Site icon Thumbsup

แคสเปอร์สกี้จับตาการเคลื่อนไหวของเงินดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก

การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล และได้ช่วยส่งเสริมภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดีแก่หลายพันล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ที่มีการระบาดครั้งใหญ่ โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) เป็นภูมิภาคที่สร้างรายได้จากการชำระเงินดิจิทัลมากที่สุดของโลก นักวิเคราะห์คาดว่าภูมิภาคนี้จะมีตัวเลขรายได้เกิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2022 หรือ 2023 นี้

การนำรูปแบบการชำระเงินดิจิทัลมาใช้อย่างรวดเร็วและแพร่หลาย ส่งผลให้ผู้ที่อยู่ในระบบนิเวศธุรกิจที่มีพลังและความคิดสร้างสรรค์นี้เร่งลงทุนและขยายรุกตลาดต่างๆ โดยตั้งเป้าการก้าวขึ้นครองตลาดจากการคลิกของผู้ใช้ในแต่ละครั้ง

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก ได้จัดการประชุมออนไลน์สำหรับสื่อมวลชนในหัวข้อ “Marking the money movement in APAC” เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องผู้ใช้การชำระเงินดิจิทัลในภูมิภาคและผลกระทบด้านความปลอดภัยของแนวโน้มนี้

นายคริส คอนเนลล์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่องการชำระเงินดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกรรมทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ ธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานให้เป็นดิจิทัล เพื่อรับรายได้เพิ่มเติมผ่านการชำระเงินดิจิทัล ผู้บริโภคเองก็พึ่งพาการชำระเงินดิจิทัลนี้อย่างมากเพราะง่ายและสะดวก ชัดเจนว่าความต้องการประสบการณ์การชำระเงินที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนต่ำ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และเราเห็นว่านวัตกรรมนั้นได้เกิดขึ้นพร้อมกับการมาของการชำระเงินแบบเรียลไทม์”

นายวิทาลี คัมลัก หนึ่งในสุดยอดนักวิจัยของแคสเปอร์สกี้  ได้อธิบายถึงลักษณะ “การโจมตีทางการเงินยุคใหม่” เป็นการโจมตีทางการเงินแบบกำหนดเป้าหมาย ส่วนใครเป็นเป้าหมายหลัก และขนาดของการโจรกรรมนั้นมีขนาดใหญ่เพียงใด วิทาลี กล่าวถึง การปล้นธนาคารกลางบังคลาเทศอันโด่งดังซึ่งเป็นผลงานของกลุ่ม APT ชื่อ บลูโนรอฟฟ์ (BlueNoroff) โดยเชื่อว่ากลุ่มนี้เป็นแผนกย่อยด้านการเงินของกลุ่มลาซารัส (Lazarus) ที่ดำเนินการจารกรรมทางไซเบอร์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้วิทาลียังขยายความถึงวิวัฒนาการของกลุ่มบลูโนรอฟฟ์ตั้งแต่การปล้นธนาคารครั้งใหญ่ และการมุ่งเน้นไปที่มูลค่าของสกุลเงินคริปโตที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

นายวิทาลี คัมลัก ผู้อำนวยการทีมวิเคราะห์และวิจัยของแคสเปอร์สกี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า แม้จะผ่านมาหลายปีหลังจากเหตุการณ์ปล้นธนาคารกลางบังคลาเทศ ปัจจุบันทั้ง SWIFT ธนาคารพาณิชย์ และอุตสาหกรรมการเงินอื่นๆ ก็ได้ติดตามกลุ่มบลูโนรอฟฟ์และการขโมยเงินจากธนาคารทั่วโลกที่มีการป้องกันน้อยกว่าอย่างระแวดระวัง การถูกจัดตามองเป็นเวลานานทำให้กลุ่มบลูโนรอฟฟ์ประสบความสำเร็จน้อยลงเรื่อยๆ และต้องใช้ความพยายามเพิ่มเติมอย่างมากในการฟอกเงินและปกปิดร่องรอย กลุ่มบลูโนรอฟฟ์จึงเริ่มหันมาสนใจเงินคริปโตที่มีราคาพุ่งขึ้นสูง”

นอกจากนี้ ข้อมูลจากงานวิจัยเรื่อง “Mapping a secure path for the future of digital payments in APAC” ศึกษาปฏิสัมพันธ์และทัศนคติของผู้ใช้ในแต่ละประเทศต่อการชำระเงินออนไลน์ที่มีอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจปัจจัยต่าวๆ ในการจะขับเคลื่อนหรือหยุดการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้งาน

ผลการวิจัยที่สำคัญประการหนึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามชาวเอเชียส่วนใหญ่ (90%) ใช้แอปชำระเงินผ่านมือถืออย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งยืนยันได้ว่าฟินเทคเฟื่องฟูในภูมิภาคนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนเกือบ 2 ใน 10 คน (15%) เพิ่งเริ่มใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้ในช่วงการระบาดของโควิด

