เสร็จสิ้นการแข่งขันไปอีกภาคสำหรับการแข่งขัน TechJam 2018 ทีมภาคอีสาน โดยบรรยากาศการแข่งขันเรียกได้ว่าขับเคี่ยวกันอย่างสุดๆ ซึ่งผู้แข่งขันแต่ละคน ฝีมือสุดเจ๋ง และไม่มีใครยอมแพ้กันเลย ซึ่ง Thumbsup ได้สัมภาษณ์ผู้ชนะทั้ง 3 ทีมมาฝากกัน
ทีมขอตั๋วผมหน่อย
ผู้ชนะ CODE SQUAD ประจำภาคอีสาน
วสิษฐพล นุคิด และ ณพวงศ์ สมอ่อน 2 หนุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีแนวคิดว่า “ไม่อยากให้คนอื่นมองเราว่าเป็นศัตรู เพราะเราอยู่เหนือระดับจากพวกเขาต่างหาก“ ซึ่งทั้งเบียร์และแฟร์เคยผ่านเวทีการแข่งขันของระดับมหาวิทยาลัยมาแล้ว ด้วยความที่เป็นวัยรุ่นจึงมีคาแรคเตอร์กวนๆ ซึ่งพวกเขาคิดว่าโจทย์ไม่ยากไม่ง่ายเกินไป มีความมั่นใจในตัวเอง รอบคอบ คิด-วิเคราะห์ ช้าแต่ชัวร์ จนได้อันดับ 1 แห่งภาคอีสานมา
โดยก่อนหน้านี้ พวกเขาเคยเข้าร่วมการแข่งเขียนโค้ดของ ACM International Collegiate Programming Contest ซึ่งเป็นการแข่งขันการเขียนโปรแกรมในระดับอุดมศึกษาระดับนานาชาติ ซึ่งพวกเขาบอกว่ารูปแบบการแข่งขันต่างจากการแข่งขันของ TechJam เพราะเน้นการเขียนโค้ดอย่างเดียว
แต่ของ TechJam จะเน้นให้คิด มีโจทย์มาให้แต่ต้องเขียนโค้ดได้แม้ไม่มีอุปกรณ์ เป็นการวัดความรู้พื้นฐาน ซึ่งรูปแบบของกิจกรรมจะช่วยกระตุ้นความคิดและพัฒนาให้วงการนี้ดีขึ้น รวมทั้งมีคอนเนคชั่นกับคนในวงการเดียวกัน
-
จุดเริ่มต้นในการเข้าร่วมกิจกรรม
เริ่มต้นจากการไปดูงานที่ KBTG ตอนเทอมปลายปี 3 ซึ่งขณะนั้นมีการแนะนำกิจกรรมนี้ ซึ่งตอนที่อ่านรายละเอียดก็ค่อนข้างมั่นใจว่าน่าจะทำได้ แต่พอเข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกกดดัน ซึ่งแต่ละรอบจะไม่ได้แข่งขันพร้อมกันมีบางรอบที่ตกรอบ ทำให้กังวลบ้างแต่พอผ่านเข้ารอบมาก็รู้สึกดีใจ
-
ปัญหาที่เจอระหว่างแข่งขัน
ตอนแข่งขันจะให้เวลาในการตัดสินใจน้อย พอได้โจทย์จะมีเวลาคิดเพียง 40-50 วินาที ซึ่งทุกอย่างมันเร็วมาก เรียกได้ว่าพอได้โจทย์ก็ต้องคิดและตอบในทันที เวลาคิดมีน้อยจึงต้องอาศัยความชำนาญเป็นหลัก ก็คงต้องทวนความรู้เก่าให้มากกว่าเดิมและดูคลิปตัวอย่างใน Youtube หรือหาแชนแนลที่สอนความรู้พวกโค้ดจากช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ให้มากกว่าเดิม เพราะต้องยอมรับว่ายังมีแหล่งข้อมูลน้อย ซึ่งพวกนี้ต้องอาศัยแนวคิดและไปต่อยอดเอง นอกจากที่อาจารย์สอนแล้วก็คงต้องดูข้อมูลใน Google ประกอบด้วย
-
จุดอ่อน-จุดแข็ง
ส่วนตัวคิดว่ายังเก่งไม่พอ ต้องทำได้มากกว่านี้ถึงจะชนะทีมที่ผ่านการคัดเลือกจากทีมต่างๆ ได้ ซึ่งเราต้องพยายามพัฒนาตัวเอง ไม่สะเพร่า ซึ่งหลังจากนี้ก็คงต้องพยายามให้มากขึ้นเพื่อที่จะได้คว้าชัยชนะมา
-
สิ่งที่ได้จากการแข่งขัน TechJam
