จากการที่มี 100 ล้านบัญชีผู้ใช้งาน และกว่า 40 ล้านรูปภาพที่ถูกอัพโหลดขึ้นต่อวัน รวมถึง 1000 คอมเมนต์ต่อวินาที Instagram จึงเป็นอีกช่องทางที่นักการตลาดต้องการเข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมหาศาลเหล่านี้
นอกจากเป็นแหล่งรวมรูปถ่าย selfies หรือลงภาพแมวเหมียวแล้ว Instagram ยังเป็นพื้นที่ที่มีการลงรูปและพูดถึงเกี่ยวกับแบรนด์ในทุกๆ วัน จากสถิติของแบรนด์เหล่านี้ :
• #Starbucks – 2.6 ล้านรูป
• #Nike – 12.7 ล้านรูป
• #Michaelkors – 1 ล้านรูป
• #Chanel – 2.4 ล้านรูป
• #Audi – 1 ล้านรูป
อย่างไรก็ตามบางแบรนด์ยังคงลังเลที่จะทำการตลาดบน Instagram เนื่องจากพบปัญหาหลายอย่าง ซึ่งหัวข้อที่นำเสนอด้านล่างนี้ จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจ E-commerce เปลี่ยนใจมาลองการตลาดบน Instagram ดูบ้าง :
แม้จะยากในการเชื่อมโยงไปสู่การขาย แต่ก็มีวิธีแก้ปัญหานี้
แม้ว่านักการตลาดจะใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียในการลงโปรโมชั่น สร้างแคมเปญออนไลน์ต่างๆ แต่พวกเขาก็ต้องการเครื่องมือในการวัดผลที่แม่นยำที่เชื่อมโยงกับยอดขายโดยตรง จากผลสำรวจของ Adobe พบว่า 88% ของนักการตลาดออนไลน์มีความเห็นตรงกันว่า พวกเขาไม่คิดว่าจะวัดและประเมินผล ROI ได้อย่างแม่นยำจากวิธีการตลาดทางโซเชียล แน่นอนว่ามีเครื่องมือและรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำมาประเมินผลได้อย่างคร่าวๆ เช่น จำนวนผู้กด like หรือจำนวนผู้ติดตาม จำนวนการแชร์ เป็นต้น แต่มันไม่สามารถนำไปวัดผลได้อย่างถูกต้อง แม้ธุรกิจของคุณอาจจะมีผู้ติดตามจำนวน 10 คน ซึ่งถ้าเข้าไปถามคนเหล่านี้เกี่ยวกับสินค้าของคุณ ก็จะพบกับ 10 คำตอบเช่นกัน
ข่าวดี คือ ณ ตอนนี้มีผู้พัฒนาเครื่องมือ แพลตฟอร์ม และบริการใหม่ๆ ขึ้นมาทุกวัน ซึ่งช่วยลดช่องว่างระหว่างการตลาดบนโซเชียลกับค่าใช้จ่ายและรายได้ของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการใช้บริการ SaaS ในการดูแลระบบทั้งหมด หรือการเรียกใช้ API ของ Instagram โดยตรง และอีกหลากหลายวิธี ซึ่งจะใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับวิธีการเลือกใช้ให้เหมาะสมด้วย
ดังขั้นตอนที่แนะนำด้านล่างนี้ จะสามารถเพิ่มยอดขายของ ecommerce ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นยกระดับ user-generated content จาก Instagram
- เปิดตัวแคมเปญ หรือทำการแข่งขันต่างๆ เพื่อรวบรวมรูปภาพของผู้ใช้ลงสู่ microsite หรือหน้าเพจบน Facebook (เป็นการ engage ลูกค้า)
- ระบุสินค้าของคุณจากรูป display เหล่านั้นและทำการเชื่อมโยงไปยังหน้าเพจ ecommerce (เพิ่ม traffic และการ click-throughs)
- ทำการฝังรูปภาพ display ของลูกค้าลงในหน้าแสดงสินค้า (เป็นการนำเสนอสินค้าออกสู่โลกโซเชียล)
ส่งเสริมให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์ – ออกแคมเปญหรือทำการประกวด
หากแบรนด์ของคุณไม่ใช่ Nike หรือ Starbucks ที่มี hashtag เป็นล้านรูปอยู่แล้วบน Instagram คุณจึงจำเป็นต้องออกแคมเปญประเภทประกวดรูปถ่ายจากทางบ้านที่จะช่วยรวบรวมภาพที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของคุณได้เป็นอย่างดี
