Site icon Thumbsup

แนวทางสร้างโอกาสของแบรนด์จาก UGC ของผู้บริโภค

คำกล่าวหนึ่งที่น่าสนใจของ Mark Twain นักเขียนคนสำคัญของโลกที่เคยกล่าวไว้ว่า “There are two types of photos in this world: those that are shared by consumers, and those that are shared by brands.” ประเภทของภาพถ่ายที่เกิดขึ้นในโลกมี 2 แบบ คือ ภาพที่แชร์โดยผู้ใช้งานและภาพที่ถูกสร้างขึ้นโดยแบรนด์นั้น” เป็นคำกล่าวที่น่าสนใจทีเดียว

การเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดียหรือแอปพลิเคชั่นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Tiktok ไปจนถึงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee, Lazada หรือแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่อย่าง Grab, LINEMAN, Gojek ต่างก็มี UGC หรือเนื้อหาที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้นทั้งสิ้น ทั้งในรูปแบบของการแชร์ต่อให้คนในสังคม คอมเมนต์หรือรีวิวสินค้าและบริการ ต่างก็เป็น UGC ทั้งสิ้น

UGC หรือ user generated content นับว่าเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับแบรนด์ เพราะจะทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ทั้งในแง่ดีและร้าย ทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในสังคมมากขึ้น รวมทั้งยังเพิ่มโอกาสในการรับรู้ของแบรนด์กับมุมมองที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคมองเรา

ส่วนหนึ่งจากบทความของ mauvelli ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวงการแฟชั่นมือใหม่ที่ต้องการสร้างแบรนด์สินค้าแฟชั่นของตนเองให้เติบโต ควรที่จะโฟกัสไปในเรื่องของ “การสื่อสารด้วยภาพ” แบบ UGC ให้มากกว่าเดิม โดยอาจจะดึงมาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สร้างธุรกิจเลย

ส่วนใหญ่แล้วคนที่จะนิยมถ่ายภาพเพื่อเก็บความประทับใจหรือบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตมักจะเป็นผู้หญิงมากกว่าถึง 47% และกลุ่มผู้ใช้ iPhone ที่อายุต่ำกว่า 25 ปี จะถ่ายรูปมากถึง 250 รูป/เดือน ยิ่งคนถ่ายรูปแชร์เรื่องราวของตนเองมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นโอกาสของแบรนด์ในการนำมาใช้สร้างโอกาสทางธุรกิจ

จริงๆ หลายธุรกิจของไทยเอง ก็มีการนำแนวคิดที่คล้ายกันมาใช้งาน คือ ส่งสินค้าไปให้แก่อินฟลูเอนเซอร์หรือเซเลบริตี้ให้พวกเขาถ่ายรูปคู่กับสินค้าของคุณและนำรูปเหล่านั้นมารีโพสต์เสมือนว่าเป็นการรีวิวจากผู้ใช้งานจริง จากนั้นก็พยายามสร้างกระแสให้คนเห็นด้วยการไปโพสต์ในคอมเม้นท์โซเชียลมีเดียต่างๆ นี่ก็อาจเป็นกลยุทธ์ที่เรียกว่า “เฉพาะคนไทย” ที่ทำได้

แต่ UGC ที่อยากแนะนำนี้ คือการแชร์ภาพแบบประสบการณ์จริงที่แบรนด์ต้องไปขออนุญาตคนทั่วไปมาใช้งาน หรือเป็นภาพจริงไม่ได้ใช้เงินจ้าง จริงๆ เคสแบบนี้อาจจะใหม่ในต่างประเทศ แต่คุ้นเคยกันดีในบ้านเรา แต่การดึงภาพของคนทั่วไปมาใช้งาน ในต่างประเทศอาจต้องมีการขออนุญาตอย่างเป็นทางการก่อน แม้จะเป็นเพียงแค่การรีโพสต์เพื่อสร้างความรู้จักแบรนด์ก็ตาม และต้องไม่ใช่นำไปเพื่อใช้ในเชิงการค้า เพราะถ้านำไปใช้เพื่อขายสินค้าเชิงพาณิชย์อาจต้องมีข้อตกลงระหว่างกันที่ชัดเจนกว่านี้ด้วย