อยากให้คนที่มีประสบการณ์หรือเคยทำงานด้านโปรแกรมเมอร์มาเข้าร่วมกิจกรรม TechJam เพราะเป็นการแข่งขันที่ดี แก้ปัญหาโจทย์ก็สนุก ได้ความรู้และประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร มีผู้เข้าแข่งขันที่หลากหลายทำให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้กันมากมาย ทำให้ได้เปิดกว้างความรู้
ทีม DATASEED
ผู้ชนะ DATA SQUAD ประจำภาคอีสาน
อาจารย์วรารัตน์ สงฆ์แป้น อาจารย์ผู้สอนวิชาด้าน DATA SCIENCE ให้กับนักศึกษาหลายๆ คน ซึ่งเป็นคนที่อยู่กับด้าน Data มานานหลายปี ถึงจะมีความกดดันต่างๆ และปัญหาระหว่างการแข่งขัน แต่สุดท้ายก็สามารถแก้ปัญหา และทำผลงานออกมาได้อย่างดีเยี่ยม
-
จุดเริ่มต้นในการเข้าร่วมกิจกรรม
ปัจจุบันเป็นอาจารย์ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมีทีม PR มาประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่มหาวิทยาลัย ก็สนใจและอยากลองเข้าร่วมกิจกรรมดูจะได้รู้ว่าโจทย์เป็นอย่างไร ก็เลยสมัครเข้ามาแข่งขัน
-
บรรยากาศแข่งขัน
ต้องบอกว่าตอนส่งข้อมูลเพื่อเข้าประกวดในช่องทางออนไลน์กับวันแข่งจริง ความยากต่างกันเลย เพราะตอนรอบออนไลน์นั้น มีเวลาคิดและเตรียมตัว 2 วันก็เลยไม่กังวล แต่พอเข้ารอบออดิชั่น ทุกอย่างเกิดขึ้นเกือบทันที ทั้งการเตรียม Data ซึ่งมีกิจกรรมใหม่ๆ ให้ร่วมเยอะ ล้วนแล้วแต่เป็นโจทย์ที่ไม่เคยเจอมาก่อน ทำให้ตอนแข่งขันค่อนข้างกดดัน เพราะคู่แข่งต่างก็มีทีมมาช่วยคิด ซึ่งเราไปคนเดียวก็ตั้งใจทำให้เต็มที่
ก่อนหน้านี้ ก็ไม่เคยเข้าประกวดแบบนี้มาก่อน พอดีเราทำวิจัยในเรื่องที่คล้ายกับการแข่งขันพอดีก็เลยอยากลอง พอเข้าร่วมก็ได้ประสบการณ์ที่ดีเพราะข้อมูลด้าน Fintech นั้น ไม่ใช่ว่าจะได้เข้าไปดูได้ง่ายๆ
-
การเตรียมความพร้อม
ต่อจากนี้คงจะเตรียมตัวมากขึ้น เอา Data ที่มีมาลองประยุกต์ทำโจทย์ต่างๆ โดยอาจจะมีการทำโมเดลขึ้นมาเป็นฐานและใส่ความ Advance เข้าไปและ Merge กับข้อมูลที่มี ต้องลองซ้อมให้หลากหลายจะได้พัฒนาฝีมือและเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน เพราะพื้นฐานด้าน Data ทุกคนมีเหมือนกัน แต่คุณจะเก่งกว่าคนอื่นต้องฝึกทำโจทย์ ตั้งโมเดล และวิเคราะห์ให้เยอะ จะได้เปิดมุมมองและพยากรณ์ได้ดีขึ้น
อย่างที่สอนนักศึกษาอยู่จะเป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่มาปรับแผนให้ใช้งานได้เหมาะสมกับแนวโน้มของประเทศ โดยใช้ Big Data, AI มาพัฒนาเป็นโมเดลเพื่อไปใช้แข่งขัน หากเอาไปใช้แข่งแล้วไม่ชนะก็จะกลับมาพัฒนาต่อเพื่อเป็นผลงานวิจัยและต่อยอดทำ API
ปกติอาจารย์จะสอนทำ Data Mining สอนทำเหมืองข้อมูลหลายแฟคเตอร์และมา Actibute เน้นต่อ Module Virtual ส่วนที่ทำวิจัยจะเป็น Customer Review, Positive, Negative เน้น Centiment Analytic รูปแบบภาษาไทย
-
เตรียมพร้อมสู่รอบชิง
