Site icon Thumbsup

Jack Ma มาไทย มีประโยชน์ดีๆ อะไรกันบ้าง

การมาเยือนประเทศไทยของ Jack Ma เจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซรายใหญ่จากจีน ถือว่าเรียกกระแสฮือฮามากพอสมควร เพราะการลงทุนครั้งนี้ ไม่ธรรมดา เม็ดเงินลงทุนที่จะใช้ไปกับการพัฒนา EEC นับว่าเป็นเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งความหวังอย่างมาก แต่นั่นเป็นภาพใหญ่ระดับประเทศ เราลองมาดูกันว่าแล้วการมาของ Jack Ma จะช่วยสร้างโอกาสอะไรกับภาคประชาชนและธุรกิจกันบ้าง

การที่เขามาเยือนประเทศไทยนั้น ยังคงยืนยันว่าไม่ได้มาแย่งหรือผูกขาดการค้าทั้ง E-Commerce หรือ EEC แม้ว่าการทำธุรกิจต้อง Win-Win แต่ในสายตาของ Jack นั้น Win ต้องประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ประชาชนอยู่รอด หุ้นส่วนทำธุรกิจได้ และตัวเรา (หมายถึงอาลีบาบา) ก็ดำเนินธุรกิจได้ ซึ่งเขาไม่ได้หวังว่าภาครัฐจะมาอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจใดๆ แต่อยากให้ผลประโยชน์นั้น ตกไปอยู่กับ ผู้ประกอบการธุรกิจ SME หน้าใหม่ ประชาชนที่ต้องการซื้อของ และนำความรู้ที่ Alibaba มี มาถ่ายทอดให้คนไทย รวมทั้งจะมีการจัดทำ Training ให้ เพื่อสร้าง Digital Talent ให้แก่คนไทยรุ่นใหม่ ที่จะเป็นหัวใจสำคัญของอนาคต

Alibaba เติบโตมาได้อย่างแข็งแกร่งตลอด 19 ปีไม่ใช่เพราะเรารวย หรือเก่งที่สุด แต่เพราะเราพัฒนาและนำความสามารถที่มีไปบอกต่อให้แต่ละบุคคล เพื่อให้พวกเขาสามารถสร้างโอกาสให้แก่ธุรกิจหรือชีวิตต่อไปได้ แม้เราจะมีข้อมูล เงินทุนและเทคโนโลยี แต่สิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุดถึง 70% คือการพัฒนาเพื่ออนาคต

การที่ Alibaba เข้ามาเจรจาในไทยหลังทำข้อตกลงกับมาเลเซียเรียบร้อยแล้วนั้น Jack Ma บอกว่าแต่ละประเทศมีความพร้อมต่างกัน ใครพร้อมก่อนเราก็เดินหน้าก่อน แต่ยินดีที่จะสนับสนุนทุกประเทศ อย่างเช่น มาเลเซีย เขามีความพร้อมด้าน Logistic ก็เดินหน้าไปก่อน ส่วนไทยจะเน้นเรื่อง SME  Tourism และ Talent เราก็ทำเรื่องนี้ จากนั้นอีก 2 เดือนเราก็จะไปอาฟริกาเพื่อไปให้ความรู้คนรุ่นใหม่ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการเช่นกัน

หลายคนกังวลว่า Alibaba จะเข้าไปผูกขาดการค้าในประเทศนั้นๆ ไม๊ ผมบอกเลยว่าผมไม่ชอบสงครามการค้าหรือใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่ดีกับใครเลย เราเชื่อว่าควรมีการค้าเสรี การปรับปรุงนโยบาย เพิ่มกิจการทางการค้า และครอบคลุมทุกคนได้ ถ้ามีการผูกขาดแบบนี้เกิดขึ้น (ผมไม่คิดอยากจะให้เกิด) ต้องมีการเจรจา

เราเชื่อว่าการที่ Alibaba เน้นให้ความรู้จะเป็นแนวคิดที่ชูขึ้นมาเป็นหลักในการทำธุรกิจ เราต้องการสร้างให้ทุกคนเติบโตไปด้วยกัน อีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็เจ็บและตาย เราควรรู้ว่าเกิดมาเพื่อทำงานและ Alibaba จะไม่ชักจูงหรือบิดเบือนสิ่งใดให้ส่งผลกระทบกับภาพรวม ดังนั้นลืมเรื่องการผูกขาดได้เลยเรารู้ว่าเราเป็นใคร ต้องการอะไร รวมทั้งมุ่งมั่นส่งเสริมการค้าอย่างเสรีต่อไปอย่างต่อเนื่อง

การเข้ามานั้นจะเน้นการสร้างรากฐานด้าน Infrastructure สำหรับ E-Commerce เพื่อให้ธุรกิจ SME สามารถซื้อขายกับชาวจีนที่มีหลายพันล้านคนได้ รวมทั้งสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว แต่ละปีคนจีนมาเที่ยวไทยเยอะ และพวกเขาก็ต้องการสินค้าจากไทย เราจึงจะเข้ามาเพิ่มโอกาสและช่วยให้คนไทยขายสินค้าได้สะดวกขึ้น เพราะเชื่อมั่นว่า ประเทศที่เชื่อมั่นใน SME และ E-Commerce จะเป็นความหวังสำหรับอนาคต

