หลายๆ ครั้งเราได้นำเสนอบทสัมภาษณ์ของคนที่มีชื่อเสียงทั้งในไทยและในต่างประเทศใน section ของ Interview บนหน้าเว็บไซต์ thumbsup ครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่พิเศษสำหรับ thumbsup และผู้อ่าน เพราะเราได้สัมภาษณ์ผู้เขียนหนังสือ Start-Up Guide for the Technopreneur ที่เชื่อว่าคนที่สนใจด้าน Startup น่าจะมีโอกาสได้อ่านกันบ้างแล้ว ผู้นั้นก็คือ David Shelters ซึ่งปัจจุบันนี้เขาทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ด้วยครับ
thumbsup: ช่วยเล่าให้ฟังสักหน่อยครับว่าก่อนที่จะเขียนหนังสือเล่มนี้ คุณมีส่วนร่วมอย่างไรเกี่ยวกับบริษัท Startup มาก่อน
ก่อนที่ผมจะย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ผมได้เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ร่วมก่อตั้งรวมทั้งที่ปรึกษาของบริษัท startup หลายๆ แห่งในอเมริกา สำหรับประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจครั้งแรกของผมนั้นเริ่มต้นในปี 1995 ผมได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแลกเปลี่ยนเงินตรา (financial trading) หลังจากเป็นพนักงานธนาคาร ซึ่งทำให้ผมค้นพบว่าผมเกิดมาเพื่อเป็นนักธุรกิจ และทำให้ผมตอบรับงานในตำแหน่งนักการเงินของบริษัท startup ด้าน media ซึ่งนี่คือครั้งแรกที่ผมได้หาเงินลงทุนและค้นพบว่า “งานประจำ” ไม่ใช่คำตอบสำหรับผม
ผมมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2008 ซึ่งจริงๆ แล้วผมไม่ได้วางแผนไว้เลยเพราะที่จริงแล้วผมกำลังจะเดินทางไปที่สิงคโปร์เพื่อหางานด้านการลงทุนที่นั้น ก็เลยแวะไปหาเพื่อนซึ่งเป็น Software Architect ที่กรุงเทพฯ ในช่วงเวลานั้นผมรู้สึกว่าวิกฤติการเงินโลกกำลังจะเกิดขึ้นพอดีผมเปลี่ยนต้องแผนกระทันหันและตัดสินใจอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจให้กับตัวเอง ในปีแรกที่ผมอยู่ที่นี่ผมได้มีโอกาสรู้จัก tech start-up community ของไทยและได้เข้าร่วม tech event ต่างๆ รวมไปถึงได้เป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท tech start-up ต่างๆกับเพื่อนๆ ผมรู้สึกประหลาดใจมากเมื่อพบว่า tech community ของที่นี่ผิดปกติ และยังคงตื่นกลัวเมื่อค้นพบสิ่งที่ผมเรียกว่า Series A Funding Gap
Series A Funding คือการที่บริษัท start-up ระดมเงินทุนสำหรับ innovative product หรือ service ของตน ซึ่งแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ก็จะเป็นนักลงทุนผู้ใจบุญและบริษัทที่ลงทุนในกิจการต่างๆ สำหรับที่ประเทศไทย ไม่มีนักลงทุนคนไหนที่พร้อมจะเสี่ยง บริษัทลงทุนก็เช่นกัน พวกเขาจึงหันไปลงทุนกับบริษัทใหญ่ๆ ที่สามารถสร้างรายได้ได้เยอะๆ แทน ซึ่งผมไม่คิดว่าพวกเขาควรจะเรียกตัวเองว่าบริษัทลงทุนเลยสักนิด
ผมเลยตัดสินใจเริ่มเขียนหนังสือของผมในปี 2009 ในขณะที่ไปเยี่ยมเพื่อนที่จังหวัดร้อยเอ็ดในช่วงสงกรานต์ ถึงแม้ว่าผมจะอยู่เมืองไทยได้เพียงปีกว่าๆ แต่ผมก็ได้ไปนำเสนอในหัวข้อ Finance for Geeks ที่งาน Barcamp ซึ่งในงานครั้งนั้นผมได้พูดเรื่อง Series A Funding Gap และความท้าทายต่างๆ ที่บริษัท startup จะต้องพบเจอ ผมได้เจอและพูดคุยกับหลายๆ คนที่สนับสนุนหัวข้อของผม ผมจึงภูมิใจที่จะบอกว่าผมคือหนึ่งในคนที่สนับสนุนการปรับปรุงระบบการก่อตั้งบริษัท startup ในประเทศไทย
thumbsup: อะไรคือแรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้