ส่วนเหตุผลที่ว่า ทำไมแบรนด์ถึงควรนำภาพแบบ UGC ที่สร้างขึ้นโดยคนทั่วไป มาแชร์ในเพจธุรกิจของคุณนั้น เป็นเพราะว่า การทำ UGC จากคนจริงๆ ลูกค้าจริงๆ รีวิวจริงๆ (ที่ไม่ได้แคปจากแชทหรือนาโนอินฟลูเอนเซอร์) เปรียบเสมือนขุมทองของจริงสำหรับแบรนด์ เพราะคอนเทนต์แบบนี้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แบรนด์เองก็คาดเดาไม่ได้ ทั้งในแง่ของการโพสต์แนะนำแบรนด์เราเชิงลบหรือเชิงบวก ภาพหรือเนื้อหาที่ออกมาจะเป็นอย่างไร เพราะเป็นการเขียนจากความรู้สึกจริงแบบไม่ต้องมีสคริปต์มาเป็นตัวกำหนด (สมัยนี้แยกไม่ยากระหว่างผู้ใช้งานจริงกับนาโนอินฟลูเอนเซอร์ที่ใช้เงินจ้าง)

ซึ่ง UGC แบบนี้ จะเกิดขึ้นจากมุมมองของแต่ละคน ถ่ายทอดออกมาด้วยประสบการณ์และความชื่นชอบในรูปแบบเฉพาะบุคคล ซึ่งจะดึงดูดความสนใจได้มากกว่า ซึ่งนักการตลาดต้องแยกให้ออกระหว่างคอนเทนต์ UGC กับรีวิวนะคะ มันเป็นคนละประเภทกัน

ทำไมต้องใช้คอนเทนต์แบบ UGC

ถ้าให้แยกชัดเป็นข้อๆ ว่าทำไมแบรนด์หรือนักการตลาดจึงควรเริ่มใช้กลยุทธ์คอนเทนต์แบบ UGC มาปรับใช้กับธุรกิจ เรามีข้อแนะนำง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

หา UGC จากที่ไหนได้บ้าง

เมื่ออ่านทั้งข้อดีและข้อเสียแล้ว เผื่อว่าแบรนด์หรือนักการตลาดอยากจะไปหาคอนเทนต์แบบ UGC มาใช้งานบ้าง เราเลยมาช่วยกันมองหาดีกว่าว่าจะไปหา UGC จากที่ไหนมาใช้งานได้บ้าง

ตั้งโจทย์ก่อนหา UGC ทำงานง่ายขึ้นเยอะ

สุดท้ายแล้ว คอนเทนต์ UGC จะดีหรือเหมาะกับแบรนด์ของคุณหรือไม่ สิ่งที่แบรนด์หรือนักการตลาดควรทำคือ รู้จักตัวตนของแบรนด์ รู้จักลูกค้า รู้จักภาพลักษณ์ของตัวเองในโซเชียลก่อน โดยอาจจะตั้งคำถามง่ายๆ เช่น

หากคิดปัญหาเหล่านี้ได้ ก็จะมีโอกาสเข้าถึงลูกค้าของคุณได้ง่ายขึ้น ซึ่งการคิดให้รอบด้านนั้น ต้องคิดแบบไม่เข้าข้างตัวเองว่าสินค้าและบริการของคุณค่าสนใจจริงหรือไม่ จากนั้นลองเทสต์ตลาดด้วยการเซอร์เวย์หรือเก็บข้อมูลความคิดเห็น และคอมเม้นท์ของคนที่เห็นงานของคุณให้รอบด้าน ยิ่งคุณรู้จักแบรนด์ของตัวเองดีขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งค้นหาเป้าหมายได้ดีขึ้นเท่านั้นนะคะ

 

 

ที่มา : Studioid, Mauvelli