การเข้าลงทุนใน Grab ของ Kbank ที่ตกลงความร่วมมือผ่าน Beacon VC นั้น ถือว่าเป็นความน่าสนใจทีเดียว เพราะต้องยอมรับว่าหากเทียบกันที่เม็ดเงินลงทุนของ Kbank ที่ลงไปใน Grab นั้น ไม่ได้สูงเมื่อเทียบกับนักลงทุนรายอื่นๆ แต่ก็ไม่น้อยจนน่าเกลียด เม็ดเงิน 50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐหรือ 1,600 ล้านบาทที่ Kbank ลงไปนั้น น่าจะเรียกว่า “คุ้มค่า” เสียมากกว่า เพราะแทบจะได้ประโยชน์จากความร่วมมืออย่างชัดเจนกว่านักลงทุนรายอื่นๆ
การประกาศความร่วมมือ
ส่ิงที่ทั้งสองฝ่ายอย่าง Kbank และ Grab ประกาศความร่วมมือนั้น คือการผลักดันให้เกิ
- ความร่วมมือดังกล่าวประกอบด้วย บริการทางการเงินแกร็บเพย์ บาย เคแบงก์ โมบายล์ วอลเล็ตที่เตรียมเปิดตัวในปีหน้
า - ขยายการให้บริ
การทางการเงินอื่นๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลู กค้า - รวมทั้งธนาคารกสิกรไทย ยังได้ร่วมลงทุนใน Grab เป็นมู
ลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นายธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เปิดใจเล่าให้ฟังว่า หลังจาก Grab ดำเนินธุรกิจในไทยมากว่า 5 ปี ก็มองเห็นปัญหาเรื่องการกู้ยืมเงินของพาร์ทเนอร์ผู้ขับ นั่นคือ อาชีพรับจ้างจะไม่มีสลิปเงินเดือนหรือการยืนยันที่มารายได้ที่บ่งบอกถึงความมั่นคง การทำงานกับ Grab จะช่วยให้พาร์ทเนอร์นำเอกสารไปใช้ในการยื่นขอเงินกู้กับธนาคารได้ เพราะระบบจะดึงข้อมูลด้านการขับ มาใช้ในการยืนยันตัวตน
“เพื่อลดปัญหาหนี้เสียและการกู้นอกระบบ การที่ Grab และ Kbank ร่วมมือกันจะช่วยให้การปล่อยสินเชื่อง่ายขึ้น ทั้งยังเพิ่มโอกาสเงินหมุนเวียนให้ดีขึ้นด้วย”
ยกตัวอย่าง กรณีภาพรวมรถแท็กซี่กว่า 3 หมื่นคัน ที่กำลังจะหมดอายุการต่อทะเบียนขับขี่สาธารณะและอาจต้องซื้อรถใหม่ หากไม่ได้ทำงานร่วมกับ Grab ก็จะกลายเป็นปัญหาว่าเขาจะไปหาเงินที่ใดมาใช้เป็นหลักประกันในการออกรถ เพราะธนาคารจะไม่ปล่อยสินเชื่อให้คนที่ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งหากแท็กซี่สนใจเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมขับกับ Grab เราจะช่วยการันตีพวกเขาให้กู้ยืมได้ง่ายขึ้น
Grab จะดึงบิ๊กดาต้าทั้งหมดที่มีมาช่วยให้ธนาคารสะดวกในการประเมินผู้ขอกู้ยืม และสามารถหักรายได้หลังขับแบบรายวันได้ด้วย เพื่อลดภาระของผู้ร่วมขับที่ไม่ต้องกังวลการจ่ายแต่ละงวด บริษัทจะหักค่าใช้จ่ายให้เสร็จก่อนโอนเงินรายได้ให้ผู้ร่วมขับ ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับการหักค่าใช้จ่ายของบริษัทในกรณีที่ต้องการผ่อนสินค้าใดๆ
ทั้งนี้ ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายจะเน้นความครอบคลุมด้านการพัฒนาแอปพลิเคชันการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน และบริการทางการเงินต่างๆ ร่วมกัน ประกอบด้วย
