ใครที่กำลังเป็นหนึ่งในคนที่ไปเที่ยวชมฟุตบอลโลก หรือ FIFA World Cup 2018 ในช่วงนี้ บอกได้เลยว่าจุดเชื่อม Wi-fi ภายในพื้นที่การจัดงานกำลังมีความเสี่ยงนะคะ ต้องระวังมือดีเข้าไปขโมยรูปหรือข้อมูลในสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ของคุณให้ดี
พบจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi กว่า 20% ไม่ปลอดภัย
ผลรายงานวิจัยของ Kaspersky Lab ได้ชี้ว่าจุดบริการเน็ตเวิร์ก Wi-Fi จำนวน 7,176 จุด ตามเมืองแข่งขัน FIFA World Cup 2018 จากประมาณ 32,000 จุด ไม่ใช้การเข้ารหัสข้อมูลสื่อสาร แฟนฟุตบอลตามเมืองเหล่านั้นมีความเสี่ยง จึงควรมีมาตรการวิธีการป้องกันข้อมูลสำคัญส่วนตัวด้วยตนเอง โดยเฉพาะ เมื่อใดก็ตามที่ใช้การเชื่อมต่อ Wi-Fi ตามเมืองต่างๆ
งานระดับโลกเช่นนี้ มักเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนมากมายทั่วโลกต่างพากันต่อเชื่อมเน็ตเวิร์กกันอย่างหนาแน่น เพื่ออัพโหลดโพสต์ ติดต่อเพื่อนฝูง คนรัก แชร์ความตื่นเต้นบันเทิงกัน ทำให้เน็ตเวิร์กเหล่านี้ถูกใช้เป็นช่องทางในการโอนย้ายถ่ายเทเงิน รวมทั้งข้อมูลอันมีค่าผ่านอินเทอร์เน็ตได้ด้วย และข้อมูลเหล่านี้เองคือเป้าหมายที่มิจฉาชีพ หรือ third party ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นอาชญากรผู้ร้ายไซเบอร์เท่านั้น ใช้เป็นช่องทางเข้าแทรกแซงเพื่อดึงเอาข้อมูลมาใช้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง
การวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป นั้นอยู่บนพื้นฐานการวิเคราะห์ Wi-Fi สาธารณะตามจุดต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ใน 11 หัวเมือง ที่มีการแข่งขัน FIFA World Cup 2018 ได้แก่ เมือง Saransk, Samara, Nizhny Novgorod, Kazan, Volgograd, Moscow, Ekaterinburg, Sochi, Rostov, Kaliningrad, และ Saint Petersburg พบว่า ไม่ใช่ทุกจุดสัญญานต่อเชื่อมไร้สายที่จะใช้วิธีการเข้ารหัสและอัลกอริธึ่มสำหรับตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งเป็นรูปแบบวิธีการที่สำคัญต่อความปลอดภัยของเน็ตเวิร์ก Wi-Fi หมายความว่าแฮกเกอร์เพียงแต่หาทางมาอยู่ใกล้ๆ Access Point เพื่อเข้าแทรก traffic บนเน็ตเวิร์ก ก็สามารถที่จะโจรกรรมข้อมูลมีค่าจากคนที่ไม่ได้เตรียมการป้องกันตัวไว้ได้แล้ว
ทั้งนี้ มีเมืองจำนวน 3 เมืองที่มีอัตราความเสี่ยงสูงที่สุด ได้แก่ เมือง Saint Petersburg 37%, เมือง Kaliningrad 35% และ เมือง Rostov 32% ในทางตรงข้าม จุดที่ปลอดภัยที่สุดกลับเป็นเมืองเล็กๆ เช่น เมือง Saransk เพียง 10% มีเป็นระบบเปิด และ เมือง Samara 17% มีเป็นระบบเปิด เน็ตเวิร์ก Wi-Fi สาธารณะจำนวนเกือบ 2 ใน 3 ของสถานที่เหล่านี้ใช้ Wi-Fi Protected Access (WPA/WPA2) protocol family สำหรับเข้ารหัสทราฟฟิก ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในโปรโตคอลที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับการใช้ Wi-Fi
