ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทราบว่าคนเจนวายตั้งแต่อายุ 24-40 ปีนั้น เป็นกลุ่มเสี่ยงมีหนี้เร็ว ใช้จ่ายเกินตัว และยังไม่รู้จักเรื่องการเก็บเงินที่ดีนัก ยิ่งสถานการณ์วิกฤตทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนเปลี่ยนไป พฤติกรรมการใช้จ่ายก็เป็นสังคมไร้เงินสดมากขึ้นและนั่นส่งผลให้เป็นหนี้แบบไม่มีกำลังจ่ายจนกลายเป็นภาระหนี้ครัวเรือนสูง แต่อัตราการออมเงินต่ำ
นอกจากนี้ ประชากรไทยอายุ 30 ปีมีสัดส่วนการเป็นหนี้ถึง 50% ซึ่ง 1 ใน 5 ของคนกลุ่มอายุ 29 ปีขึ้นไปเป็นหนี้เสีย จากภาพรวมบัญชีเงินฝากทั้งหมด 102 ล้านบัญชี ยอดรวมเงินกว่า 15 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ ยอดเฉลี่ยเงินฝากที่มีน้อยกว่า 5,000 บาทต่อบัญชีนั้น มีสัดส่วนสูงถึง 86.6% กลุ่มคนที่มีบัญชีเงินฝากต่ำกว่า 50,000 บาท อยู่ที่ 88 ล้านบัญชี ส่วนคนที่มีเงินมากกว่า 10 ล้านบาท มีจำนวนอยู่ที่ 1.4 แสนบัญชี มีเพียง 0.1%
เหตุผลที่คนส่วนใหญ่มีเงินออมน้อย เป็นเพราะความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ต่อเดือนต่ำ ทำให้การมองถึงความสำคัญในการออมเงินก็น้อยไปด้วย สิ่งที่ธนาคารกรุงศรีเร่งทำการสื่อสารคือ สร้างความรู้ความเข้าใจทางการเงินเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทำให้การออมเป็นเรื่องสนุกและบริหารการใช้จ่ายของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
คุณพงษ์อนันต์ ธณัติไตร ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจลูกค้ารายย่อยและเครือข่ายการขาย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า Kept คือ นวัตกรรมบริหารเงินแพลตฟอร์มใหม่ ซึ่งได้รับการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์คนไทยที่มีปัญหาด้านการเก็บออมและการบริหารจัดการเงิน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือให้สามารถออมเงินได้จริงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
อย่างไรก็ตาม หนี้ครัวเรือนในประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 2562 เผยว่า หนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นมาที่ 79.5% ของ GDP มีภาระหนี้สูงและนาน นอกจากนี้ยังมีอัตราการออมที่อยู่ในระดับต่ำ
การส่งเสริมการมีเงินออมจะเข้ามาช่วยลดโอกาสหรือตัดวงจรการเป็นหนี้ และสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้กับคนไทย
โดย Kept พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีเป้าหมายด้านการออมเงิน แต่พบว่าการออมเงินเป็นเรื่องยากและไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ รวมทั้งจะเข้ามาช่วยสร้างวินัยในการออม ทำให้ไปถึงเป้าหมายการออมเงินได้สำเร็จอย่างมีความสุขตามไลฟ์สไตล์ของตนเอง
ภายใต้แนวคิด small change for BIG FUTURE #ปรับนิดชีวิตเปลี่ยน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ เพื่อความฝันที่ยิ่งใหญ่ ด้วยมหัศจรรย์ของการออมเงินทุกวัน มาพร้อมฟีเจอร์ชาญฉลาดออมเงินอัตโนมัติ ให้การออมเงินเป็นเรื่องง่ายและสนุก ผ่าน 3 บัญชี Kept, Grow และ Fun
ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าว่าภายใน 12 เดือนจะมีลูกค้าดาวน์โหลดแอปไปใช้งาน 2 แสนราย เฉลี่ยมีเงินฝากอยู่ที่ 4,000-5,000 บาท/บัญชี
อย่างไรก็ตามเงินออมขั้นต่ำในบัญชีนั้น ถ้าเงินที่อยู่ในกระปุกของเดือนนั้นๆ มียอดน้อยกว่า 5,000 บาท ก็ยังได้รับสิทธิ์ดอกเบี้ยเงินฝาก 1.6% เพียงแต่เงินสะสมที่ตั้งไว้ให้ตัดยอดบัญชีต้องมีเงินไม่น้อยกว่า 5,000 บาท
ฟีเจอร์ที่ช่วยให้ออมเงินง่ายขึ้น
ทางด้านฟีเจอร์ของบริการออมเงินนั้น จะแบ่งเป็น 3 หน้าที่หลักคือ
บัญชี Kept – เปรียบเสมือนกระเป๋าสตางค์แยกเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
สามารถโอนเงินเข้ากระเป๋า Kept และทำการตั้งยอดเงินที่อยากจะเก็บไว้ใช้จ่าย พอสิ้นวัน ระบบจะช่วยโอนเงินส่วนที่เหลือไปเก็บไว้ให้เป็นก้อนที่บัญชี Grow ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า แต่ถ้าเมื่อไรที่อยากใช้เงินมากกว่าเงินที่มีในกระเป๋า Kept ก็ไม่ต้องกังวล เพราะระบบจะช่วยหยิบเงินส่วนที่ขาดมาจากกระปุก Grow มาให้ใช้ได้อัตโนมัติเช่นกัน ลูกค้าสามารถโอน เงินเข้า-ออกบัญชี Kept ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
บัญชี Grow – เปรียบเสมือนกระปุกเงินเพื่อเก็บเงินก้อน
กระปุกเงินเพื่อเก็บเงินก้อนที่ให้ดอกเบี้ยที่สูงในปีแรก และสูงกว่าในปีที่ 2 คิดดอกเบี้ยทุกวัน จ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 28 ของเดือน ซึ่งในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.6% และ 1.8% ตามลำดับ โดยเงินจะถูกนำมาใส่ในกระปุกนี้ให้อัตโนมัติทุกสิ้นวัน เมื่อเงินในกระเป๋า Kept มีมากกว่ายอดเงินที่ตั้งไว้ว่าจะใช้จ่าย (โดยมีขั้นต่ำ 5,000 บาท ต่อรายการ)
บัญชี Fun – เปรียบเสมือนกระปุกเงินสำหรับการเก็บเล็กผสมน้อยที่สามารถทำได้ทุกวัน
มาพร้อม 2 ฟีเจอร์เด็ดที่ทำให้การออมเงินเป็นเรื่องสนุก
- ฟีเจอร์แรกเหมาะกับขาช้อปที่เก็บเงินไม่ค่อยได้ คือฟีเจอร์แอบเก็บที่ช่วยเก็บเงินให้ทุกครั้งที่โอนออกหรือสแกนจ่ายด้วย QR code สามารถเลือกแอบเก็บได้หลายวิธี
- ฟีเจอร์สั่งเก็บให้เก็บเงินเมื่อไรและจำนวนเท่าใดก็ได้ ช่วยให้มีเงินออมสม่ำเสมอโดยไม่ต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เมื่อต้องการใช้เงินในกระปุกนี้ก็สามารถโอนเข้ากระเป๋า Kept ได้
วิธีเริ่มต้นการออมเงินเพื่ออนาคตทำได้ไม่ยาก เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ‘Kept’ ทั้งระบบ iOS และ Android โดยสามารถเปิดบัญชีผ่านระบบยื