ย้อนกลับไปเมื่อเกือบๆ สองปีก่อน เราได้นำเสนอรูปแบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ผ่านอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมาแล้ว ภายใต้ผู้ให้บริการที่มีนามว่า “Square Inc.” ซึ่งมาจนถึงวันนี้ หากคุณติดตามข่าวสารในเว็บไซต์ของเราอยู่อย่างสม่ำเสมอ คงน่าจะรู้จักบริษัทรายนี้ดีขึ้น ทั้งเรื่องของเทคโนโลยี และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ วันนี้เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทนี้ด้วย…
สำหรับชายผู้ที่เราได้มีโอกาสได้สัมภาษณ์เขา มีนามว่าคุณ “Triston O’ Tierney” ซึ่งปัจจุบันเขาได้ลาออกจากทีมงานของ Square เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อทางทีมงานเราได้มีโอกาส ก็ได้จับเขามานั่งสัมภาษณ์กันเสียหน่อย เกี่ยวกับการก่อตั้ง Square Inc. ขึ้นมา ไปติดตามกันเลยครับ:
thumbsupTH: ก่อนอื่นเลยคงต้องตามก่อนเลยครับว่า ทำอะไรมาบ้างก่อนที่จะก่อตั้งบริษัท Square Inc. รวมถึงว่าคุณไปเจอกับทาง Jack Dorsey ผู้ร่วมก่อตั้งอีกท่านได้อย่างไรครับ?
Tristan: ก่อนอื่นเลยต้องบอกก่อนว่า ผมผ่านชีวิตการทำงานมากมาย แต่ก็เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะได้มาเริ่มมาสร้าง Square Inc.หลังออกจากชีวิตมหาวิทยาลัย งานที่เรียกว่าตื่นเต้นและเป็นช่วงพีคของชีวิต ก็คือการก้าวออกจากที่ Silicon Valley และไปเริ่มงานที่ Yahoo หลังเรียบจบแค่หนึ่งปี และผมได้พิสูจน์ตัวเองอีกครั้ง แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ ก่อนที่ผมจะลาออกจาก Apple
ภายหลังการมาของ iPhone ซึ่งถือได้ว่ามาเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของทุกๆ คนที่ได้ใช้มัน ผมมีความเชื่อ และกล้าที่จะออกมาทำแอพฯ เกมของ iPhone ที่ชื่อว่า “Tapulous” ซึ่งเป็นเกมแนวเดียวกับเกมสุดฮิตอย่าง Tap Tap Revenge ขณะเดียวกันผมก็ยังได้พัฒนาแอพฯ สำหรับการใช้งาน Twitter ที่ชื่อว่า “Twinkle” ซึ่งมีความสามารถในการระบุตำแหน่งพิกัดในการทวีตข้อความได้ เพื่อให้สามารถสร้างเป็นชุมชุนของผู้ใช้ทวิตเตอร์ในละแวกใกล้เคียงได้
สำหรับ Jack เขาถือเป็นคนที่ชอบเกี่ยวกับแผนที่ในเมืองเป็นอย่างมาก และเขาได้นำไอเดียที่ดีมาใช้ ทำให้เราได้มีโอกาสที่จะพบกัน ในงานประชุมที่เราเรียกว่า “iPhone Dev Camp” ซึ่งกลายมาเป็นที่ประวัติศาสตร์ในที่สุด (แม้จะเป็นเวลาเพียงไม่กี่เดือนก็ตาม)
thumbsupTH: เราอยากจะถามคุณว่า อะไรคือแรงบันดาลใจ จนเกิด Square ขึ้นมากัน?
