สิ่งที่คุยกันบ่อยๆ ในกองบรรณาธิการ thumbsup ก็คือ ขณะที่เราทำงานกันในแต่ละวัน เราจะต้องไปเจอคนพูดภาษาธุรกิจ หรือบางทีก็เป็นศัพท์เฉพาะวงการ ที่ใช้กันอยู่บ่อยครั้ง ประเภท? “UU” “UIP” “ROI” “EBIDA” “ARPA” “ARPU” “Scrum” “ทำ Fease (Feasibility Study)” ซึ่งคำศัพท์เหล่านี้เอาเข้าจริงๆ ไม่ได้ยากอะไร แต่ถ้าไม่ได้อ่านกันบ่อยๆ หรือหาต้นตอมันจริงๆ ก็ชวนสับสนอยู่ไม่น้อย
ทางกองบรรณาธิการ thumbsup ก็ต้องการนำเสนอข่าวและบทความเรื่องธุรกิจดิจิตอลอยู่แล้ว การที่เราพยายามไม่พูดถึงศัพท์เฉพาะ ศัพท์เทคนิคเหล่านี้ ก็เหมือนกับเรานำเสนอไม่ได้ครบถ้วน อย่ากระนั้นเลย ต่อไปนี้เราจะพยายาม “เสาะหา” “รวบรวม” “เรียบเรียง” ความหมายของคำศัพท์ที่ thumbsuper ควรทราบกันดีกว่า อย่างวันนี้เราขอนำเสนอเรื่อง “Above the line” และ “Below the line”
ก่อนที่จะลงลึกเข้าไปในรายละเอียดของ Below the line ก็เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะยังสงสัยกับคำว่า Above the line กับ Below the Line ว่าคำ 2 คำนี้ มีที่มาอย่างไร
ในยุคที่วงการโฆษณายังเหมารวมเป็น Advertising Agency คือ บริษัทเอเยนซี่โฆษณายังทำหน้าที่ทั้งในส่วนงานของ Creative กับงาน Planning? โดยมีการคิดค่าธรรมเนียมในรูปแบบของค่าคอมมิสชั่นในเกณฑ์มาตรฐาน คือ 17.65%
ในส่วนของใบแจ้งหนี้หรือ Invoice ที่เรียกเก็บกับลูกค้าก็จะมีรายการชี้แจงว่าโฆษณาแคมเปญไหนใช้สื่ออะไรบ้าง เช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ ฯลฯ ซึ่งพอหมดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่า Media แล้ว ทางเอเยนซี่ก็มักที่จะขีดเส้นใต้เพื่อให้รู้ว่ามียอดค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้เท่าไหร่
หลักจากนั้นใน Invoice เดียวกัน ทางเอเยนซี่ก็จะทำรายการในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับค่า Media อาทิ การจัดกิจกรรมพิเศษทางการตลาด, การส่งเสริมการขาย, การจัด Road Show ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ทางเอเยนซี่จะไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมเป็นค่าคอมมิสชั่น แต่คิดเป็นค่าจ้างแทน
วิธีการขีดเส้นใต้ในใบแจ้งหนี้เพื่อแยกค่าใช้จ่ายระหว่างค่าคอมมิสชั่นกับ ค่าจ้างที่ปฏิบัติกันมานานนี้เอง จึงเป็นที่มาของศัพท์ทางการตลาด 2 คำ ที่ในประเทศไทยแห่งเดียวยังมีมูลค่ามากกว่า 100,000 ล้านบาท คือ Above the Line และ Below the Line
ที่มา: Yahoo! รู้รอบ