ดังนั้น การพัฒนา “เกด” ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการเงินแห่งอนาคต ที่เกิดจากการผสมผสานประสบการณ์ทางการเงิน ของธนาคารกสิกรไทย และการออกแบบของ KBTG อันประกอบด้วย Machine Intelligence กลไกอัจฉริยะที่ใช้ AI เป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างความฉลาดให้กับบริการต่างๆ ของ K PLUS ให้สามารถเข้าใจและเข้าถึงความต้องการของลูกค้าในทุกด้าน ทุกระดับ ทุกที่ และทุกเวลา ซึ่งความอัจฉริยะนี้จะเปลี่ยน K PLUS ให้เป็น K PLUS Intelligence Platform ที่รวบรวมการให้บริการอันรู้ใจในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกันและทำให้ เกด เป็นคู่หูครบวงจรที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตของลูกค้าได้อย่างแท้จริง
ธนาคารมีฐานผู้ซื้อสินค้าใน KPlus กว่า 8 ล้านราย ทำให้เราต้องนำ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ลูกค้าให้ดีกว่าเดิม เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงให้มากขึ้น ซึ่งการเข้าไปยึดพื้นที่ใจในลูกค้า ไม่ใช่แค่การตอบโจทย์บริการทางการเงินเพียงอย่างเดียว เพราะมันเป็นเรื่อง Basic แต่ต้องสามารถตอบโจทย์ชีวิตเลยด้วย และต้องเป็น Total Solutions เลย ไม่ใช่แค่ Digital Disruption แล้วจะรอด แต่การครองใจลูกค้าได้ คือทางรอด
“การนำข้อมูลต่างๆ มาผ่านระบบวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยแบ่งประเภทของลูกค้าได้จริง เพราะ Machine Learning แม่นยำถึง 300% เลย”
นอกจากนี้ ธนาคารยังตั้งเป้าลูกค้าในอีก 5 ปีต้องแตะ 20 ล้านรายให้ได้ ด้วยการเดินหน้าดิจิทัลเต็มตัวและภายใน 3 ปีต้องเป็นไปได้ ธนาคารลงทุนงบเทคโนโลยี KBTG ปีละ 5,000 ล้านบาท มีทีมงานคอยดูแลกว่า 1,000 คน ซึ่งการพัฒนาระบบ KADE ได้ดีนั้น ต้องมีคนอยู่เบื้องหลังช่วยคิดกลยุทธ์ พัฒนาและนำไปใช้งาน
ส่วนความกังวลว่าจะกระทบกับสาขาหรือไม่นั้น ก็ยอมรับว่าในระยะยาวคงกระทบ แต่ไม่ได้หมายถึงการลดจำนวนสาขาทันที ธนาคารเชื่อว่าการมีจำนวนสาขาที่เหมาะสม คู่ขนานไปกับดิจิทัลจะช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน ซึ่ง KADE จะเปิดใช้งานในช่วงสิ้นปีนี้
การเดินหน้าสู่ดิจิทัลของแต่ละธนาคาร ถือว่าเป็นการปรับตัวที่ดี แต่จะเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งานได้มากแค่ไหน อยู่ที่การทำตลาดของแต่ละรายว่าจะชูจุดเด่นได้ดีอย่างไร