Tristan: หลังจากที่ Tapulous โด่งดังไปแล้ว ในขณะที่ Jack กลับไปทำงานอยู่ที่ Twitter แล้ว เราทั้งคู่ก็ลดการวางแผนที่จะกลับมาทำอะไรอีกสักอย่าง แต่ไม่นานนัก หลังจากนั้นแค่สองสามเดือน เราก็กลับมานั่งคุยกันว่าทำอะไรกันดี Jack แนะนำให้ผมรู้จักกับ Jim เพื่อนสมัยเด็กของเขา ซึ่งครั้งหนึ่งก็เคยเป็นหัวหน้าของ Jack ซึ่ง Jim เองก็มีความต้องการที่เริ่มทำบริษัทเช่นเดียวกัน
ส่วนตัวผมชอบในความสามารถในการออกแบบที่ค่อนข้างสวยงาม รวมถึงยังแสดงให้เห็นถึงความเรียบง่ายด้วยของ Jack ในขณะที่ Jim เองก็เป็นคนที่รอบคอบ รัดกุม ผมรู้ได้ทันทีว่าตอนนี้พวกเราต้องสร้างอะไรขึ้นมาสักอย่างแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เรายังไม่มีไอเดียดีๆ ที่จะทำอะไรเลย จนกระทั่ง Jim พบปัญหาเกี่ยวกับบัตรเครดิตกับธุรกิจของเขาเอง โดยบริษัทของเขาไม่ให้บริการสำหรับผู้ใช้บัตรของ American Express นั่นทำให้ Jack คิดขึ้นมาว่า ทำไมเราถึงไม่มาแก้ไขปัญหานี้กันล่ะ…
thumbsupTH: อย่างที่รู้กัน Square ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ในเรื่องของรูปแบบบริการ แน่นอนว่ามีหลายต่อหลายบริษัทพยายามที่จะลอกเลียนแบบของบริการ ในความคิดของคุณ อะไรคือจุดแข็ง หรืออุปสรรคของพวกเขาที่จะเข้ามาทำธุรกิจแบบ Square กัน?
Tristan: การเงินในระดับสากลนั้นมีกำแพงในตัวเองอยู่ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะทำให้คนที่คิดจะหันมาให้บริการแบบนี้ เจองานยากอย่างแน่นอน เพราะทั้งกฏระเบียบมากมาย คุณจะถูกควบคุมด้วยเหตุผลสารพัด แถมพวกเขายังจะยับยั้งนวัตกรรมใหม่ๆ ของคุณอีกด้วย กฏระเบียบบางอย่างแม้ว่าจะดูเก่าไปโดยเฉพาะกับเทคโนโลยียุคใหม่ และอุปสรรคขนาดใหญ่อีกอย่างยิ่งกว่ากฎระเบียบคือการที่คุณต้องทำงานร่วมด้วยกับคนกลางต่างๆ ในระบบธุรกิจการเงินนี้เพื่อที่จะครอบคลุมผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด
เมื่อคุณเข้ามาในตลาดได้แล้ว ความยากถัดมาคือการค้นหาและจ้างคนที่เจ๋ง เรามีนักสร้างสรรค์ที่มีหัวทางด้านศิลปะและเทคโนโลยี และไม่ยอมที่จะหยุดพัฒนาเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีกว่า ซึ่งคนเหล่านี้นี่แหล่ะที่จะช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรของคุณไปด้วยกัน
thumbsupTH: อยากให้คุณช่วยแชร์ประสบการณ์ว่า อะไรคือปัญหาที่ใหญ่ที่สุด ที่คุณเคยพบมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท และคุณแก้ไขมันอย่างไร?
Tristan: ผมคิดว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่เราเคยเจอกันมา และก็ยังคงเผชิญกับมันอยู่ก็คือ เรื่องของ “ความสำเร็จ” ในตลาดจริงและการแข่งขันที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคต จากการลดการใช้กระดาษ พลาสติก เงินสดในกระเป๋าเงิน บัตรเครดิต บัตรประจำตัว หรือใบเสร็จต่างๆ เป็นต้น Square จึงยังคงห่างไกลจากคำว่าประสบความสำเร็จมากนัก ในความเป็นจริงนั้น เราจึงยังต้องปลอบใจตัวเองว่าในตลาดที่เรากำลังแข่งขัน ไม่มีคู่แข่งที่โดดเด่น แต่จริงๆ มันก็แค่ทำให้เราสบายใจขึ้นเท่านั้น
วิธีที่จะเอาชนะมัน ก็คือทำสิ่งๆ นั้นให้ดีขึ้น เพื่อตอบโจทย์และมีคุณภาพที่ดี ซึ่งผมไม่ได้คิดว่ามันเป็นปัญหาของผลิตภัณฑ์หรอกนะ แต่ปัญหาคือแพลตฟอร์มต่างหาก หลังจากที่ใช้เวลาศึกษามากขึ้นในแถบเอเชีย ผมมั่นใจมากว่า ถ้าเรามาถูกทาง NFC หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ที่จะถูกใส่ไว้ในโทรศัพท์ทั้งหมด จะได้รับการสนับสนุนจากซอฟต์แวร์ที่ดีได้อย่างสมบูรณ์ ในการชำระเงินได้จริงๆ ก็คงต้องมาแก้กันที่แพลตฟอร์มบนสมาร์ทโฟน ซึ่ง Apple เองก็ยังไม่รองรับเทคโนโลยีหลายๆ อย่าง ในขณะที่ Android เองก็มีข้อจำกัดบางอย่างอยู่เหมือนกัน
thumbsupTH: คุณให้กำลังใจตัวเองอย่างไร ในการที่จะต้องออกมาเผชิญกับอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ?