สำหรับการแข่งขัน DATA SQUADจะเป็นการแข่งทำโมดูลเพื่อพยากรณ์ข้อมูลจริงและเอาโมเดลมาใช้พัฒนาต่อยอด ซึ่งการเตรียมควาพร้อมคือจะไม่ยึดติดกับพวกเครื่องมือ แต่จะเน้นเครื่องมือที่สามารถพยากรณ์ผ่านโค้ดเบสิคอย่าง PHP เพื่อให้สามารถ Merge ข้อมูลได้ไวขึ้น ซึ่งตัวอาจารย์เองใช้การ Merge ข้อมูลด้วย Excel แต่ก็เตรียมความพร้อมให้หลากหลาย เพราะเดาทางการแข่งขันยาก จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมกว่าเดิม
-
อนาคตหลังจากนี้
ด้วยความเป็นอาจารย์ที่พาเด็กไปแข่งขันและลงแข่งเองด้วยในครั้งนี้ ก็เพื่อให้มีประสบการณ์สามารถถ่ายทอดให้นักศึกษาได้ทราบว่าบรรยากาศในการแข่งขันเป็นอย่างไร หากปีหน้าจะเข้าร่วมแข่งจะต้องเตรียมตัวอย่างไร เพราะมีเด็กๆ สนใจเยอะมาก ก็ต้องแนะนำให้เตรียมความพร้อม เตรียมข้อมูล และทดลองจำลองการแข่งขันให้เด็กๆ ได้เปิดกว้างแนวความคิด คล้ายกับตอนที่แข่งขัน เพราะเรื่องของ Big data นั้น จัดการยาก ต้องนำข้อมูลหลายส่วนเข้ามาใช้ด้วยกัน ถ้า Model ธรรมดาก็ยังพอจัดการได้ แต่ถ้าปริมาณข้อมูลมากๆ จะทำอย่างไรก็ต้องเตรียมตัวให้ดี คิดว่าโครงการแบบนี้อยากให้มีไปนานๆ จะได้เป็นช่องทางให้เด็กๆ พัฒนาความรู้ความสามารถได้มากขึ้น
ทีม TrexcodeJR
ผู้ชนะ DESIGN SQUAD ประจำภาคอีสาน
จิตรวี จงเรียน และ จักรพงษ์ สารครศรี เขื่อนและโต้ง สองหนุ่มรุ่นพี่รุ่นน้องสู่เพื่อนร่วมงาน และจากนักเขียนโค้ดผู้กล้ามาลงแข่งขันใน DESIGN SQUAD จนกลายเป็นคู่หูวัยรุ่นสุดเท่ห์ ผู้มีไอเดีย และวิธีการนำเสนอที่แตกต่าง จนสร้างผลงานออกมาไม่เหมือนกับทีมอื่น ทั้งคู่ได้เตรียมตัวในเรื่องของการแข่งขันในส่วน Present มาอย่างดี นับว่าเป็นสองหนุ่มที่มีแพทชั่นอย่างน่าสนใจ และน่าจับตามองใน TechJam ปีนี้เลยทีเดียว
-
ที่มาที่ไป
จิตรวี ได้เล่าให้ฟังว่า ตัวเขาเป็นคนมหาสารคาม แต่มาเป็นพนักงานบริษัททำงานในตำแหน่ง Project Manager ของบริษัทแห่งหนึ่งในขอนแก่น เห็นประกาศโครงการนี้ในช่องทางออนไลน์แล้วสนใจก็เลยลองสมัครเข้าร่วมดู โดยมีรุ่นน้องอย่าง จักรพงษ์ ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ในบริษัทเดียวกัน และมีความสนใจเหมือนกัน จึงตัดสินใจสมัครเข้าแข่งขันครั้งนี้ด้วยกัน
-
การเตรียมตัวก่อนแข่งขัน
ตอนแรกสิ่งที่เตรียมก็คือไม่ได้เตรียมตัวมาก เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่เราทำอยู่แล้ว แต่พอเข้าร่วมแข่งขันในวันจริงรู้สึกว่าน่าจะทำได้ดีกว่านี้ ซึ่งเราเลือกประเภทแข่งแบบ Design ก็คิดว่าจะใช้โปรแกรมในการทำงาน แต่กลับเป็นการวิเคราะห์ ต้องตอบคำถามก็รู้สึกว่ายาก เพราะต้องเปลี่ยนกระบวนการคิดและทำงานทั้งหมดที่เคยทำมา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะทำให้มองโลกของการออกแบบได้หลากหลายขึ้น เปิดโลกทัศน์ได้ดีขึ้น เพราะปกติทำงานจะใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบก็จะยึดติดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แลปท็อป แต่ในการแข่งขันจะไม่ได้ใช้เลย ต้องคิดและวิเคราะห์เอง เหมือนทำให้เราใช้ทักษะมากขึ้น ช่วยเพิ่มทักษะการสื่อสารให้ดีขึ้นด้วย
