กระแสอินฟลูเอนเซอร์ยังคงร้อนแรง ประเทศไทยมีอินฟลูเอนเซอร์กำลังจะแตะ 3 ล้านคนในปีนี้ และสิ่งที่หลายคนมองว่าอาชีพนี้น่าสนใจเพราะต้นทุนในการประกอบอาชีพไม่สูง เพียงแค่มีอุปกรณ์ตั้งต้นอย่างสมาร์ตโฟน และหากทำคอนเทนต์ได้ดีเป็นกระแสไวรัลก็เป็นเรื่องง่ายที่จะสร้างตัวตนและโอกาสเติบโตไม่ยาก แต่ปัญหาคือการควบคุมและดูแลอาชีพนี้ ยังไม่ได้มีหน่วยงานที่เข้ามาดูแลได้ชัดเจนนัก
คุณเอ็ม – ขจร เจียรนัยพานิชย์ บรรณาธิการบริหาร RAiNMaker และผู้จัด iCreator Camp ได้เผยถึงภาพรวมวงการครีเอเตอร์ไทยที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะผลักดันภาคพื้นการศึกษาให้สามารถก้าวทันตามโลกคอนเทนต์ที่เปลี่ยนแปลงในทุกวัน การสร้างครีเอเตอร์คอมมูนิตี้เพื่อผลักดันวงการครีเอเตอร์ในส่วนของการศึกษาอย่างโปรเจกต์ iCreator Camp จึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดให้กลายเป็นคอมมูนิตี้ที่แข็งแกร่ง
เรื่องเทรนด์ในการทำคอนเทนต์ ที่ปัจจุบันเรียกได้ว่ายังคงเปลี่ยนแปลงและเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ครีเอเตอร์ต้องคอยอัปเดตสกิลอยู่เสมอ โดยเฉพาะครีเอเตอร์หน้าใหม่ที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อหาแนวทางของตัวเองในยุคที่การทำคอนเทนต์วิดีโอเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ต้องมีการทำความเข้าใจในรูปแบบของคอนเทนต์แต่ละประเภท เพื่อให้ได้มาซึ่งคอนเทนต์ที่มีคุณภาพที่สุด
ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม ยังได้กล่าวว่า ครีเอเตอร์ ถือเป็นอาชีพสำคัญสำหรับคนในยุคปัจจุบัน ทำให้ภาคพื้นการศึกษานั้นก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับความสนใจที่เปลี่ยนแปลงไป การมีสิ่งที่ช่วยผลักดันวงการครีเอเตอร์ได้อย่าง หลักสูตรการศึกษา จะช่วยสร้างคอมมูนิตี้อันแข็งแกร่งเพื่ออัปสกิล และต่อยอดการเป็นครีเอเตอร์ได้ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณดาร์ท-ธนทร ศิริรักษ์ ยังได้พูดถึงประเด็นสำคัญอย่าง ปัญหาและการปรับตัวของคอนเทนต์ครีเอเตอร์หน้าใหม่ของวงการ พร้อมทั้งแชร์สกิลสำคัญที่ครีเอเตอร์หน้าใหม่ควรมี เพื่อที่จะปรับตัวในยุคที่คอนเทนต์วิดีโอมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งยังได้แชร์สิ่งสำคัญสำหรับการสร้างคอนเทนต์คือ “Storytelling” ร่วมกับ “ความเป็นธรรมชาติ” เพราะคอนเทนต์ต่างๆ มักสะท้อนความเป็นตัวตนของเราออกมา และผู้ติดตามก็เลือกที่จะเสพคอนเทนต์ผ่านความธรรมชาตินั้นที่เรานำเสนอออกมา และความมีคุณภาพของคอนเทนต์นั่นเอง จะเป็นสิ่งที่ทำให้ครีเตอร์สามารถยืนระยะได้อย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นครีเอเตอร์ดั้งเดิมหรือครีเอเตอร์หน้าใหม่
ภาพรวมของเทรนด์อินฟลูเอนเซอร์ในประเทศไทย
คุณขจร ยังได้เล่าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์ที่น่าสนใจของรูปแบบอินฟลูเอนเซอร์ยอดนิยมและคอนเทนต์ยอดนิยมในไทยด้วย
7 ประเภทอินฟลูเอนเซอร์ยอดนิยมของแพลตฟอร์มต่างๆ