แรงบันดาลในการเขียนหนังสือเล่มนี้คือการให้คำปรึกษา โดยเฉพาะคำปรึกษาด้านการเงิน ให้กับบริษัท startup ต่างๆ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผม ทั้งในอเมริกาและเอเชีย ผมได้พบเห็นบริษัท startup หลายบริษัทที่ต้องยอมแพ้ ถ้าไม่เพราะความขาดแคลนทางการเงิน ก็เป็นเพราะการเงินไม่คล่อง ความขาดแคลนทางการเงินเกิดจากบริษัท startup ไม่สามารถระดมทุนพอที่จะดำเนินการได้ ส่วนการเงินไม่คล่องเกิดจากบริษัท starup สามารถระดมทุนได้ แต่นักลงทุนมีข้อจำกัดในการตัดสินใจมากเกินไปหรือไม่ก็ให้ทุนน้อยเพียงแค่ให้เพียงพอต่อการดำเนินการ อีกเหตุผลที่ทำให้เริ่มต้นเขียนหนังสือเล่มนี้ก็เพราะการสนับสนุนจากผู้เข้าร่วมฟังในหัวข้อ Finance for Geeks ให้เขียนเกี่ยวกับคำปรึกษาที่ผมได้นำเสนอไป
thumbsup: ช่วยอธิบายเนื้อหาคร่าวๆ ที่มีอยู่ในหนังสือของคุณสักหน่อยครับ
หนังสือของผมบอกเล่าถึงสิ่งต่างๆ ที่บริษัท startup จะต้องเจอ สำหรับสองบทแรกจะเป็นความเข้าใจพื้นฐานที่ต้องรู้ก่อนจะอ่านบทต่อๆ ไป ซึ่งในสองบทนี้ผมจะตั้งคำถามพื้นฐานและนำเสนอความคาดหวังต่างๆ ที่ผู้ก่อตั้งต้องพิจารณาและตอบว่าความต้องการของตนคืออะไร หลังจากนั้นจะเป็นการเกริ่นคร่าวๆ เกี่ยวกับพื้นฐานเรื่องทฤษฎีด้านการเงินและแนวคิดที่เกี่ยวกับบริษัท startup
บทที่สองจะเน้นไปที่ความเข้าใจในเรื่องความคาดหวังและประสิทธิภาพของนักลงทุนที่หวังไว้และอะไรที่ผู้ก่อตั้งควรจะคาดหวังจากพวกเขา สองบทถัดไปจะเน้นเกี่ยวกับการวางแผนทางธุรกิจและทางการเงิน ผมค้นพบว่าบริษัท startup มักจะวางแผนอย่างไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่ก็วางแผนโดยไม่ใช้วิธีที่ถูกต้อง ในบทที่สี่ของการวางแผนด้านการเงิน ผมจะนำเสนอแนวคิดที่ผมสร้างขึ้นในการใช้งานของผมเองในช่วงที่ทำงานด้านธุรกิจเพื่อช่วยให้ลูกค้าปรับปรุงเรื่องการตัดสินใจและระดมทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถัดไปอีกสองบทจะเป็นเรื่องการตรวจสอบเกี่ยวกับการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพและวิธีการเจรจาเมื่อต้องระดมทุน ในหัวข้อนี้จะรวมไปถึงวิธีการนำเสนอต่างๆ การเตรียมเอกสาร วิธีการเจรจา และประเด็นหลักของการเจรจาเพื่อหาทุนและการวางแผนในการเจรจา
สองบทสุดท้ายจะเกี่ยวกับองค์กรที่มีประสิทธิภาพและระบบที่ใช้ในการตัดสินใจที่บริษัท startup ที่ประสบความสำเร็จใช้ในการระดมทุน ซึ่งพวกเขาได้เพิ่มหุ้นส่วนเข้ามาในโครงสร้างการตัดสินใจ การสร้างระบบการปกครอง ที่เหมาะสมและการจัดการกับความสนใจที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มลูกค้า จะเป็นประเด็นหลักในสองบทสุดท้ายนี้
thumbsup: ลองพูดถึงความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่างหนังสือของคุณกับหนังสือเล่มอื่นในท้องตลาดหน่อยครับว่าเป็นอย่างไร
หนังสือของผมจะแตกต่างในหลายๆ ด้าน อย่างแรกเลยคือหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นมาในมุมมองของผู้ให้คำปรึกษาและอ้างอิงจากประสบการณ์จริงทั้งหมด ผมจะตั้งคำถามมากกว่าตอบคำถาม เพราะผมเชื่อว่านักธุรกิจที่กำลังเล็งที่จะเจาะตลาดใหม่ๆ จะต้องพบเจอกับความท้าทายที่มีแต่พวกเขาเท่านั้นที่จะสามารถตอบได้ อย่างไรก็ตามพวกเขาต้องพิจารณาเสียก่อนว่าพวกเขากำลังเผชิญเหตุการณ์แบบไหนอยู่เพื่อที่จะรู้ว่าพวกเขาควรจะตอบคำถามไหน ซึ่งเป็นความตั้งใจหลักของหนังสือเล่มนี้