-
ความประทับใจในการแข่งขัน
ประทับใจในโจทย์การแข่งขันมากตั้งแต่ข้อแรกเลย คือพอได้รับโจทย์มาก็คิดว่าจะมีอุปกรณ์มาให้ใช้ในการทำงาน แต่เปล่าเลยต้องคิดเองและใช้กระดาษในการคำนวณและวิเคราะห์โจทย์ทั้งหมด เสียเวลาคิดไป 15 นาทีเลย ก่อนจะตั้งสติและทำโจทย์ได้ ถือว่าเปลี่ยนวิธีคิดไป ซึ่งช่วยให้ตอนกลับมาทำงานในชีวิตจริงก็จะมีระบบในหัวสำหรับการคิดงานมากขึ้น ละเอียดและใส่ใจในชิ้นงานต่างๆ มากขึ้น
โดยปกติจะหาข้อมูลหรือเนื้อหาต่างๆ บนเว็บไซต์ที่คนแชร์กันอยู่แล้ว เป็นความรู้ทั่วไปไม่จำกัดเฉพาะทาง จะได้เปิดรับแนวความคิดใหม่ๆ เพื่อไปปรับใช้ในการออกแบบมากขึ้น ปรับปรุงกระบวนความคิดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้เวลาให้น้อย เพื่อลดเวลาในการที่ต้องกลับมาแก้ไข อย่างเช่นตอนที่มีการทำสะพานในเวลา 30 นาที ที่เน้นคิดแต่เรื่องโครงสร้างมากเกินไปทำให้เสียเวลาแก้ไข พอมาย้อนคิดก็รู้สึกว่าถ้าตอนนั้นวางแผนให้ดีน่าจะประหยัดเวลาได้มากกว่านี้และไปเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆ ให้ดีกว่าได้
-
ประโยชน์ที่ได้จากการแข่งขัน
มีสังคมใหม่ๆ ในการแลกเปลี่ยนความรู้กันมากขึ้น เพราะได้คุยกับทีมที่แข่ง Code และ Data ก็ได้แลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ และเปิดมุมมองกว้างขึ้น ซึ่งการแข่งขัน TechJam จะเหมือนเกมส์โชว์มากกว่าการแข่งขันเขียนระบบหรือตั้งโจทย์ให้วิเคราะห์ ซึ่งน่าจะเปิดโอกาสให้คนในอาชีพต่างๆ เข้ามาร่วมแข่งขันมากขึ้น ทำให้คนที่ไม่เข้าใจเรื่องเทคโนโลยีหันมาสนใจและเปิดกว้างทางความคิดมากขึ้นไม่ต้องจำกัดอยู่แค่ในวงการ Tech เพียงอย่างเดียว ถือว่าดีทั้งบรรยากาศแข่งขันและสังคมของผู้เข้าแข่งขัน แม้ว่าจะรู้สึกกดดันแต่ก็ท้าทายไปพร้อมๆ กัน
-
อนาคตหลังจากนี้
แม้ว่าแข่งขันจนสิ้นสุดกิจกรรม แล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ก็อยากจะลองพัฒนาโปรดักส์ออกมาสักชิ้น เพราะรู้สึกมีไฟฮึกเหิมอยากจะทำอะไรสักอย่างที่ช่วยแก้ปัญหาสังคม อยากลองเป็นสตาร์ทอัพดูสักครั้ง เพราะผมทำงานด้านโรงงานอุตสาหกรรมมาโดยตลอด ก็อยากจะลองไปพัฒนาเทคโนโลยีด้าน Social Media และ Education บ้าง เผื่อว่าจะช่วยพัฒนาวงการศึกษาใหม่ๆ ให้น่าสนใจขึ้น
ร่วมเชียร์เหล่าผู้
ชมบรรยากาศการแข่งขันทั้งหมดได้ที่นี่
TechJam 2018 | EP.2 REGIONAL COMPETITION [ภาคอีสาน]
HIGHLIGHTS การแข่งขัน TechJam2018 ในดินแดนแคว้นอีสาน สังเวียนที่สองสำหรับการแข่งขันระดับประเทศของชาว TECH และ การออกแบบใคร ? จะเป็นตัวแทนของภาคอีสานที่จะเข้าไปชิงแชมป์ระดับประเทศความสนุก ตื่นเต้น ท้าทาย ที่ต้องห้ามละสายตาไปแม้แต่วินาทีเดียวดูรายละเอียดได้ที่ : www.techjam.tech#TechJam2018 #TomorrowSquad
โพสต์โดย TechJam Thailand เมื่อ วันพุธที่ 10 ตุลาคม 2018
บทความนี้เป็น Advertorial