thumbsupTH: มุมมองของคุณที่มีต่อบริการชำระเงินออนไลน์ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นอย่างไรบ้าง? เพราะว่าจำนวนผู้ใช้งานบัตรเครดิตนั้นยังคงเพิ่มไม่สูงมากนักในแถบภูมิภาคนี้ คุณมีข้อแนะนำอะไรหรือเปล่าเกี่ยวกับบริการตรงนี้ เช่นควรทำอะไรต่อไปในปีหรือสองปีข้างหน้านี้?
Tristan: ผมคิดว่าสำหรับบริการชำระเงินออนไลน์นั้น น่าจะพร้อมสำหรับหลากหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงเอเชียด้วย แม้ว่าพฤติกรรมออฟไลน์ของผู้บริโภคจำนวนมากยังคงมีอยู่ รูปแบบของการแตะการ์ด (ประเภท RFID หรือ NFC) ยังคงมีความพร้อมน้อยกว่าแบบรูดบัตรปกติ ซึ่งสามารถให้บริการได้เร็วกว่าและเกิดความผิดพลาดน้อยกว่ามาก แต่กลไกและกระบวนการต่างๆ ก็ยังไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก ในฝั่งของบัตรเครดิตนั้น แทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลง มันยังคงขาดรูปแบบการเชื่อมต่อ และการระบุตัวตนด้วยตนเองที่ดี แถบเอเชียนี้น่าจะได้ประโยชน์จากความคุ้นเคยของการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต และจะใช้เวลาไม่นานในการกระโดดข้ามไปยังการใช้บริการอุปกรณ์เหล่านี้บนโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟนอย่างไอโฟน
แม้จะใช้เวลานานซักหน่อย แต่ขั้นตอนและกระบวนการทั้งหมดก็จะถูกนำมาใช้กับแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ละประเทศในย่านนี้จะมีกฏระเบียบของธนาคารที่แตกต่างกัน ก็อาจจะถึงเวลาที่จะสิ้นสุดรูปแบบเดิมๆ ของการชำระเงินที่แตกต่าง ซึ่งมีมาอย่างยาวนาน ให้มาเป็นระบบเดียวกัน สหรัฐฯ ได้สร้างรูปแบบของการชำระเงินที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้งาน ด้วยการได้รับการสนับสนุนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ซึ่งก็จะทำให้เกิดการประหยัดจากการขยายการผลิต มีต้นทุนที่ต่ำลง และมีอำนาจในการต่อรองที่สูงขึ้นตามไปด้วย
ผมคิดว่าในระยะสั้น แต่สิ่งที่โดดเด่นสำหรับบริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น จะเป็นเรื่องการมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับการชำระเงิน ที่ดีกว่าเพียงแค่รูดบัตร และมีการเชื่อมต่อที่มีอยู่ในระดับภูมิภาค นั่นแหละที่จะทำให้ประเทศในแถบนี้จะก้าวขึ้นมาในด้านนี้
thumbsupTH: คุณมีแผนที่จะขยายบริการของคุณออกมาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือไม่? แล้วตลาดแถบนี้ถือเป็นโอกาสขยายฐานลูกค้าหรือเปล่า? และคุณคิดว่าบริการของคุณจะดีและเหมาะกับเฉพาะประทศที่มีการใช้งานบัตรเครดิตจำนวนมากๆ ใช่หรือไม่?
