ไอบีเอ็มเผยรายงาน“ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์” (#IBM5in5) เกี่ยวกับ 5 นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนชีวิตคนในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อให้เตรียมมือรับความทันสมัยของเทคโนโลยีและสิ่งที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการทำงานของคนในอีก 5 ปีข้างหน้า
Crypto-anchor และบล็อกเชน จะรวมเข้าด้วยกันเพื่อแก้ปัญหาปลอมแปลง
เทคโนโลยี cryptographic anchor อย่างเช่น หมึกพิมพ์แม่เหล็กที่ทานได้หรือคอมพิวเตอร์จิ๋วที่ขนาดเล็กกว่าเม็ดเกลือ จะฝังอยู่ในวัตถุและอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และถูกนำมาใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีกระจายข้อมูล (distributed ledger) บนเครือข่ายบล็อกเชน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัตถุหรืออุปกรณ์ที่ถูกส่งมาจากต้นทางที่ต้องถึงมือลูกค้าเป็นของจริง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องผลิตภัณฑ์ที่มีการตัดแต่งพันธุกรรม ปลอมแปลงสิ่งของรวมถึงสินค้าหรูด้วย
วิทยาการการเข้ารหัสแบบแลตทิซเพื่อต่อกรกับแฮคเกอร์
การเข้ารหัสแบบแลตทิซ (lattice cryptography) ที่ IBM กำลังพัฒนาเป็นวิธีการเข้ารหัสแบบโพสต์ควอนตัม เพื่อต่อกรกับแฮคเกอร์ที่ไม่ว่าจะใช้วิธีเข้ารหัสแบบใดก็ตาม ก็จะไม่สามารถโดนเจาะได้ ทำให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าจะทำงานบนไฟล์หรือเข้ารหัสไฟล์ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งตอนนี้ได้นำเสนอเทคโนโลยีดังกล่าวต่อรัฐบาลสหรัฐแล้ว
กล้องจุลทรรศน์หุ่นยนต์ที่มี AI อยู่เบื้องหลังจะช่วยรักษาท้องทะเลเอาไว้
กล้องจุลทรรศน์อัตโนมัติขนาดเล็กที่มี AI เป็นกลไกสำคัญ จะเชื่อมต่อกับคลาวด์และนำมาใช้งานทั่วโลกเพื่อตรวจสอบสภาวะของน้ำซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ และช่วยติดตามสภาวะน้ำได้อย่างต่อเนื่อง โดยติดตามผ่านแพลงก์ตอนในแบบ 3 มิติและนำข้อมูลมาใช้คาดการณ์พฤติกรรมและสุขภาพของแพลงก์ตอน เพื่อตรวจสอบการรั่วไหลของมลพิษบนดินหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและระบบนิเวศ รวมทั้งผู้ที่บริโภคสัตว์น้ำด้วย
AI ที่มีอคติจะหมดไป และมีเพียง AI ที่ปราศจากอคติเท่านั้นที่ยังอยู่
ความน่าเชื่อถือเรื่อง AI ในปัจจุบันยังมีไม่มากนัก แต่ต่อไปเมื่อการพัฒนาระบบด้วยข้อมูลที่เป็นกลาง ตรงไปตรงมาและปราศจากอคติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ หรือความคิด ความเชื่อใดๆ ความฉลาดของ AI ย่อมตอบโจทย์การใช้งานได้ดีขึ้น ซึ่งต้องให้เวลาปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้กับการทำให้อัลกอริธึ่มได้เรียนรู้จากชุดข้อมูลที่มากพอเสียก่อน
ระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัม จะกลายเป็นเทคโนโลยีหลัก
ถ้าในอนาคตระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมถูกนำมาใช้งานแทนระบบปฏิบัติการณ์อื่นๆ และถูกส่งไปใช้งานตั้งแต่ระดับชั้นเรียนมหาวิทยาลัย (ซึ่งอาจไม่ใช่ในไทย) หรือมีการสอนในระดับมัธยมศึกษา ก็เชื่อได้ว่าเด็กๆ จะมีความสามารถในการใช้เครื่องมือเพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ อีกระดับ เพราะ IBM ก็เพิ่งสำเร็จในการจำลองพันธะของอะตอมในเบริลเลียมไฮไดรด์ (BeH2) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการจำลองขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ควอนตัม ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมืออย่างคอมพิวเตอร์แบบคลาสสิคเพียงอย่างเดียว
นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น AI, Blockchain, วิทยาการการเข้ารหัสแบบแลตทิซ และคอมพิวเตอร์ควอนตัม จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ก้าวข้ามผ่านความท้าทายที่อาจไม่เคยทำได้ในอดีต ซึ่งรายงานไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์ ในปีนี้ ไม่ได้นำเสนอเพียงนวัตกรรมล้ำสมัยที่น่าจับตามองเท่านั้น แต่ยังเป็นการตอกย้ำถึงบทบาทของเทคโนโลยีที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการปฏิรูปโฉมหน้าอุตสาหกรรม และเปลี่ยนวิถีการทำงานในสาขาอาชีพอย่างชาญฉลาดด้วย