Site icon Thumbsup

จากแนวคิด Indoor Location-based Service สู่ Google Indoor Maps

ที่มาภาพ : tested.com

ในงานสัมมนา Nforum ครั้งที่ 5 ?Location-based Technology, the marketing weapon in the digital era? ที่จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 26 พค. ที่ผ่านมา ได้มีการพูดถึงแอพพลิเคชั่นใหม่ที่จะเปิดตัวในเร็ววันนี้จากค่ายเซ็นทรัลที่บอกว่าร้านอยู่ที่ไหน ห้องน้ำอยู่ที่ไหน เป็นต้น และล่าสุดมางาน MoMoBKK ก็มีการพูดถึง Google Indoor Map นิดๆ หน่อยๆ ด้วยเช่นกัน จึงเป็นที่มาของหัวข้อที่เราหยิบยกมาคุยกันในบทความนี้นั่นคือ Indoor Location-based Service (Indoor LBS)

ปกติเมื่อพูดถึง Location-based หลายคนจะนึกถึงเทคโนโลยีอย่าง GPS (Global Positioning System) ที่ใช้สัญญาณดาวเทียวในการบอกตำแหน่ง ซึ่งเทคโนโลยีนี้ก็มีมานานมากแล้วค่ะ ใช้ในด้านการทหาร ระบบนำทางขนส่ง ซึ่งเป็นการใช้งานแบบนอกอาคาร (Outdoor) แต่พอมาถึงในอาคาร (Indoor) ก็จอดทุกที เข้ามาในอาคารก็ยังต้องหลงกันอยู่ต่อไป ที่ผ่านมาจึงมีความพยายามนำเอาเทคโนโลยีอย่างเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และ WiFi มาประยุกต์ใช้ มีกลุ่มที่เปิดให้บริการด้านข้อมูลกับนักพัฒนาภายนอก เพื่อพัฒนาบริการตอบสนองการใช้งาน (Uses Cases) รูปแบบต่างๆ อาทิเช่น

VerizonWireless (เปิดให้นักพัฒนาใช้ฟรี)

Navizon (คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานหรือแบ่งรายได้จากนักพัฒนา)

Google (เปิดให้นักพัฒนาใช้ฟรี)

Skyhook Wireless? (แบ่งรายได้จากนักพัฒนา)

โดยต่างคนต่างมีฐานข้อมูลตำแหน่งของ WiFi สาธารณะ และ Cell Site ที่ผู้ใช้จับสัญญาณอยู่ นักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมดึงข้อมูลนำไปใช้ได้ อย่าง Skyhook Wireless ลูกค้าของเค้าก็มีผู้พัฒนาแอพฯ ดังๆ อย่าง? Layar, ShopSavvy

ในขณะที่บางรายนำเสนอโซลูชั่นที่ใช้โครงข่ายโทรศัพท์มือถือล้วนๆ เลย อย่าง GloPos ชูจุดเด่นของเทคโนโลยี การระบุตำแหน่งด้วย Cell Site ของโทรศัพท์มือถือ พร้อมเทคโนโลยีที่ทางบริษัทยืนยันว่าสามารถคำนวนตำแหน่งได้แม่นยำกว่าเทคนิคอื่นๆ แม้ว่าจะอยู่ใต้ดิน จับตลาดกลุ่มใหญ่ที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ที่มี GPS หรือเชื่อมต่อ WiFi ขอแค่มีเพียงสัญญาณโทรศัพท์ก็สามารถระบุตำแหน่งได้นั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักพัฒนาชอบพลิกแพลงท่า อาทิเช่น

แต่แล้ว Fastmall ต้องหนาวค่ะ เพราะ Google Indoor Maps ที่เปิดตัวไปช่วงปลายปีก่อนนั้น เตรียมตัวบุกตลาดโลก และแว่วๆ ว่า?อีกไม่นานจะมาบ้านเราแล้ว สิ่งที่น่าสนใจของ Google Indoor Map คือการเปิดให้ผู้ประกอบการสามารถอัพโหลดแผนที่ในอาคาร (Floor Plans) ได้ และมันจะขึ้นไปแสดงผลบน Google Maps ให้เอง นอกจากนี้ยังใช้แนวคิดของ Crowd Sourcing อาศัยแอพฯ อย่าง Google Maps Floor Plan Market app ที่ผู้ใช้ Android สามารถเข้ามาร่วมกันปรับปรุงข้อมูลของตำแหน่งให้มีความถูกต้องได้มากยิ่งขึ้น? (ตัวแอพฯ ดึงข้อมูลแบบ Hybrid คือผสมผสานระหว่าง WiFi สาธารณะ, Cell Site และ GPS) แม้แนวคิดแบบ Crowd Sourcing จะสำเร็จมาหลายบริการอย่างเช่น Wikipedia แต่กับกรณีนี้ถ้าไม่ใช่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานที่แล้วหล่ะก็ใครจะมาช่วยกันปรับปรุงคอนเทนต์ด้านนี้กันบ้างคงต้องรอดูกันต่อไป และเพราะว่ามันทำงานอยู่บน Google Map ดังนั้นฟีเจอร์อย่าง Search (ค้นหาต้นทาง ปลายทาง) และ Latitude (เห็นเพื่อนในห้าง) ก็ทำได้ด้วยนะ อันนี้ชักน่ากลัว ^^?

ที่มาภาพ : zagg.com

ตลอดกว่าทศวรรษข้อมูลด้านตำแหน่งเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ผู้ประกอบการต้องการจะดึงมันขึ้นมาใช้เสมอ เมื่อผนวกกับข้อมูลด้านอื่นๆ พอนำมาวิเคราะห์แล้วจะทำให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ หลายๆ บริการที่ทำออกมาก็มีทั้งเกิดบ้าง แต่ก็ดับเสียเยอะ

การหยิบยื่นฟีเจอร์ที่หรูหราหรือเทคโนโลยีที่ล้ำเกินการใช้งานของคนปกติแม้มันจะดูเท่ห์แต่สุดท้ายก็อาจไม่มีคนใช้

บริการที่ตอบสนองการใช้งานจริงและสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคต่างหากจึงจะมีสิทธิอยู่รอด

เขียนมาถึงตรงนี้แม้ฟังดูแล้ว Indoor LBS จะยังไม่เจอบริการสุดเจ๋งโดนใจทุกคน แต่สำหรับผู้หญิงการรู้ตำแหน่งของร้านค้าในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะห้างที่อาจไม่ค่อยได้ไป นี่ก็ถือว่าใช้ได้สำหรับขา Shop ระดับนึงเลยทีเดียวค่ะ 😀 หรือใครที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ รับรองว่า Google Indoor Maps ช่วยได้แน่นอน