ทางผู้เขียนขอลงรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับข้อตกลงที่ Jack Ma จะเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นอีกสักนิด กับเงินลงทุนที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาไทยหลักหมื่นล้านบาท ประกอบด้วย

ด้วยเทคโนโลยีระดับโลกของ Alibaba ในด้านการประมวลข้อมูลโลจิสติกส์ ผ่าน Cainiao Network ซึ่งเป็นธุรกิจด้านโลจิสติกส์ของ Alibaba เพื่อทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับจีน ประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) และทั่วโลก มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด

นอกจากนี้ ยังได้มีการประสานกับกรมศุลกากรในการยกระดับพิธีการทางศุลกากรให้เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งการตั้งศูนย์ Smart Digital Hub นี้ จะเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมวิจัยพัฒนาดิจิทัล ซึ่งสำนักงาน EEC จะเชื่อมประสาน Smart Digital Hub กับ เขตนวัตกรรมดิจิทัล หรือดิจิทัลพาร์ค (EECd) และเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) ด้วย คาดว่าจะสามารถทำพิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้าง Smart Digital Hub ได้ภายในปี .. 2561 และคาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการในปี .. 2562 ต่อไป

Alibaba ได้เสนอให้ Alibaba Business School (ABS) ซึ่งเป็นสถาบันพัฒนาบุคลากร ที่ตั้งอยู่ที่เมืองหางโจว ร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในการพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซของ SMEs ไทยทุกกลุ่มทั่วประเทศ รวมถึง SMEs ในชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบการรายย่อย

โดยเน้นให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจ ได้เรียนรู้และเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีไทยให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์  และเข้าถึงตลาดจีนที่มีผู้บริโภคอยู่ไม่น้อยกว่า 500 ล้านคน รวมถึงตลาดในภูมิภาคและสากลได้ตามลำดับ (Regional and Global Value Chain) Alibaba จะจัดทีมงานร่วมลงพื้นที่กับทีมงานของกระทรวงอุตสาหกรรม อาศัยเครือข่ายศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC) ในระดับภาคและจังหวัดของกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงหน่วยงานภูมิภาคของกระทรวงพาณิชย์ทั่วประเทศ

นอกจากส่งเสริมธุรกิจ SMEs ผ่านอีคอมเมิร์ซแล้ว Alibaba Business School ยังร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในการพัฒนากลุ่มคนเก่งหรือดาวเด่นด้านดิจิทัล (Digital Talent) ในประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาหลายหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐไปร่วมเข้าโครงการฝึกอบรมพัฒนาในด้านดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งสร้าง Networking กับ Talents ทั่วโลกที่ประเทศจีน

กระทรวงพาณิชย์และ Alibaba ได้ร่วมกันเปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ Tmall.com ซึ่งเป็นเว็บซื้อขายออนไลน์ระดับโลก ที่เน้นร้านค้าแบรนด์ชั้นนำหรือร้านค้าตัวแทนที่มีความน่าเชื่อถือ จะช่วยผลักดันยอดขายผลิตผลทางการเกษตรเริ่มต้นจากข้าว และขยายผลไปถึงผลไม้ต่าง ของไทย โดยเฉพาะ ทุเรียน ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ชาวจีนเป็นอย่างยิ่ง โดยอาศัย Insight ในเรื่องตลาดผู้บริโภคที่อาลีบาบามีความเชี่ยวชาญ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะร่วมมือกับAlibaba และ Fliggy บริษัทด้านการท่องเที่ยวออนไลน์ชั้นนำของจีน ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวดิจิทัลและผู้ประกอบการการท่องเที่ยวรายย่อยในไทย โดย Fliggy คู่ร่วมลงนามกับ ททท. จะนำประสบการณ์และเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด จัดทำ Thailand Tourism Platform ให้กับสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์และอำนวยความสะดวกในด้านการท่องเที่ยวต่าง เช่น คู่มือไกด์ออนไลน์ ระบบจำหน่ายตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สถานที่ท่องเที่ยวเมืองรอง เป็นที่รู้จักในกลุ่มชาวจีน

นอกจากนี้ ทั้ง Fliggy และ Ant Financial ระบบชำระเงิน Alipay ในเครือของอาลีบาบาอยู่ในระหว่างการเจรจากับหน่วยงานต่าง ที่เกี่ยวข้องของรัฐบาล เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลแบบครบวงจรต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่กระบวนการทางวีซ่า บริการหลังเดินทางแบบดิจิทัล ด้วยการคืนเงินภาษีนักท่องเที่ยวผ่านระบบ Alipay ซึ่งความร่วมมือกันในด้านการท่องเที่ยวนี้ คาดว่าจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีน และยังช่วยเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวของไทยได้มากยิ่งขึ้น

หากทำได้ทั้งหมดตามนี้ ประเทศไทยน่าจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่คนทุกกลุ่มเข้าถึงดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบเสียทีนะคะ