นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งของวิกฤติการณ์จากภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดเดาได้ แม้ขนาดประเทศที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและมีการเตรียมความพร้อมอยู่เสมออย่างญี่ปุ่นก็ยังต้องเผชิญชะตากรรมดังกล่าว ถ้าเป็นในอดีตการติดตามข้อมูลข่าวสารนั้นช่างแสนยากลำบากเพราะมีช่องทางเพียงแค่ โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่ในยุคที่มีอินเตอร์เน็ตแต่ขาดแหล่งรวมรวมข้อมูลข้อมูลสำคัญๆ เอาไว้ด้วยกันก็ยังเป็นการยากที่จะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นโครงการของ Google อย่าง Google Crisis Response จึงเข้ามาช่วยเหลือเป็นสื่อกลางใ้ห้กับหลายๆ เหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็นพายุ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำมันรั่วในมหาสมุทร ไฟป่า มาไว้ด้วยกัน
ซึ่งโครงการดังกล่าวเริ่มมีการรวบรวมและรายงานข้อมูลตั้งแต่ปี 2005 กับเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาซึ่งถือเป็นหนึ่งในพายุที่สร้างความเสียหายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา และเป็นสื่อกลางให้กับอีกหลายเหตุการณ์เช่น แผ่นดินไหวที่เฮติ, น้ำท่วมที่ปากีสถาน,แผ่นดินไหวที่นิวซีแลนด์ และล่าสุดกับเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นโดยจะมีการแจ้งเตือนให้ระวังภัย, ดึงข้อมูลข่าวสารล่าสุดจาก Google News, แจ้งสถานะของเส้นทางคมนาคมต่างๆ รวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้สอบถามในช่วงฉุกเฉิน
รับแจ้งค้นหาผู้สูญหายและถ้าใครพบเห็นสามารถเข้ามาอัพเดตกันได้ และเปิดให้นำไป Embed เข้ากับเว็บฯ อื่นๆ เพื่อช่วยกันกระจายข่าวสาร
ภาพจุดเกิดเหตุบน Google Map หรือ Google Earth ซึ่งแน่นอนว่าตรงนี้ทาง Google ย่อมทำได้ดีเมื่อได้รับข้อมูลว่าสถานที่เกิดเหตุคือบริเวณไหนก็สามารถนำมา Plot บนแผนที่ให้เห็นได้เลย
มีการดึง Feed มาจาก Twitter สำหรับข้อมูล Realtime updates (แม้ว่าทุกวันนี้ Google จะค้นหาข้อมูลที่ Tweet ออกมาได้และเชื่อมต่อกับ Buzz แล้วก็ตาม แต่ก็จะไม่ค่อยพบเห็น Google นำมาใช้กับบริการอื่นๆ ของตัวเองบ่อยนัก แปลว่าส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าข้อมูลที่มาจาก User-Generated Content ถ้ารวดเร็ว ฉับไวยังไงควรมาจาก Twitter) ?โดยจะ monitor คำที่สำคัญๆ เอาไว้อย่างกรณีของญี่ปุ่นเช่น Earthquake, Tsunami หรือ อักษรท้องถิ่นอย่าง ?? ( ??? ) jishin แผ่นดินไหว นั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีการจับมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้ง Docomo, KDDI, SoftBank, EMOBILE, WILLCOM เพื่อให้ผู้ที่ใช้บริการของค่ายต่างๆ สามารถส่งข้อมูลขึ้นมาอัพเดตให้คนอื่นๆ ได้ทราบว่าตนยังปลอดภัยอยู่หรือไม่ด้วยบริการที่ชื่อ “Disaster Message Boards” เพีียงใส่เลขหมายของคนที่เราเป็นห่วง ระบบก็จะทำการสืบค้นว่ามีข้อความของคนคนนั้นทิ้งเอาไว้หรือไม่ อย่างไรก็ตามนั่นหมายถึงเค้าก็ต้องทำการสมัครเปิดบริการนี้ไว้ด้วยถึงจะแจ้งอัพเดตข้อมูลตนเองได้เช่นกัน
ภัยธรรมชาติแม้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ แต่มนุษย์เราก็ยังพอที่จะช่วยกันผ่อนหนักให้เป็นเบา, บรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น หวังว่าสื่อกลางดีๆ แบบนี้จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ยามวิกฤติได้ไม่มากก็น้อย