ฟิลิปปินส์มีสัดส่วนผู้ใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-cash รายใหม่สูงสุดที่ 37% รองลงมาคืออินเดีย (23%) ออสเตรเลีย (15%) เวียดนาม (14%) อินโดนีเซีย (13%) และไทย (13%) จำนวนผู้ใช้การชำระเงินออนไลน์ครั้งแรกต่ำที่สุดคือจีน (5%) เกาหลีใต้ (9%) และมาเลเซีย (9%)

ประเทศจีนเป็นผู้นำที่โดดเด่นด้านการชำระเงินผ่านมือถือในเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด แพลตฟอร์มภายในประเทศชั้นนำอย่าง Alipay และ WeChat Pay ได้รับการยอมรับและใช้งานอย่างแพร่หลาย และเป็นตัวอย่างที่น่าติดตามสำหรับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย

นายคริส คอนเนลล์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ข้อมูลการวิจัยล่าสุดของเราแสดงให้เห็นว่าเงินสดยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างน้อยก็ในตอนนี้ โดยผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิก 70% ยังคงใช้ธนบัตรจริงสำหรับการทำธุรกรรมในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการใช้แอปพลิเคชันการชำระเงินผ่านมือถือและธนาคารบนมือถือนั้นไม่ห่างกันมาก

โดยมีผู้ใช้ 58% และ 52% ที่ใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อทำธุรกรรมการเงินอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งจนถึงวันละมากกว่าหนึ่งครั้ง จากสถิตินี้ เราสามารถอนุมานได้ว่าการระบาดของโควิดได้กระตุ้นให้คนจำนวนมากหันมาเป็นส่วนหนึ่งในเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งอาจแซงการใช้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบในช่วง 3-5 ปีข้างหน้านี้”

ความปลอดภัยและความสะดวกสบายได้กระตุ้นให้ผู้ใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหันมาใช้เทคโนโลยีทางการเงินมากขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งระบุว่าได้เริ่มใช้วิธีการชำระเงินดิจิทัลในช่วงโควิดระบาด เนื่องจากปลอดภัยและสะดวกกว่าการทำธุรกรรมแบบเห็นหน้ากัน

ผู้ตอบแบบสอบถามยังระบุด้วยว่าแพลตฟอร์มต่างๆ นี้อนุญาตให้ชำระเงินโดยปฏิบัติตาม Social Distancing (45%) และเป็นวิธีเดียวที่ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ในช่วงล็อกดาวน์ (36%) นอกจากนี้ ผู้ใช้ 29% ระบุว่าเกตเวย์ดิจิทัลในปัจจุบันมีความปลอดภัยมากขึ้นเมื่อเทียบกับยุคก่อนโควิด และผู้ใช้ 29% ก็ชื่นชอบสิ่งจูงใจและรางวัลที่ผู้ให้บริการเสนอให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม

แม้จะเป็นเพียงจำนวนเล็กๆ แต่เพื่อนและญาติ (23%) ยังคงมีอิทธิพลต่อผู้ใช้รายใหม่ เช่นเดียวกับรัฐบาลของแต่ละประเทศ (18%) ที่ส่งเสริมการใช้วิธีการชำระเงินดิจิทัล

ผู้ใช้โมบายแบงก์กิ้งและแอปชำระเงินครั้งแรกยอมรับความกลัว คือกลัวเสียเงินออนไลน์ (48%) และกลัวการจัดเก็บข้อมูลทางการเงินออนไลน์ (41%) ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนเกือบ 4 ใน 10 คนระบุว่าไม่ไว้วางใจความปลอดภัยของแพลตฟอร์มเหล่านี้

ผู้ใช้จำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่ (26%) พบว่าเทคโนโลยีนี้ยุ่งยากเกินไป และต้องใช้รหัสผ่านหรือคำถามมากมาย ในขณะที่ ผู้ใช้ 25% ยอมรับว่าอุปกรณ์ส่วนตัวของตัวเองไม่ปลอดภัยเพียงพอ

“ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลที่ปลอดภัย สิ่งสำคัญคือเราต้องทราบปัญหาของผู้ใช้และระบุช่องโหว่ที่เราต้องแก้ไขโดยด่วน เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่สาธารณชนตระหนักถึงความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการทำธุรกรรมออนไลน์ ด้วยเหตุนี้ นักพัฒนาและผู้ให้บริการแอปพลิเคชันการชำระเงินผ่านมือถือจึงควรมองหาช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในกระบวนการชำระเงินแต่ละขั้นตอน ใช้ฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย และมีแนวทางการออกแบบที่ปลอดภัยเพื่อให้ผู้ใช้การชำระเงินดิจิทัลในปัจจุบันและในอานาคตไว้วางใจอย่างเต็มที่” นายคริสกล่าวเสริม

ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ขอแนะนำขั้นตอนเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ในเอเชียแปซิฟิกใช้เทคโนโลยีการชำระเงินดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย ดังนี้