ประเภทของการเข้ารหัสที่ใช้ในจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi
หากท่านเดินทางไปชมการแข่งขัน FIFA World Cup 2018 ตามเมืองต่างๆ ในครั้งนี้ และอาจต้องใช้ Wi-Fi เน็ตเวิร์กสาธารณะ ควรปฏิบัติตามกฎง่ายๆ ในการป้องกันข้อมูล ดังนี้
- เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ ให้เชื่อมต่อโดยใช้ Virtual Private Network (VPN) ซึ่งข้อมูลที่เข้ารหัสของคุณจะสื่อสารผ่านเส้นทางที่ได้รับการป้องกัน หมายความว่าผู้ร้ายไซเบอร์จะไม่สามารถอ่านข้อมูลของคุณได้ ถึงแม้ว่าจะไปแอบขโมยแอคเซสของคุณมาได้ก็ตาม
- อย่าไว้วางใจเน็ตเวิร์กที่ไม่ต้องใช้พาสเวิร์ดเพื่อเข้าใช้งาน หรือพาสเวิร์ดที่เดาง่าย หรือหาพบได้ง่าย
- แม้ว่าเน็ตเวิร์กบางอันจะใช้พาสเวิร์ดที่ยากต่อการเดา แต่ก็ยังต้องระมัดระวังอยู่ดี เพราะแฮคเกอร์สามารถหาพาสเวิร์ดเข้าเน็ตเวิร์กตามร้านกาแฟได้ง่ายๆ จากนั้นก็เพียงแต่สร้างการเชื่อมต่อหลอกๆ ที่ตั้งให้ใช้พาสเวิร์ดเดียวกัน เพียงเท่านี้ก็สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวของคุณไปได้ง่ายๆ แล้ว ดังนั้น ควรไว้วางใจเฉพาะเน็ตเวิร์กที่มีชื่อและพาสเวิร์ดที่ได้รับมาโดยตรงจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของสถานที่นั้นๆ เท่านั้น
- เพื่อให้การป้องกันเป็นไปอย่างแข็งแกร่งสูงสุด ให้ปิดการเชื่อมต่อ Wi-Fi ทุกครั้งที่คุณไม่ได้ใช้งานแล้ว และควรที่จะยกเลิกคำสั่งให้เชื่อมต่อเน็ตเวิร์ก Wi-Fi แบบอัตโนมัติไปเสียด้วยจะดีกว่า
- ถ้าหากคุณไม่มั่นใจถึง 100% ว่าเน็ตเวิร์กไร้สายที่คุณใช้งานมีความปลอดภัยเพียงพอ แต่ยังจำเป็นต้องใช้งานต่อเข้าอินเทอร์เน็ต คุณก็ควรพยายามจำกัดกิจกรรมบนเน็ตให้เป็นเพียงแบบพื้นฐานทั่วไปเท่านั้น เช่น ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล ไม่ควรทำกิจกรรมออนไลน์ใดๆ ที่ต้องล็อกอินใส่พาสเวิร์ด เช่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก หรืออีเมล และแน่นอนว่าอย่าได้ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ หรือใส่รายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีธนาคารเลย หลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ หรือการเปิดโอกาสให้ข้อมลส่วนตัว ข้อมูลสำคัญ หรือพาสเวิร์ดถูกขโมยแล้วนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในทางมิจฉาชีพโดยเด็ดขาด
- หลีกเลี่ยงการตกเป็นเป้าของเหล่าอาชญากรมิจฉาชีพไซเบอร์ คุณควรเปิดอ็อพชั่น “always use a secure connection” (HTTPS) ในการตั้งค่าในเครื่องสื่อสารที่คุณใช้งาน ซึ่งเป็นอ็อพชั่นซึ่งแนะนำให้เปิดใช้งานเมื่อใดก็ตามที่เข้าเว็บไซต์ใดๆ ก็ตามที่คุณคิดว่าอาจจะมีความปลอดภัยไม่เพียงพอเท่าที่ควร
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่