Site icon Thumbsup

ทำความรู้จัก คะเคโบะ (kakeibo) 4 ขั้นตอนการออมฉบับแม่บ้านญี่ปุ่น

ถ้าใครที่เคยดูการ์ตูนญี่ปุ่น เช่น โดราเอม่อน หรือ ชินจังจอมแก่น คงจะคุ้นชินกับภาพแม่บ้านญี่ปุ่นที่ทำงานบ้าน ดูแลเรื่องต่างๆในบ้าน และรวมถึงการจัดการบริการเงินภายในครอบครัว

วิธีการบริหารเงินแบบแม่บ้านญี่ปุ่นนั้นเรียกว่า คะเคโบะ (Kakeibo 家計簿) แปลว่า สมุดบัญชีครัวเรือน เป็นวิธีการจัดการเรื่องเงินที่มีมายาวนานกว่า 100 ปี เคล็ดลับของ คะเคโบะ คือ การจดบันทึกรายรับรายจ่าย ‘อย่างจริงใจ’ ในแต่ละเดือน เพื่อที่จะนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นในเดือนต่อๆไป

คะเคโบะ ถือกำเนิดขึ้นในปี 1904 คิดค้นโดย ฮานิ โมโตโกะ (Hani Motoko) ที่ต้องการหาวิธีการออมเงิน เนื่องจากผู้หญิงยุคนั้นส่วนใหญ่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานนอกบ้าน คะเคโบะจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้แม่บ้านจัดการรายรับรายจ่ายของครอบครัวได้ดีขึ้น

 

เราจะมาเริ่มต้นการออมแบบคะเคโบะง่ายๆ ด้วย 4 ขั้นตอนนี้กันค่ะ

 

  1. สำรวจรายได้คงเหลือในแต่ละเดือน

หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้ววิธีคะเคโบะนี้ ต่างจากการทำรายรับรายจ่ายแบบอื่นตรงไหน อยากจะบอกว่า ต่างกันตรงที่ ‘ต้องมีความซื่อสัตย์ในการจดรายรับ-รายจ่าย’

เพราะปัญหาของคนที่ล้มเหลวในการออมส่วนใหญ่คือ ไม่มีเเบบแผนที่ชัดเจน เเละ ขาดความสม่ำเสมอ ในการเริ่มทำสมุดบัญชีครัวเรือน 

วิธีการคือ เขียนทุกอย่างออกมาว่าใน 1เดือนที่ผ่านมา เรามีรายได้เท่าไหร่ ใช้จ่ายกับเรื่องอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าไหร่ 

นำรายได้ลบกับรายจ่ายประจำ จะได้เงินคงเหลือหลังหักค่าใช้จ่าย

สูตรการคำนวณ : รายรับต่อเดือน – ค่าใช้จ่ายประจำ = เงินคงเหลือ (Discretionary Income)

 

  1. ตั้งเป้าหมายในการออมเงิน

ตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง ว่าอยากจะออมเงินเท่าไหร่ โดยประเมินจากเงินคงเหลือ ในช่วงแรกอาจจะเริ่มจากเงินจำนวนน้อยๆก่อน แล้วค่อยเพิ่มจำนวนเงินขึ้น แต่ก็ไม่ควรตึงเครียดกับการตั้งเป้าหมายจนเกินไป  ควรหาแรงจูงใจในการออม เช่น การให้รางวัลกับตัวเอง เมื่อถึงเป้าหมายเงินออม เป็นต้น 

เน้นให้คุณออมเงินจำนวนเล็กน้อยทุกวัน แทนที่จะเก็บเงินจำนวนมากเป็นครั้งคราว

 

  1. ระบุค่าใช้จ่ายในเดือนนี้

 เขียนรายจ่าย ที่ใช้ไปทั้งหมดในเดือนนี้ โดยแยกเป็นหมวดหมู่ 4 หมวด ดังนี้

  1.         ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้องจ่ายเพื่อการดำรงชีวิตชีวิต เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร 
  2.         ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น ออกไปกินข้าวนอกบ้าน มีเสื้อผ้าใหม่ ไปเที่ยวพักผ่อน งานอดิเรก
  3.         ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ คอนเสิร์ต และการสมัครสมาชิกสตรีมมิงต่างๆ
  4.         ค่าใช้จ่ายสำหรับเหตุไม่คาดฝัน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ

 

  1. ทบทวนค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปปรับปรุงในเดือนถัดไป

ทบทวนค่าใช้จ่าย เพื่อปรับปรุงวิธีการออมในเดือนต่อไป โดยหัวใจสำคัญของการทบทวนค่าใช้จ่ายก็เพื่อให้เราได้ทบทวนและพัฒนาตัวเอง

 

 ประโยชน์ของ คะเคโบะ

  1.         ช่วยให้เรามีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ฝึกความรอบคอบ ทำให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้น 
  1.         สามารถควบคุมการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น  และทำให้เรามีเป้าหมายที่ชัดเจน ช่วยสร้างให้เป็นคนมีระเบียบวินัย
  1.         ได้ทำความรู้จักตัวเอง จากการฝึกทบทวนตัวเองในเรื่องการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย และไม่หยุดที่จะพัฒนา

 

 

 

ที่มา

http://www.specialoffers.jcb/th/promotion/japan_contents_of_ASEAN/article

https://www.bangkoklife.com/emagazinehappylife/Issue/2563/34/MoneySession/42