Tristan: ผมคงพูดเกี่ยวกับแผนการขยายตัวไม่ได้มากนัก ต้องขออภัยจริงๆ แต่แน่นอนว่าพวกเขามองหาโอกาส ที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของเขาในประเทศต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ทาง Square มองถึงโอกาสทีจะตั้งสาขาในต่างประเทศ รวมถึงนำนวัตกรรมใหม่ๆ ของพวกเขาออกไปสู่ตลาดใหม่ๆ ด้วย ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี่ก็เช่นกัน เพียงแต่ผมกังวลว่า การมาเจาะตลาดในภูมิภาคนี้อาจจะไม่ง่ายนัก ก็เหมือนที่ผมพูดไปก่อนหน้านี้ว่าในแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกันในหลายๆ เรื่อง การกระโดดเข้ามาในตลาดทีเดียว คงไม่เหมาะนัก
หลายคนคงคิดว่า Square ทำผลิตภัณฑ์เพียงแค่การรับชำระผ่านบัตรเครดิตเท่านั้น แต่นั่นไม่ใช่ หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบริษัท ก็คือการเพิ่มขีดความสามารถให้กับร้านค้า ในการสร้างคลังรายการสินค้า และรับชำระทั้งเงินสดเช่นเดียวกันกับที่รับชำระสำหรับบัตรเครดิต นี้คือการตัดสินใจที่จะการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของบริษัท เพราะเราเชื่อว่าการชำระเงินโดยทั่วไปไม่ได้เป็นเพียงบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเท่านั้น ไม่มีเหตุผลที่ทาง Square จะไม่ทำเช่นนั้น เมื่อระบบบัตรเดบิตในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับความนิยมสูง ดังนั้นนี่จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่จะไม่บังคับให้ประเทศนั้นเปลี่ยนวิธีการใหม่ทั้งหมดในการชำระเงิน ซึ่งมันสำคัญที่ว่าประเทศใดก็ตามที่ Square ขยายตลาดเข้าไป และไม่มีการต่อต้าน รวมถึงประชาชนในประเทศนั้นๆ ยอมรับเป็นวัฒนธรรมการชำระเงินรูปแบบนี้
thumbsupTH: สุดท้าย อยากให้คุณแนะนำข้อคิด หรือฝากอะไรบางอย่างให้กับ Startup หรือผู้ประกอบการหน้าใหม่ชาวไทยหน่อยได้ไหม?
Tristan: สิ่งที่ผมอยากจะบอกเป็นการเริ่มต้นอย่างแรก ก็คือจงให้ความสำคัญกับทีมงานมากกว่างานที่คุณจะต้องทำ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่างานที่คุณทำมันจะไม่สำคัญหรอกนะครับ แต่ทีมที่คุณร่วมกันก่อตั้งขึ้นมา และเลือกที่จะเดินไปตามความคิดความฝันจะเป็นตัวตัดสินว่าความสำเร็จนั้นจะมากกว่าความคิดสร้างสรรค์ของคุณหรือไม่
ถัดมาคงเป็นเรื่องของเวลาครับ หลายครั้งที่ตลาดอาจจะยังไม่พร้อมสำหรับความคิดของคุณ หรือกลับกันเมื่อคุณคิดจะเข้าตลาด อาจจะช้าไปแล้วก็ได้สำหรับตลาด บางทีการเปลี่ยนช่วงเวลาที่คุณมัวแต่พูดคุย ประชุมกัน เปลี่ยนไปเป็นการทำบางสิ่งบางอย่าง อาจจะมีคุณค่ามากกว่าก็ได้ สรุปก็คือ “เวลาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อความสำเร็จ”
สิ่งสุดท้ายและสำคัญที่สุด ก็คือ “ฝีมือ” คุณไม่ควรสร้างสินค้าที่จะก่อให้เกิดรายได้ หรือสร้างสิ่งที่จะมาแก้ไขปัญหาให้โลกมากเกินไปนัก กลับกันการสร้างสิ่งที่จะเหนือไปกว่าสิ่งเหล่านั้น แต่บางสิ่งบางอย่างนั้นอาจจะกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ในที่สุด เมื่อพาสิ่งนั้นออกไปสู่ตลาดด้วยความรอบคอบ และประสบความสำเร็จในการทำเงิน แถมด้วยการแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น นั่นล่ะครับมาจาก “ฝีมือ” ของคุณจริงๆ