จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) ได้เปิดผลสำรวจผู้ประกอบการและคนทำงานถึงผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ครอบคลุมคนทำงานกว่า 1,400 คน และผู้ประกอบการกว่า 400 ราย
พบว่าคนทำงาน 1 ใน 4 ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อสถานะการทำงาน แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในอีก 6 เดือนข้างหน้าพบสัญญาณเชิงบวกในการจ้างงานจากฝั่งผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น สำหรับรายละเอียดผลสำรวจไปดูกันเลยครับ
การรับมือของผู้ประกอบในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
52% ส่งเสริมให้พนักงานทำงานที่บ้าน
47% ปรับนโยบายการจ้างงาน
37% เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทน
21% ไม่มีการปรับเงินเดือน
20% พิจารณามาตรการลดเงินเดือน
18% จะงดการจ่ายโบนัส
ผลกระทบต่อคนทำงาน
ดัชนีความสุขในการทำงานของแรงงานไทยลดลงจาก 85% เหลือเพียง 59%
16% ถูกหยุดงานแต่ยังคงสถานะลูกจ้าง
9% ถูกเลิกจ้าง
ทั้งนี้ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือพนักงานอยู่ในกลุ่มเงินเดือนต่ำกว่า 16,000 บาท มีลักษณะงานเป็นสัญญาจ้าง อายุมากกว่า 45 ปี และทำงานให้กับองค์กรที่มีพนักงานน้อยกว่า 50 คน
แนวโน้มการจ้างงานในครึ่งหลังของปี 2563
88% เชื่อมั่นการจ้างงานในครึ่งหลังของปี 2563
53% มีแนวโน้มที่จะว่าจ้างเด็กจบใหม่เพื่อทำงานในตำแหน่งระดับพนักงานทั่วไป
33% ชี้ว่าอยากจะจ้างงานผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โควิด-19
อันดับสายงานที่มีความต้องการในครึ่งหลังของปี 2563
1.งานไอที
2.งานการตลาด/งานประชาสัมพันธ์
3.งานขาย/งานบริการลูกค้า/งานพัฒนาธุรกิจ
4.งานต้อนรับ/งานในร้านอาหารและบริการเครื่องดื่ม
5.งานจัดซื้อ
พรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “องค์กรต่างๆ ควรเร่งกระตุ้นการมีส่วนร่วมของพนักงานเพื่อลดความรู้สึกไม่มั่นคงในการทำงาน ขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมความสมดุลของชีวิตและการทำงาน รวมถึงสวัสดิภาพของพนักงานหลังจากเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะฟื้นฟูหลังจากวิกฤตครั้งนี้ ซึ่งคนทำงานจะมองหาองค์กรในมุมที่แตกต่างออกไป โดยองค์กรที่สามารถสร้างจุดแข็งและสร้างความแตกต่างในเชิงผลตอบแทนจะได้เปรียบในการดึงคนที่มีความรู้ความสามารถไปร่วมงาน ทำให้ตลาดแรงงานจะเปลี่ยนจากตลาดที่ขับเคลื่อนโดยผู้ประกอบการเป็นตลาดที่ขับเคลื่อนโดยคนทำงาน”
ทั้งนี้ผลสำรวจดังกล่าว jobdb จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 14-30 พ.ค. 2563