อย่างที่สองคือหนังสือที่เกี่ยวกับ startup ส่วนใหญ่จะนำเสนอเพียงแค่บางมุมมอง แต่หนังสือของผมจะพาไปสำรวจทุกเรื่องที่สำคัญของธุรกิจ startup ในมุมมองทางกลยุทธที่จะช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมทางความคิดที่ถูกต้องให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการจะสามารถนำมันไปใช้ในการคิดและวางแผนธุรกิจได้อย่างดี จากที่ผมรู้มา หัวข้ออย่างเช่น การวางแผนทางการเงิน และระบบการปกครอง ยังไม่เคยมีการนำเสนออย่างเฉพาะเจาะจงให้กับบริษัท startup มาก่อน
ความแตกต่างอย่างที่สามคือ หนังสือเล่มนี้แชร์ประสบการณ์ของผมระหว่างสองทวีป เป็นการนำเสนอมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเป็นการเปิดเผยความจริงที่เป็นสากลโลกอย่างเต็มใจและผมก็เชื่อว่ามันมีความชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
สุดท้ายอย่างที่สี่คือ หนังสือ startup ส่วนใหญ่เขียนโดยผู้เขียนที่อ้างอิงจากประสบการณ์ของพวกเขากับ startup community ที่เป็นรู้จักอย่างกว้างขวาง ประสบการณ์ของผมในอเมริกาเกิดขึ้นกับ startup community ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก และประสบการณ์ในเอเชียของผมก็เกิดขึ้นกับ startup community ที่กำลังเติบโต ความเป็นจริงที่ startup ใน Silicon Valley หรือบอสตัน โดยพื้นฐานแล้วแตกต่างกันมากเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัท starup ในไทย ดังนั้นทั้งปัญหาและการแก้ไขก็ย่อมแตกต่างเช่นกัน ผมเชื่อว่าหนังสือของผมมีความแม่นยำมากพอสำหรับสิ่งที่จะพบเห็นได้ในระบบ ecosystem ของ startup ที่กำลังพัฒนา
thumbsup: หนังสือของคุณมีกลุ่มเป้าหมายไปที่กลุ่ม startup รายใหม่ หรือกลุ่มที่เริ่มทำธุรกิจของตัวเองไปแล้วระยะนึง?
หนังสือเล่มนี้ได้เน้นคำแนะนำให้แก่นักธุรกิจด้านเทคโนโลยีตั้งแต่การเริ่มต้นเหมือนแม่ไก่ที่กกไข่ ดำเนินไปจนถึงสิ้นสุด อาจจะกล่าวได้อีกอย่างว่าหนังสือเล่มนี้มีคำแนะนำที่มีคุณค่าและมีการเจาะลึกในหลายๆอย่างสำหรับนักธุรกิจด้านเทคโนโลยีในทุกๆขั้นตอนของการดำเนินชีวิตในธุรกิจแบบ startup ดังนั้นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการอ่านหนังสือเล่มนี้คือตั้งแต่ก้าวแรกที่จะไปสู่การผจญภัยในการดำเนินธุรกิจ
แท้จริงแล้วหนังสือของผมเป็นหนังสือสำหรับการอ่านเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยม ที่สามารถเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และเมื่อไปอ่านหนังสือเล่มอื่นที่มุ่งเน้นในหัวข้อที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ผู้อ่านก็จะทำให้ได้รับคุณค่าอย่างสูงที่สุด
thumbsup: สุดท้ายครับ ช่วยให้ข้อคิดเกี่ยวกับบริษัท Startup ในไทยหลายๆ บริษัทที่กำลังเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งให้คำแนะนำแก่พวกเขาสักหน่อยครับ
ข้อความที่ผมอยากจะกล่าวออกไปเพื่อที่จะนำพาพวกนักธุรกิจในประเทศไทยไปสู่จุดหมาย คือ ตอนนี้นับเป็นช่วงเวลาที่ดีมากที่จะไล่ตามความคิดต่างๆ เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆของพวกคุณ แค่ช่วงปีที่ผ่านมา บทบาทของบริษัท startup ของไทยก็ได้มีการรุดหน้าไปได้อย่างดี ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากผู้ประสบความสำเร็จบางราย ได้แก่ ShopSpot และเหล่าบริษัท startup ที่ดูมีอนาคตที่ดีอีกหลายราย ได้แก่ Freehap ซึ่งเป็นบริษัทที่กำลังเริ่มต้นมีชื่อเสียงโด่งดังข้ามประเทศ ส่วนเรื่อง Series A Funding Gap ก็เริ่มลดลง
Startup community ในไทยที่เป็นที่รู้จักในความสมบูรณ์ของพรสวรรค์ทางเทคโนโลยี กำลังเริ่มเป็นที่ดึงดูดความสนใจมากขึ้นทั้งจาก Silicon Valley และประเทศเพื่อนบ้าน co-working space ที่อบอุ่นมากขึ้นและจำนวนของงาน tech event ต่างๆ กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วทั้งประเทศไทย
