ธุรกิจในประเทศไทยหลายประเภทตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภค ธนาคารและอื่นๆ ต่างนำวิดีโอออนไลน์มาใช้เป็นช่องทางสื่อสารเรื่องราวของตัวเองและสร้างแบรนด์ผ่านการใช้พลังของภาพ เสียงและการเคลื่อนไหว แต่ทั้งสิบแบรนด์มีแนวคิดหรือวิธีการพิชิตใจผู้ชมไทยอย่างไร?
หลังจากที่ Google ประเทศไทยประกาศผลสุดยอดวิดีโอโฆษณาบน YouTube ของครึ่งแรกปี 2559 โดยประกาศอันดับโฆษณาบน YouTube ที่ได้รับความสนใจชมและแชร์จากผู้ชมในประเทศไทยสูงที่สุด 10 อันดับแรก โดยนักการตลาดสามารถเรียนรู้จากความสำเร็จของคลิปวีดีโอเหล่านี้ได้
หัวใจหลักที่แบรนด์เหล่านี้มีเหมือนกัน
คล้ายๆ กับ YouTube เอง โฆษณาบน Leaderboard มีรูปแบบและแนวทางการนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลาย แตกต่างกันออกไป แต่มีสิ่งหนึ่งที่แบรนด์เหล่านี้มีและนำเสนอคือการตอบสนองทางอารมณ์ที่ยิ่งใหญ่: เสียงหัวเราะ หรือร้องไห้ แบรนด์ต่างๆ ณ ที่นี้มีความตั้งใจสร้างให้เกิดการตอบรับจากผู้ชมในวงกว้างก่อนที่จะขายสินค้าหรือบริการในลำดับต่อไป — ซึ่งผลลัพธ์ก็คือการที่ผู้ชมเลือกที่จะดูและรับข้อมูลต่างๆ หลายๆ ครั้ง ในบางกรณีก็นับล้านครั้ง แบรนด์อย่าง BarBQPlaza และธนาคารธนชาติเล่นเรื่องราวที่สร้างเสียงหัวเราะ ในขณะที่ Haier ประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย และห้างสรรพสินค้า Big C ใช้เรื่องราวที่สื่อสารด้านอารมณ์ของบ้าน ครอบครัว และสัตว์เลี้ยง — โดยเฉพาะลิงแสนซนในวิดีโอของ Haier ประเทศไทย
ในปีนี้ซันซิลค์ครองตำแหน่งผู้นำของ Ads Leaderboard ขึ้นมาจากอันดับที่สองของ 2015 Leaderboard — และได้เรียนรู้ถึงแนวทางที่จะตรึงผู้ชมให้นั่งชมโฆษณาด้วยการสร้างเรื่องราวที่สนุกสนานมีสีสันของตัวละครที่กำลังผจญภัยสุดหรรษาในฮาวาย โดยเนื้อหาทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในรูปแบบใหม่ๆ แทนที่จะใช้การบอกสรรพคุณของแชมพูตามรูปแบบการนำเสนอทั่วๆ ไป แน่นอนว่าในบางเวลา บางสถานการณ์การณ์รูปแบบการเสนอสินค้าแบบดังกล่าวก็ยังมีใช้อยู่ แต่ซันซิลค์ใช้วิธีสื่อสารผ่านการเล่าเรื่องแทนที่จะเป็นการขายสินค้าตรงๆ ซึ่งการเล่าเรื่องแบบนี้จะเป็นการสร้างการรับรู้ได้ในทันทีต่อผู้ชมในวงที่กว้างกว่า
ถึงแม้ดิจิทัลจะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงกฎต่างๆ มากมาย แต่ยังมีกฎเดิมๆ อีกหลายอย่างที่ใช้ได้
ซันซิลค์ ธนาคารกรุงไทย BigC และใกล้ชิดใช้คนที่มีชื่อเสียงมาเป็นบุคคลแสดงนำในโฆษณา และกรณีของใกล้ชิด (ซึ่งเป็นแบรนด์ที่เคยติด Top 10 Ads leaderboard เมื่อครั้งที่ใช้นักแสดงคู่เดิมนี้ในปี 2014 ในลักษณะหนังสั้นเช่นเดียวกัน) สามารถตรึงสายตาผู้ชมไว้ได้ด้วยโฆษณาความยาวถึง 16 นาทีครึ่ง นำเสนอในรูปแบบประหนึ่งเรียลลิตี้โชว์เป็นตอนๆ ของดาราสองคนที่กำลังจีบกันอยู่ อย่างไรก็ตามความยาวของวิดีโอแสดงให้เห็นว่าระยะเวลาและเงินไม่ใช่ปัจจัยที่จำกัดการนำเสนอของสื่อดิจิทัลในแบบเดียวกับการนำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าวิดีโอสั้นที่มีเนื้อหาดีๆ จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ Leaderbords ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าวิดีโอไม่ว่าจะสั้นหรือยาวแต่ถ้ามีเนื้อหาที่ดีแล้วก็ประสบความสำเร็จบนแพลทฟอร์มนี้ได้เหมือนกัน
วิธีหนึ่งที่จะทำให้เรื่องราวเป็นที่จดจำคือการใช้ใบหน้าของคนที่มีชื่อเสียงเป็นการเพิ่มแรงดึงดูดให้กับโฆษณาที่ไม่ใช่ของใหม่แต่ให้ผลลัพธ์เป็นความสำเร็จในปี 2016 ดังเช่นที่เคยประสบความสำเร็จมาตลอด
ท้ายที่สุดโฆษณาต่างๆ ทำให้มีการตอบสนองอย่างน่าสนใจจากผู้ชมในรูปแบบของการแสดงความคิดเห็นที่อยู่ด้านล่างโฆษณา ซึ่งแสดงให้เห็นมุมที่มีพลังของ YouTube: ที่เป็นมากกว่าที่ที่ให้ผู้คนมาชมวิดีโอ: มันเป็นชุมชนที่แบรนด์ต่างๆ ที่มีเรื่องราวมากมายมาเล่าสู่กันฟังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง
10 อันดับ YouTube Ads Leaderboard ประจำครึ่งปีแรก 2016
1.พร้อมรับซัมเมอร์.. ด้วยเคล็ดลับผมยาวสวย!!
SunSilk
2.เปิดโปง!! ความลับของน้องลิง
3.ทฤษฎีของความรักที่คุณไม่เคยได้ยิน…
Oppo Thailand
4.โอเลี้ยง…เพื่อนที่จะอยู่กับคุณตลอดไป – KTB Growing Together
KTB
5.ครั้งแรกกับการสารภาพ จากปากหมอเจี๊ยบ ลลนา “เธอไม่ใช่นางงามรักเด็ก”
Big C
6.เรื่องจริงก่อนสอบ
Brands
7.ศาลตัดสินรถคันแรกเอามาแลกเงินได้ รู้ยัง??? สินเชื่อธนชาต รถแลกเงิน
Thanachart Bank
8.“ก็แค่โฆษณา” Bar B Q fulfil
Bar B Q Plaza
9.เชิดชูพระคุณครู Teachers
7-11 Thailand
10.EP.1: Love Songs Love Stories Special by Closeup ‘กล้าใกล้ให้ใจเต้น’
Close Up