- แกร็บเพย์ บาย เคแบงก์ (GrabPay by KBank) เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนสมาร์ทโฟน (Mobile Wallet) ที่จะทำให้ลูกค้า Grab ชำระเงินค่าเดินทางและค่าบริการรับส่งของ ตลอดจนสามารถโอนเงินให้กับเพื่อนหรือครอบครัวใช้สำหรับซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ รวมทั้งใช้จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ดในร้านอาหารหรือร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งบริการนี้อาจต้องรอการอนุญาตจากทางแบงค์ชาติก่อน
- การพัฒนาให้แอปพลิเคชัน Kplus และ Grab ให้ใช้งานร่วมกันได้ คือ ลูกค้า Kbank สามารถเรียก Grab ผ่าน Kplus ได้ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าใช้บริการได้ง่ายและราบรื่น ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นบริการนี้ในปีหน้า เพราะตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา
- นำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าที่อยู่ในวงจรการให้บริการของธนาคารกสิกรไทยและ Grab โดยทั้งสองร่วมกันนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าของตนเอง เช่น การเสนอสินเชื่อกสิกรไทยให้ผู้ขับรถ Grab สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น การนำเสนอบริการ “แกร็บ ฟอร์ บิสซิเนส” (Grab for Business) ให้กับลูกค้า SME ของธนาคารกสิกรไทย เพื่อช่วยบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการเดินทางของบริษัท ตลอดจนการสื่อสารสร้างการรับรู้แบรนด์และเข้าถึงลูกค้าผ่านบริการโฆษณาของ Grab
ทางด้านเม็ดเงินที่ได้รับในครั้งนี้ ไม่ได้เจาะจงเฉพาะการปรับปรุงหรือเพิ่มสิทธิพิเศษในไทย แต่เม็ดเงินก้อนนี้จะรวมไปกับเงินลงทุนใหญ่ที่สิงคโปร์ก่อน จากนั้นทางสำนักงานใหญ่จะจัดสรรให้แต่ละประเทศนำไปใช้พัฒนาสินค้าและบริการอย่างเหมาะสม ส่วนสิทธิประโยชน์ที่ Kbank ได้จาก Grab ในครั้งนี้ นอกจากการเป็นพาร์ทเนอร์ด้านการเงินแล้ว ยังมีโอกาสขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศผ่าน Grab ด้วย
นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจในระดับภูมิภาคของธนาคารกสิกรไทย คือ มุ่งขยายธุรกิจไปยังตลาดกลุ่มประเทศอาเซียน +3 ซึ่งเป็นตลาดที่มีโอกาสนำศักยภาพดิจิทัล เทคโนโลยีมาใช้ผ่านช่องทางดิจิทัลและบริการต่างๆ บนสมาร์ทโฟน
โดยธนาคารได้วางกลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในแต่ละธุรกิจ ด้วยคอนเซปต์ “Better Together” ด้วยการผสานจุดแข็งของแต่ละฝ่าย เพื่อร่วมกันนำเสนอบริการที่ดีที่สุดให้กับการใช้ชีวิตของลูกค้าในทุกๆ วัน
“ความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและ Grab ทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ในการร่วมกันพัฒนานวัตกรรมให้กับอุตสาหกรรมและภูมิภาคที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ธนาคารยินดีที่ได้ร่วมทำงานกับแกร็บในการปรับเปลี่ยนประสบการณ์ของลูกค้าทั้งวงจรของการให้บริการไปสู่ “ดิจิทัล ไลฟ์สไตล์ อีโคซิสเต็ม” (Digital Lifestyle Ecosystem) เต็มรูปแบบ”
ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายในการเป็นดิจิทัล แบงกิ้งที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค ซึ่งการร่วมกันพัฒนากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนสมาร์ทโฟนและการลงทุนใน Grab จะทำให้ธนาคารสามารถนำศักยภาพของ Grab มาทำให้เกิดประโยชน์กับร้านค้าและลูกค้าของธนาคารที่อยู่ในประเทศไทย
โดยการลงทุนของธนาคารผ่านบริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (Beacon VC)ในครั้งนี้ ถือเป็นการร่วมทุนครั้งแรกกับบริษัทต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจหลักอยู่นอกประเทศไทย ซึ่งมีความสำคัญอยู่ที่ฐานจำนวนผู้ใช้ทั่วอาเซียนของ Grab ที่มีโอกาสเติบโตเทียบเท่ากับสถาบันการเงินชั้นนำ
ธนาคารจะร่วมกันกับแกร็บในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่จะส่งเสริมศักยภาพของธนาคารให้ก้าวไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้
อัพเดทการเติบโตของ Grab
แน่นอนว่าในหลายเดือนที่ผ่านมาปัญหาความขัดแย้งระหว่าง Grab กับผู้ให้บริการรถสาธารณะทั้งในกรุงเทพและเชียงใหม่ ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ธรินทร์ ยอมรับว่า ตัวเขาพยายามแก้ปัญหาในจุดนี้อยู่และยืนยันว่าพยายามที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายความร่วมมือท่ีเกิดขึ้นนั้น บ่งบอกให้เห็นว่า Grab จะไม่ทอดทิ้งพาร์ทเนอร์ผู้ร่วมขับแน่นอน เพราะเขามีแผนขยายธุรกิจอีกหลายด้าน เพื่อให้ Grab กลายเป็น Super App อย่างแท้จริง
ตอนนี้จำนวนรถที่ทำงานร่วมกับ Grab นั้น คงไม่สามารถบอกจำนวนได้ แต่มีการให้บริการ 16 จังหวัด 18 เมือง และจากจำนวนแท็กซี่ทั้งประเทศ 9 หมื่นคัน สัดส่วนที่มาทำงานร่วมกันมีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง Grab เองก็ยังพยายามเดินหน้าร่วมมือกับภาครัฐในการผลักดันการเดินทางในเมืองรองให้สะดวกขึ้น
“ความร่วมมือครั้งล่าสุดที่ผ่านมาอย่าง บุรีรัมย์ ในการแข่งโมโตจีพี มีการตอบรับที่ดีมาก จังหวัดต่อไปที่เราจะขยายเข้าไปคือ พัทลุง เนื่องจากเมืองรองมีปริมาณรถโดยสารสาธารณะน้อย และการเดินทางก็ยังไม่สะดวกเท่าที่ควร เราพยายามผลักดันบริการของเราอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนไทยมีรายได้เสริมและลดการเกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนด้วย”
แม้ว่าช่วงไฮซีซั่นแบบนี้ ปริมาณนักท่องเที่ยวจีนจะลดลง แต่ก็ต้องยอมรับว่าชาวต่างชาติในประเทศอื่นๆ กลับมีตัวเลขการเข้ามาที่สูงขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่าความต้องการมาเที่ยวเมืองไทยยังมี และการใช้งาน Grab ก็เป็นการเดินทางที่ชาวต่างชาติเหล่านี้ยอมรับ เพราะบริการของเรามีใช้งานกันหลายประเทศจึงเป็นที่คุ้นเคย
ไม่ใช่ฝรั่งทุกคนจะพูดภาษาไทย สื่อสารและต่อรองค่ารถในการเดินทางได้ พวกเขาต้องการการเดินทางท่ีสะดวกและลดช่องว่างในการสื่อสาร Grab จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งที่พวกเขายอมรับและใช้งานกันทุกครั้งที่เดินทางมาประเทศไทย
ซึ่ง Grab ยังยืนยันว่าจะเดินหน้าในธุรกิจ Ride Sharing ให้เกิดในไทยต่อไป