ทุกวันนี้ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า โลกของเรามีช่องทางให้ “แบรนด์” เข้าถึงผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นโอกาสอย่างดีสำหรับธุรกิจเกิดใหม่ แต่เราก็ต้องยอมรับด้วยเช่นกันว่า ยิ่งมีโอกาสมาก การแข่งขันก็ยิ่งเพิ่มสูง ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่จะทำให้แบรนด์ของธุรกิจติดตาผู้บริโภคอาจเป็นเรื่องของ “โลโก้บริษัท” ก็เป็นได้ โดยมีหลายบริษัทเลยทีเดียวที่ผู้บริโภค “จำได้” ทั้ง ๆ ที่มีแค่ภาพโลโก้ ไม่มีชื่อบริษัทแปะมาด้วยแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น Apple, Nike, Benz, McDonald’s, Shell, Toyota
สำหรับธุรกิจแล้ว การออกแบบโลโก้จึงไม่ใช่เรื่อง “อะไรก็ได้” ตรงกันข้าม มันมีทั้งแง่มุมของศิลปะ และการร้อยเรื่องราวเข้าด้วยกันจนออกมาเป็นโลโก้หนึ่งชิ้นซ่อนอยู่ ซึ่งปัจจุบันเราก็มีแพลตฟอร์มอย่าง Fastwork.co ที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเก่ง ๆ เอาไว้มากมายหลายคนให้ได้ลองเลือกใช้งานกัน และสำหรับใครที่กำลังมองหาแนวทางการออกแบบโลโก้ของ (บริษัท) ตัวเอง ทาง Fastwork.co ก็ฝากเทคนิคดี ๆ ในการออกแบบให้ได้ลองพิจารณากันดังนี้
– รู้เขารู้เรา อัตลักษณ์ของบริษัทเป็นอย่างไร มีวิสัยทัศน์อย่างไร และกลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร (นอกเหนือจากเรื่องเพศ อายุ ฯลฯ แล้วยังอาจต้องเข้าใจด้วยว่าคนกลุ่มนี้มีมุมมอง – ทัศนคติอย่างไร) ลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการของเรานั้น เมื่อมาแล้วจะได้พบประสบการณ์แบบไหน เช่น เข้ามาแล้วรื่นเริงบันเทิงใจ หรือไม่ใช่ เราเป็นธุรกิจที่อาศัยความน่าเชื่อถือ เป็นการเป็นงาน เหล่านี้มีผลต่อการออกแบบโลโก้ทั้งสิ้น
นอกจากเรื่องราวของบริษัทตัวเองแล้ว สิ่งที่ต้องสนใจไม่แพ้กันก็คือ คู่แข่งเป็นอย่างไรบ้าง จุดเด่นจุดด้อยเป็นอย่างไร หลายครั้งที่เราคิดว่าเรารู้จักคู่แข่งของเราดีแล้ว แต่เชื่อเถอะว่า การออกแบบโลโก้จะทำให้เราได้ศึกษาคู่แข่งมากขึ้น 🙂
– สีของโลโก้ การใช้สีให้เหมาะสมนอกจากจะมีผลทางด้านจิตวิทยาแล้ว ยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ ทำให้โลโก้สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
– รูปแบบดูง่ายสบายตาหรือไม่ แม้ว่าเราจะต้องการให้โลโก้โดดเด่นกว่าของคู่แข่ง แต่ก็ไม่ควรออกแบบให้เยอะเกินไปจนดูแล้วรู้สึกซับซ้อน อีกทั้งโลโก้ที่ซับซ้อนจนเกินไปจะยากต่อการจดจำด้วย
– ที่อยู่ของโลโก้ เนื่องจากมีหลายที่ที่โลโก้ของเราจะไปอยู่ได้ เช่น บนเว็บไซต์, ในคลิป YouTube, ใน Social Media, หัวจดหมาย, ซองจดหมาย, นามบัตร, ตรายาง, ของที่ระลึกของบริษัท, เสื้อยืด หรือแม้กระทั่งบนเว็บเบราเซอร์ที่โลโก้จะถูกย่อขนาดลงจนเล็กจิ๋ว ฯลฯ ดังนั้นเมื่อได้แบบโลโก้ที่ชอบมาแล้ว ลองนำโลโก้ที่ออกแบบไว้ไปแปะบนสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อดูความเหมาะสมด้วยก็จะดีมาก
– ซ้ำกับคนอื่นไหม ทุกวันนี้มีโลโก้บนโลกหลายร้อยล้านชิ้น และในแต่ละวันก็มีคนสร้างโลโก้เข้ามาอีกมากมาย ดังนั้นโอกาสในการพัฒนาโลโก้ที่ยูนีคจริง ๆ จึงเป็นเรื่องยากอยู่พอสมควร อย่างไรก็ดี เราก็ควรตรวจสอบให้มั่นใจว่า โลโก้ของเราไม่ไปละเมิดเครื่องหมายการค้าของใครก่อนจะนำไปใช้งาน ข้อควรระวังอีกข้อคือ อย่าไปพ้องหรือให้ความรู้สึกคล้ายกับโลโก้ของคู่แข่ง เพราะจะสร้างความสับสนให้กับลูกค้า และไม่เป็นผลดีต่อธุรกิจของเราเองอีกด้วย
– เมื่อได้โลโก้ที่ถูกใจและไม่ซ้ำกับคู่แข่งมาแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการลองให้คนที่คุณหมายมั่นปั้นมือว่าเขาจะเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายติชม แล้วเก็บฟีดแบ็กกลับมา ซึ่งข้อดีคือเราสามารถนำคำแนะนำเหล่านั้นมาปรับโลโก้ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น รวมถึงได้เข้าใจในมุมมองของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นด้วย