- Facebook : News & Reporter, Sport, Social Issue, Inspiration, Film & Movie, Financial & Business, Family & Senior
- Instagram : Beauty & Fashion, Fitness & Wellness, Lifestyle, Food Drink and Cafe, Photographer, Shopping & Promotion, Real Estate
- YouTube : Entertainment, Gaming, Lifestyle, Travel, Food&Drink, vTuber, Automotive
- TikTok : Social Issue, Entertainment, Lifestyle, Shopping, Technology, Pets
ทางด้านประเภทของคอนเทนต์ที่อินฟลูเอนเซอร์นิยมสร้างสรรค์
- Short-Form Content : 82.2%
- Single Photo : 54.9%
- Album Photo : 47.3%
- Text Post : 36.2%
- Long-Form Content : 25.8%
- Blog / Website : 15.6%
- Live Streaming : 14%
- Podcast : 6.7%
ในปี 2025 แพลตฟอร์มที่ยังเป็นที่นิยมสร้างสรรค์คอนเทนต์ของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์
- TikTok – 52%
- Facebook – 20.4%
- Instagram – 10.9%
- YouTube 9.3%
- Lemon8 – 8%
- X – 1.3%
ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่ากระแสการทำคอนเทนต์แบบสั้น กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความสนใจในคอนเทนต์ของคนปรับเปลี่ยนเร็ว แต่ถ้าผู้ชมรายนั้น ติดตามและอยากจะเป็นแฟนคลับต่อไป อินฟลูเอนเซอร์ก็ต้องเพิ่มช่องทางดึงให้คนกลุ่มนี้อยู่กับเรานานขึ้น การทำ Long-Form Content บน YouTube ก็กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ควรมองข้าม
นอกจากนี้ กระแสของ X อาจแพ้ Lemon8 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับคนทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพดีกว่า X ที่กำลังเจอกระแสการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ Ads และค่าสมาชิกในการใช้งานปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด และการโพสต์ข้อความเกลียดชัง การไม่ตรวจสอบข้อความก่อนโพสต์ส่งผลเรื่องความเกลียดชัง ทำให้แพลตฟอร์มนี้อาจมีอัตราการใช้งานน้อยลงและแบรนด์ก็ลดการ spend ในแพลตฟอร์มนี้น้อยลงกว่าเดิม
ส่วนเรื่องที่อินฟลูเอนเซอร์ให้ความสนใจอย่างมากคือ “ช่องทางรายได้” เพราะต้องการมีเงินทุนในการใช้ต่อยอดคอนเทนต์ในอนาคต โดยงบประมาณที่กลายมาเป็นแหล่งเงินทุนของอินฟลูเอนเซอร์ยุคใหม่ ประกอบด้วย
- รายได้จากแพลตฟอร์ม : 47%
- รายได้จากการโฆษณาร่วมกับแบรนด์ 38%
- Affiliate : 25.5%
- การขึ้นไปให้ความรู้บนเวทีต่างๆ 10.4%
- ของขวัญหรือเงินสนับสนุน 6.9%
- ขายสินค้าที่ระลึก 5.1%
- ค่าลิขสิทธิ์ 4.7%
- FanMeet & Talk Show 3.5%
- ระบบสมาชิก 3.3%
นอกจากนี้ ยังได้มีการเปิดตัว THAILAND’S FIRST CREATORS REPORT รีพอร์ตเกี่ยวกับวงการครีเอเตอร์เล่มแรกในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “iCreator REPORT” ที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับครีเอเตอร์ในประเทศไทย รวมถึงข้อมูลจากทุกแพลตฟอร์มสำหรับครีเอเตอร์ เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อครีเอเตอร์ทุกวงการ และจะเปิดตัวในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2568 นี้