Site icon Thumbsup

เปิดใจ “กฤตธี มโนลีหกุล” กับผลตอบรับเกินคาดจาก JOOX และก้าวต่อไปของ Sanook!

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

หากพูดถึงเว็บ Portal ในเมืองไทย Sanook! น่าจะเป็น 1 ในใจที่คนจะนึกถึง ด้วยความหลากหลายในการนำเสนอ content ในรูปแบบต่างๆ และล่าสุดก็สร้างกระแสการฟังเพลงแบบ Streaming ด้วยการเปิดตัว JOOX ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดีมากๆ จากคนฟังในไทย วันนี้ thumbsup มีโอกาสได้ไปพูดคุยกับคุณกฤตธี มโนลีหกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด ถึงทีมงาน, JOOX และก้าวต่อไปของ Sanook!

Sanook! ถือว่าเป็นบริษัทที่อยู่คู่วงการออนไลน์ไทยมานาน อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ Sanook! อยู่มาจนถึงทุกวันนี้

ผมคิดว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราอยู่ได้คือการมี Local DNA เพราะเราเข้าใจใน content ที่ผลิตออกมาให้กับผู้ใช้  80-90 % ของคนไทยต้องเข้ามาหาเราอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือนดังนั้นถือว่ากลุ่มผู้เข้าชมครอบคลุมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเลยเพราะเราโฟกัสเพื่อทุกคนที่เขาต้องการจะอ่านข่าวดารา/ บันเทิง เข้าใจว่าผู้ใช้งานต้องการ content แบบไหนเนื่องจากเราอยู่กับคนไทยมา 17-18 ปี ดังนั้นการเข้าใจนิสัยพฤติกรรมของคนไทยอย่างถ่องแท้จึงทำให้รู้ว่าวิธีการผลิต content แท้แล้วเป็นอย่างไร

JOOX กับ Sanook! มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ทีมที่ทำงานงานใน Sanook! ประกอบไปด้วย

การทำ Localize คือการที่ไปติดต่อกับผู้ให้บริการในท้องถิ่นนั้นคือการที่ทีม UI ทำงานด้วยการเปลี่ยนภาษาและลุยงานกันที่นี่เลย และยังมีทีม Content editor คอยรวบรวมเพลงเพลย์ลิสซึ่งต้องคิดว่าในแต่ละวันจะต้องทำเพลย์ลิสต์แบบไหนและต้องเชื่อมกับทีม Sanook อย่างไรเนื่องจาก JOOX จะอยู่ทั้งบน Sanook! Music และตัวแอปของ JOOX เองสมมติว่ามีกระแสเรื่องฟุตบอลไทยเราก็จะมีเพลย์ลิสต์ที่เกี่ยวข้องกับการเชียร์ฟุตบอลดังนั้นการทำงานของทีม New Product ถึงแม้จะชื่อนี้แต่ก็ต้องทำความเข้าใจความเป็นท้องถิ่นของไทยอีกด้วย

มาเจาะที่ JOOX ได้มีการทำ Consumer Insight อย่างไรที่ทำให้ลูกค้าชื่นชอบในการแยกหมวดแนวเพลงใน JOOX

เราศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้เขาต้องการจะฟังเพลงแบบไหนอย่างลึกซึ้งอย่างในช่วงวาเลนไทน์นอกจากจะมีพวกเพลงรักแล้วอาจจะไม่จบแค่ตรงนั้นเพราะที่เราทำออกมาก็ยังมีเพลงของคนที่ไม่ชอบวาเลนไทน์ด้วย เพราะจริงๆ แล้วก็ยังมีคนอกหักหรือคนที่อยู่คนเดียวในวันนั้นและนี้ก็เป็นความสามารถในการทำงานที่เข้าใจคนในท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง

เปิดตัวในเมืองไทยแล้วค่อนข้างเปรี้ยง ทำได้อย่างไร

จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับตัวผลิตภัณฑ์เป็นหลักเลยว่ามันจะขายตัวเองได้ไหม UI/UX และตัว content ที่เราหยิบยกมานำเสนอเป็นอย่างไร

ก่อนที่เราจะเปิดตัว JOOX ทีมงานได้มีแผนโดยการทำเพลย์ลิสต์ออกมา 200 -300 เพลง คุณจะเจอกับรายชื่อเพลงใหม่ๆ ที่เราอัปเดตอยู่ตลอดเวลา ตอนช่วงที่เปิดตัวเราไม่ได้ทำไรมากแต่ด้วยตัวผลิตภัณฑ์ที่คนชื่นชอบกับการใช้งานและบอกต่อกันปากต่อปาก ผมได้เข้าไปดูใน App Store เรายังคงเป็นผลิตภัณฑ์อันเดียวอยู่ใน top 10 เนื่องจากได้ทำ User Interface และ content เราเป็นอย่างนั้นจริงๆ และตอนนี้เราอยู่ใน Top growing ปกติแล้วจะเป็นเกมซะส่วนมากแสดงให้เห็นว่ามีคนจ่ายเงินซื้อในส่วนของ VIP member กับเราจริงๆ

