิบายผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน การตั้งราคาในระดับเดียวกับท้องตลาด และให้ข้อมูลความพร้อมจำหน่ายที่เชื่อถือได้ ซึ่งเจ้าของแบรนด์สามารถนำข้อมูลที่น่าสนใจและอินไซต์จากอีคอมเมิร์ซมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพได้อีกด้วย
แต่การจะชนะใจลูกค้าได้อย่างแท้จริง Retailer ต้องมีกลยุทธ์การตลาดที่ครอบคลุมมากกว่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แม้การซื้อจะเกิดขึ้นในแพลตฟอร์มออนไลน์แต่เส้นทางการซื้อของลูกค้า (Customer Journey) นั้นผ่าน Touchpoint มากกว่า 5 แห่ง และ 65% ของนักช็อปยังใช้แพลตฟอร์มของ Google อย่าง Search และ YouTube ในการค้นหาและศึกษาข้อมูล
ดังนั้น วิธีการสำคัญที่จะช่วยขยายการเข้าถึงและเพิ่มยอดขายในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซให้คุณได้นั้นจึงอยู่ที่การเข้าถึงลูกค้านอกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่พวกเขาใช้งาน
วิธีทำให้ลูกค้าที่สร้าง Conversion ไปยังร้านค้าของคุณในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจะช่วยให้คุณลดต้นทุนในการค้นหากลุ่มเป้าหมายและเข้าถึง Potential Customer บนทุกช่องทางได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างการค้นหาบนช่องทาง Google ที่ผู้บริโภคนิยมใช้ในหลายวิธีการ เช่น ใช้ Search เพื่อค้นหาและสินค้าบริการที่ต้องการ, ใช้ YouTube ในการดูรีวิวสินค้าหรือบริการนั้นว่ามีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด และจบลงที่ Discover เพื่อพาพวกเขาตรงไปยังผลิตภัณฑ์ที่แบรนด์ขายในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
อย่างไรก็ตามทาง Google เอง แนะนำว่า การที่ลูกค้ามีบัญชี Google ก็สามารถลิงก์กับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซง่ายขึ้น ส่วนทางด้านแบรนด์ก็สามารถใช้ข้อมูลผลิตภัณฑ์มาทำแคมเปญบนทุกช่องทางของ Google เพื่อช่วยระบุการค้นหาที่มีความหมายต่อแบรนด์ได้เช่นกัน รวมทั้งยังเพิ่ม Conversion จากลูกค้าที่แบรนด์อาจพลาดไป
ยกตัวอย่างความสามารถของ Performance Max สำหรับอีคอมเมิร์ซซึ่งทำงานด้วยระบบ AI ของ Google เครื่องมือนี้จึงจะตั้งค่าแคมเปญให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดจากโฆษณา ซึ่งรวมถึงปรับปรุงการเสนอราคา (Bidding), การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (Audience Reach) และครีเอทีฟโฆษณา
ยิ่งไปกว่านั้น แคมเปญประเภทนี้ยังช่วยคุณติดตามประสิทธิภาพและผลตอบแทนจากค่าโฆษณา (ROAS) เพื่อให้คุณนำไปปรับกลยุทธ์การตลาด ซึ่งปัจจุบันมีผู้ขายจำนวนหลายพันรายที่มี ROAS เฉลี่ย 500% เมื่อใช้ Performance Max สำหรับอีคอมเมิร์ซด้วย
Performance Max สำหรับอีคอมเมิร์ซเปิดตัวครั้งแรกจากความร่วมมือกับแพลตฟอร์ม E-Commerce อย่าง Shopee และ Lazada ได้แล้วใน 6 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
วิธีเพิ่มยอดขายด้วยแคมเปญที่อิงตามข้อมูล
นอกจากแบรนด์ที่สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์แล้ว Performance Max สำหรับอีคอมเมิร์ซซึ่งเป็นโซลูชันโฆษณาที่ทำงานด้วย AI ยังช่วย Retailer ที่ทำธุรกิจแบบออฟไลน์ให้กลายเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งในโลกอีคอมเมิร์ซ ได้เช่นกัน
ตัวอย่างผลกำไรจากยอดขายสำหรับแบรนด์ L’Oréal
แบรนด์เครื่องสำอางค์ระดับโลกอย่าง ลอรีอัล หลังจากที่ใช้ Performance Max สำหรับอีคอมเมิร์ซแล้ว L’Oréal Dermatological Beauty หรือแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอางของลอรีอัลในประเทศไทย ก็สามารถสร้างโฆษณาด้วย AI ซึ่งทำให้ผู้ค้นหาสามารถเจอแบรนด์ได้ทั้งใน Search, Google Shopping และ YouTube เพื่อเข้าถึงลูกค้าและพาพวกเขาไปที่ร้านใน Shopee Mall ของ 3 แบรนด์ในเครือ ได้แก่ Cerave, La Roche-Posay และ Vichy ได้ง่ายขึ้น
ผลลัพธ์ที่ได้คือยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 15% และลอรีอัล ประเทศไทยยังได้รับ $5 สำหรับทุก $1 ที่ใช้จ่ายใน Google Ads
คุณจุรีพร ไตรสุชนม์ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัลและสื่อของแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่ลอรีอัล ประเทศไทย กล่าวว่า “หลังจากที่ใช้ Performance Max สำหรับการขายแบบอีคอมเมิร์ซ ต้องยอมรับว่าเราก็ทึ่งกับผลลัพธ์ที่ได้ ROAS ของแต่ละแบรนด์เพิ่มขึ้น 5 เท่า ทำให้แบรนด์ของเรามีโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นและสร้างเส้นทางไปสู่การซื้อที่มีประสิทธิภาพจริงๆ”
เพิ่มยอดขายด้วยการเข้าสู่ตลาดออนไลน์ของแบรนด์ Kindee Kids
Kindee Kids แบรนด์ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกสำหรับเด็ก ที่เคยทำธุรกิจแค่ทางออฟไลน์และได้เริ่มเข้ามาสู่โลกออนไลน์โดยทำงานร่วมกับ Google และเอเจนซีการตลาด Saensuk Consulting ในการเปิดตัวร้านค้าใน Shopee
แบรนด์เริ่มจากคัดสินค้าขายดี 100 รายการและใช้ Performance Max สำหรับอีคอมเมิร์ซนำการเข้าชมมายังร้านค้าใน Shopee เมื่อแคมเปญ Performance Max สำหรับอีคอมเมิร์ซในขั้นแรกเพิ่มยอดขายและ ROAS ให้ผลกำไรแล้ว แบรนด์จึงขยายแคมเปญให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ส่วนที่เหลือ ความร่วมมือและการใช้โซลูชันโฆษณาที่ทำงานด้วยระบบ AI ทำให้ยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 40 เท่า และความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ก็เพิ่มขึ้น 2 เท่า
เมื่อความนิยมและมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซเพิ่มสูงขึ้น คุณจึงต้องพยายามหาวิธีที่จะทำให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นและพิชิตใจลูกค้าใหม่ สำหรับอีคอมเมิร์ซจะช่วยเข้าถึงลูกค้าใน Touchpoint ต่างๆ มากมาย รวมถึงในช่องทางทั้งหมดของ Google ที่พวกเขากำลังค้นหาและศึกษาข้อมูล รวมทั้งเพิ่มการเข้าชมและผลกำไรจากยอดขายให้ร้านค้าออนไลน์ได้ในที่สุด
ที่มาข้อมูล : Think with Google