สำหรับบริษัท startup หลายแห่ง หรือความเป็นที่ต้องการของนักธุรกิจในประเทศไทย ที่จะได้รับผลประโยชน์ ของการพัฒนาที่ได้ผลดีแล้วนั้น “พวกเขาต้องเข้าไปมีส่วนร่วม” การเข้าไปเป็นสมาชิกของ co-working space การมีส่วนร่วมของแผนงานในบริษัท startup อันได้แก่ Three Days Start-Up (3DS) , Start-Up Weekend, หรือ AIS Start-Up Bootcamp การเข้าร่วมงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ได้แก่ Bar Camp และ Echelon การคอยติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าว startup ท้องถิ่นที่ Thumbsup หรือ แหล่งข่าวของบริษัท startup ส่วนภูมิภาคที่ e27 และค้นหาหุ้นส่วนที่รู้จักใช้กลยุทธ์และคนที่น่าจะมีความสนใจร่วมกันที่อยากจะเห็นความคิดอันล้ำหน้าของคุณนั้นน่าจะได้นำมาถูกทำให้เป็นจริงได้ อีกทั้งยังเป็นคนที่จัดเตรียมสิ่งที่คุณจำเป็นจะต้องใช้ เพื่อที่จะเป็นที่ดึงดูดและได้รับความความสนใจในโอกาสทางด้านการลงทุนสำหรับมุมมองของเหล่านักลงทุนทั้งหลาย
คำแนะนำที่สำคัญอีกคำหนึ่งที่ผมอยากจะบอกคือ เพิ่มสิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ในการดึงดูดเหล่านักลงทุนคือ คุณจะต้องคิดให้ไปถึงระดับภูมิภาค และระดับโลก และพัฒนาผลงานด้านนวัตกรรมของคุณนั้นให้มีการปรับย่อหรือขยายต่อไปได้อีกขึ้นอยู่กับพื้นฐานของสิ่งๆ นั้น แต่นับเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่แล้วตลาดภายในประเทศอาจจะใหญ่ไม่พอสำหรับความคิดอันล้ำสมัยของคุณ เพื่อจะค้นหาแหล่งลงทุนขนาดใหญ่จากเหล่านักลงทุนได้ ความสมบูรณ์ของพรสวรรค์ทางเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ นั้นมีอยู่จริงในประเทศไทย มันจะถูกนำเข้าไปอยู่ในความสนใจของทุกคนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการพัฒนาของระบบ startup ในส่วนท้องถิ่น และการทำให้ประเทศไทยได้รับการคำนึงถึงว่าเป็นศูนย์กลางทางด้านนวัตกรรมของโลก
เกี่ยวกับ David Shelters
David possesses over fifteen years of entrepreneurial experience as a founder, co-founder, financial advisor or mentor to numerous start-ups in both America and Asia. He currently resides in Bangkok, Thailand where he provides investment banking, business brokerage and financial advisement services through his company, Karon Business Consulting. He is also an active participant in the local tech entrepreneurial scene presenting at numerous Bar Camps and other tech conferences. He currently advises several local tech start-ups and conducts a monthly workshop at Hubba co-working space. Recently David’s first book, Start-Up Guide for the Technopreneur, was published by John Wiley & Sons and his blog at www.financeforgeeks.com was launched.
David holds a B.A. Degree in History and Political Science from the State University of New York at Albany, an M.S. Degree in International Affairs from Florida State University and completed the coursework for the Masters in International Business Studies Degree from Georgia State University. He was formerly Series 3 and Series 7 Licensed in the U.S. permitting trading on both the stock and futures markets respectfully.