ยกตัวอย่างแบรนด์เสื้อผ้าจากภาพด้านล่าง ได้ทำการวางแคมเปญให้ลูกค้าแชร์รูปภาพที่ชื่นชอบของช่วงเวลาในฤดูร้อน เพื่อได้รับบัตรกำนัลมูลค่า 500 ดอลล่าร์ในการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ :
เพราะ hashtag เป็นตัวกลางที่ทำให้แบรนด์รวบรวมรูปภาพได้ การเลือกชื่อสำหรับ hashtag จึงต้องมีเอกลักษณ์และความเรียบง่าย คงไว้ด้วยความเป็นแบรนด์และทำให้ผู้อื่นจดจำได้ง่าย หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ยาวๆ และระมัดระวังในการรวมคำศัพท์ มิเช่นนั้นอาจกลายเป็นได้คำศัพท์ใหม่ๆ ที่ไม่สุภาพขึ้นมา เช่น #SusanAlbumParty แต่กลับกลายเป็น #SusAnalBumParty เรื่องจริงที่สร้างความขบขันของแคมเปญเปิดตัวอัลบั้มใหม่จากนักร้องเสียงทรงพลังในรายการ Got Talent
2. เลือก Theme
พยายามให้ลูกค้าโฟกัสไปที่แบรนด์ของคุณโดยการเลือก Theme ที่เกี่ยวกับสินค้า ซึ่งไม่ควรมีความหมายกว้างหรือแคบจนเกินไป ทำให้ง่ายเข้าไว้เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งาน Instagram เหล่านี้รู้สึกสนุกสนานขณะทำการแชร์รูปภาพ
3. แสดงรูปภาพ
ก้าวแรกที่ยกระดับแบรนด์ของคุณคือการแสดงรูปภาพเหล่านั้นออกสู่สาธารณะด้วยการใช้ microsite หรือเพิ่มอัลบั้มบน Facebook ในการแสดงภาพทั้งหมด ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิด user-generated content ที่มีคุณค่าออกสู่สายตาผู้คนได้เป็นอย่างดี
เชื่อมโยงรูปภาพกับหน้าแสดงสินค้าของคุณ
เมื่อสร้างแคมเปญและรวบรวมรูปภาพได้เป็นจำนวนหนึ่งแล้ว จะดียิ่งขึ้นหากทำการเชื่อมโยงกับสินค้าของคุณ จากตัวอย่างที่แสดงด้านล่างนี้ เป็นการทำ link ไปยังหน้าแสดงสินค้าบนเว็บฯ ecommerce โดยตรง เพิ่มยอดขายได้อีกทางหนึ่ง และยังเป็นการติดตาม traffic ของลูกค้าจาก link เหล่านี้ได้อีกด้วย
ดึงรูปภาพจากลูกค้าลงบน Ecommerce ของคุณ
คอนเซ็ป Social proof หรือการเป็นที่ยอมรับในสังคมก็สามารถนำมาใช้ในจุดนี้ได้ เพราะเป็นการดูแนวโน้มว่าผู้คนส่วนใหญ่ชอบอะไร ส่งผลให้เกิดจากตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น วัตถุประสงค์หลักของการแสดงรูปลงบนหน้า Ecommerce คือ เพิ่มความมั่นใจของลูกค้าในการซื้อสินค้าและเป็นการช่วยสร้าง Social proof เมื่อลูกค้าเกิดความลังเลที่จะซื้อ
สิ่งสำคัญที่ต้องระวัง!
หากคุณใช้วิธีที่นำเสนอข้างต้นในการยกระดับ Ecommerce เพื่อเพิ่มยอดขาย สิ่งสำคัญที่ต้องไม่ลืมในการนำรูปภาพจากลูกค้ามาใช้ คือ “ความเต็มใจและยินยอม” ของพวกเขา ไม่ควรบันทึกรูปภาพใดๆ แต่ควรแสดงโดยใช้ URL บน Instagram เพราะถ้ามีการลบภาพหรือตั้ง user เป็น private จากลูกค้า ย่อมเป็นการยืนยันว่าลูกค้าไม่ต้องการแสดงสิ่งนี้ให้ผู้อื่นเห็นซึ่งจะไม่โชว์รูปบนเว็บฯของคุณอย่างอัตโนมัติ
สุดท้ายนี้สำหรับการสร้างแคมเปญควรแจ้งให้เหล่า audience ของคุณให้ชัดเจนว่าความตั้งใจของคุณคืออะไร และส่งเสริมให้พวกเขาแบ่งปันภาพถ่ายด้วยความมั่นใจและเต็มใจ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ ในที่สุดก็จะพบว่าแบรนด์ของคุณมีเหล่าบรรดาแฟนคลับที่ต้องการมีส่วนร่วมด้วยความเต็มใจ ตราบใดที่พวกเขารู้ว่าสิ่งที่คุณกำลังทำนั้นสำคัญอย่างไร
ที่มา : Kissmetrics