ทำไม Micro-Influencer หรือผู้มีอิทธิพลรายย่อยจึงเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลสำหรับนักการตลาด? Infographic นี้จะตอบคำถามได้ชนิดที่ทำให้เราเข้าใจถึงแนวคิด “น้อยคือมาก” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในกระบวนการ influencer marketing
อาจจะฟังดูยอดเยี่ยมสำหรับแบรนด์ใดที่ได้ตัว influencer ผู้มีอิทธิพลซึ่งพรั่งพร้อมด้วยผู้ติดตามนับล้าน เข้ามาร่วมแสดงหรือพูดถึงสินค้าบริการของแบรนด์ แต่ปัญหาคือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์นั้นจะได้ชมจริงหรือไม่? ตรงกันข้ามกับ Micro-Influencer ผู้มีอิทธิพลน้อยกว่าที่มีจำนวนผู้ติดตามน้อยแต่เหนียวแน่น กลับเรียก Engagement หรือการมีส่วนร่วมที่มากกว่า แถมยังทำให้แคมเปญฮาร์ดเซลล์กลายเป็นแคมเปญที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้ชมเฉพาะกลุ่มของ Micro-Influencer เหล่านี้
การทำงานร่วมกับ Micro-Influencer จึงช่วยให้หลายแบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลักได้ต่อเนื่องในช่วงหลายปีมานี้ ซึ่ง Infographic นี้จากบริษัท SocialPubli ก็จะเป็นอีกเสียงที่ย้ำว่าแบรนด์ควรจะลงทุนใน Micro-Influencer เพราะผลลัพท์ที่ได้นั้นคุ้มค่าจริง
หนึ่งในข้อมูลที่สำคัญคือ อัตราการมีส่วนร่วมหรือ engagement บน Instagram และ Twitter นั้นลดลงตามจำนวนผู้ติดตามของ influencer ที่เพิ่มขึ้น เรียกว่า Influencer รายใดมีผู้ติดตามมาก Engagement ก็จะลดลงมากตามไปด้วย
นอกจากนี้ 87% ของผู้บริโภคทั่วโลกยังมองว่าแบรนด์ควร “ดำเนินการทุกอย่างอย่างถูกต้องตลอดเวลา” เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกเช่นนี้ Micro-Influencer ถูกมองว่าสามารถทำได้ดีกว่าเพราะ Micro-Influencer สามารถสร้างเนื้อหาสมจริงจับต้องได้มากกว่า ซึ่งผู้ชมเฉพาะกลุ่มของ Micro-Influencer ให้ความไว้วางใจจริงๆ
สำหรับราคา เชื่อมั่นว่าแบรนด์สามารถร่วมมือกับ Micro-Influencer บนต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สบายกระเป๋ากว่าการทำงานร่วมกับ “ผู้มีอิทธิพลที่ยิ่งใหญ่” ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน โดยมีการเปรียบเทียบว่าเงินทุนที่เทให้ Influencer รายใหญ่รายเดียว อาจจะเพียงพอกับการร่วมงานกับ Micro-Influencer มากกว่า 40 รายก็ได้
ที่มา: : PRDaily