แผนการสร้างรายได้ของ JOOX เป็นอย่างไรบ้าง

จริงๆ แล้วรูปแบบของเราคือการขายโฆษณา คนในยุคพวกเราถูกปลูกฝังพฤติกรรมในคำว่า Free download กันมาอยู่แล้วสิ่งที่จะบอกกับผู้ใช้งานขอเน้นไปที่เด็กรุ่นใหม่ๆ แล้วกันว่าหากคุณใช้แอป JOOX ก็ไม่จำเป็นต้องไป Search หาเพลงฟรีคุณสามารถฟังได้หมดจากแอปนี้เนื่องจากฟรีแถมยังดาวน์โหลดแบบออฟไลน์ไว้ได้ อันนี้คือสิ่งที่เราจะสอนพฤติกรรมใหม่ให้กับผู้ใช้

แต่ในเวลาเดียวกันจะเสนอบริการแบบนี้ได้ก็ต้องผู้สนับสนุนเพราะสุดท้ายแล้วเงินที่ได้ต้องเอากลับไปแชร์ให้กับค่ายเพลงหรือศิลปิน ดังนั้นตอนนี้แบรนด์ก็จะเริ่มเห็นบ้างอย่าง Vaseline Men, Minere’ ที่เข้ามาสนับสนุนโดยจะเป็นรูปแบบของการสปอนเซอร์เพลย์ลิสต์ และอีกหน่อยจะมีรูปแบบโฆษณาที่เป็นรูปแบบ Audio เข้ามา และอาจมีการลองปล่อยโฆษณาตัวอื่นๆ แล้วมาดูว่าอันไหนดีที่สุด

ในส่วนของประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ฮ่องกง แอป JOOX ถือว่าฮิตหมดในทุกๆ สำหรับประเทศเราจึงต้องคิดในเรื่องของการสร้างรายได้ว่าจะมีที่มาอย่างไรเพิ่มเติม โดยตอนนี้รายได้มาจาก 2 ทางคือ Advertising กับ VIP จะมี 20% ของเพลงเราที่ไม่สามารถเปิดเป็น Freemium ได้ส่วนมากสัดส่วนจะเป็นเพลงต่างประเทศ เป็นของค่าย Universal music เนื่องจากเป็นนโยบายของเขาที่ไม่สามารถเปิดให้ใช้งานได้

ตอนนี้สัดส่วนของคนที่จ่ายเงินและใช้ฟรีบน JOOX เป็นอย่างไร

95% ยังเป็นฟรีอยู่ ตอนนี้ก็มีคนไทยเริ่มจ่ายเงินมากกว่าต่างประเทศแล้ว และในอนาคตอาจมีการจ่ายที่ 7-Eleven ได้

แผนหลังจากจากนี้ในปี 2 ปี ที่ Sanook! จะก้าวไปในทิศทางไหนบ้าง

ตอนนี้เรากลายมาเป็น “Mobile First” มีการเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรจากเดิมทีม Portal กลายมาเป็นทีม content และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทีมโมบายแยกกลายเป็นทีมผลิตภัณฑ์และทีมแพลตฟอร์ม ดังนั้น 2 ปี ที่ผ่านมาทำให้โฟกัสไปในเรื่องของ Mobile Platform

ส่วนปีนี้และปีต่อๆ ไปจะคิดในเรื่องของ “App First” ว่าทำอย่างไรให้คนมาดาวน์โหลดแอปซึ่งมองว่าสิ่งต่างๆ ในปัจจุบันนี้ได้มาอยู่บนมือถือกันหมดแล้ว และมี 5 พฤติกรรมที่คนเข้ามาใช้มือถือคือ อ่านอีเมล เล่นเกมส์ ซื้อของ ดู YouTube ฟังเพลง และสุดท้ายคือการแชต ซึ่งพฤติกรรมของผู้ใช้ เราอยากแน่ใจว่าจะมีผลิตภัณฑ์จาก Sanook! เข้าไปและมั่นใจว่าผู้ใช้งานเข้าดูเว็บของเราจริงๆ รูปแบบก็จะต่างจากเมื่อก่อนคือ จะเป็น Sanook! ใหญ่ และคนเข้ามาดู content แต่สมัยนี้พฤติกรรมดังกล่าวเปลี่ยนไปทุกคนใช้แอปหมด เราจึงมีแอปที่สามารถส่งตรงกับการใช้งานได้อย่างลงตัว เรื่อง content เป็นเรื่องที่โฟกัสมากที่สุดเนื่องจากคลุกคลีมากับวงการนี้อย่างยาวนาน

คงไม่เข้าไปยุ่งเรื่องอีเมลเนื่องจากมี Google, Yahoo! เรื่องแชทก็ปล่อย WeChat ออกไปแต่ LINE ก็ยังฮิตกว่าในไทย ส่วนของ  iPick รีวิวร้านอาหาร ต่อไปจะได้เห็นเรื่องต่างๆ ในไลฟ์สไตล์ของคนไทยที่ใครๆ ก็ใช้ได้ ส่วนนี้จะเข้าถึงคนได้มากที่สุด เนื่องจากตอนนี้คนที่เข้าดู Sanook! คนกรุง 50 % ต่างจังหวัด 50%

สำหรับ WeChat ยังรักษาแต่เรายังไม่ได้โปรโมต เราดูการใช้งานคนที่ยังเข้ามาใช้ทุกวัน (Daily Active) ก็ยังคนมีตลาดที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ เนื่องจากต้องคุยกับคนที่จีนคนต่างประเทศก็ยังคงต้องใช้ WeChat เพราะ Mobile platform เป็นสิ่งที่สำคัญในปีนี้เราเน้น JOOX และ iPick เป็นกลุ่มเฉพาะ (Niche) ให้คนที่อยากทราบจริงๆ