การชิงรางวัลหรือชิงโชคในทุกวันนี้ จะต้องอาศัยการส่งชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ผ่านตู้ไปรษณีย์ แล้วรอลุ้นผลจากการจับรางวัลใหญ่ๆ หรืออาจเป็นการส่งข้อความ SMS แต่โลกทุกวันนี้ที่คนส่วนใหญ่อยู่บนโลกออนไลน์กันเสียเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย เลยทำให้มีแบรนด์หนึ่งกล้าที่จะลุยตลาดด้วยพลังแห่งมวลชน?Crowd sourcing?ด้วยการใช้เครื่องมือนี้แทน เขาคิดจะทำอะไร มาลองอ่านกันดูครับ
Lay’s บริษัทผลิตขนมขบเคี้ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังจะเริ่มทำแคมเปญชิงรางวัลที่ชื่อว่า “Do Us a Flavor” หรือ “ทำรสชาติเจ๋ง ๆ ให้เราหน่อยซิ” ในสหรัฐฯ ด้วยการเปิดให้ผู้บริโภคหรือคนทั่วไปได้เสนอชื่อรสชาติของมันฝรั่งรสชาติใหม่ ๆ ที่คิดว่าเจ๋งและโดนใจคนทั่วไป แล้วทำการลงคะแนนให้กับผู้ที่ได้เข้ารอบสุดท้าย โดยรางวัลที่จะให้กับเจ้าของความคิดนั่นคือเงินสด 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือส่วนแบ่งของยอดขาย 1% ตลอดปี 2013 ซึ่งผู้ชนะจะเป็นผู้เลือกว่าจะรับรางวัลใดรางวัลหนึ่งเท่านั้น
thumbsuper ที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้อาจจะมองว่า มันก็เหมือนกับแคมเปญที่มีในไทยไม่ใช่เหรอ? คำตอบคือใช่ครับ แต่อันที่จริงแล้วแคมเปญการแข่งขันนี้มีมาหลายปี และเกิดขึ้นในหลายประเทศแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสเปน, โปแลนด์, สหราชอาณาจักร, อียิปต์, ออสเตรเลีย และรวมถึงประเทศไทยด้วย?โดยทุกประเทศจะใช้วิธีการคัดเลือกจากผู้ส่งรสชาติทั้งหมดเหมือนกัน โดยบริษัท Lay’s จะเป็นผู้เลือกรสชาติที่ถูกใจ 3 อันดับ จากนั้นจะผลิตออกมาวางขายจริง และเปิดให้ลงคะแนนโดยการลงข้อความ SMS หรือลงคะแนนผ่านหน้าเว็บไซต์ เมื่อหมดเขตการรับแล้วจึงประกาศผล
ยี่ห้อของ Lay’s ในแต่ละประเทศจะมีชื่อที่เรียกต่างกันไป -?Walkers ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์, Chipsy ในอียิปต์, Poca ในเวียดนาม, Tapuchips ในอิสราเอล, Sabritas ในเม็กซิโก
แต่สำหรับครั้งนี้ Lay’s ในสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนช่องทางการลงคะแนนในแบบเดิม ๆ มาเป็นการใช้เครื่องมือที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกอย่าง Facebook ในการหาผู้ชนะแทน โดยถือว่าครั้งนี้ Lay’เป็นการทำโปรโมชันครั้งใหญ่สุดตั้งแต่มีการก่อตั้งมา 75 ปี และ?Ram Krichnan?ประธานด้านการตลาดของ Frito-Lay ได้ออกมาให้ความเห็นในการเลือก Facebook?มาช่วยตัดสินว่า “เขาคาดหวังอย่างมากว่าแคมเปญครั้งนี้จะเป็นการพาเรา (Frito Lay) เข้าไปสู่รสชาติที่แปลกใหม่อีกครั้งหนึ่ง”
จุดที่น่าสนใจสำหรับการลงคะแนนบน Facebook?ในรอบ 3 รสชาติสุดท้าย นั่นคือทาง Lay’s ได้ร่วมมือกับ Facebook?ในการเปลี่ยนคำพูดบนปุ่ม “Like” ให้กลายเป็นคำว่า?“I’d Eat That” หรือ “ฉันอยากกิน”?แทน เพื่อให้เข้ากับแคมเปญการลงคะแนน
นอกจากนั้นยังคำแนะนำจากที่ปรึกษาด้านแบรนด์?Peter Madden ได้พูดถึงการเคลื่อนไหวของ Lay’s ในครั้งนี้ว่า Lay’s นั้นกล้าที่จะลุยเดินนำหน้าคู่แข่งที่มีอยู่หลายหลายแบรนด์ด้วยการใช้โซเชียลมีเดียกับ crowd sourcing?เพราะนอกจากว่าจะได้รสชาติของมันฝรั่งใหม่ ๆ แล้ว การรับฟังความเห็นหรือความคิดจากคนบนโลกออนไลน์อาจส่งผลในการต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นขนาดของแผ่น, รูปร่างและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมันจะโดนใจกลุ่มคนจำนวนมากอย่างแน่นอน
ปัจจุบัน?Facebook Page ของ Lay’s มีผู้กด Like ประมาณ 4.2 ล้านคน
เราได้อะไรจากข่าวนี้
crowd sourcing ถือเป็นหัวใจหลักของการที่จะให้โซเชียลมีเดียสามารถขับเคลื่อนไปได้ และในปัจจุบันพลังแห่งมวลชนบนโลกออนไลน์นั้นมีพลังอย่างมากในการขับเคลื่อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้าและบริการ แต่สำหรับข่าวนี้การที่ Lay’s หยิบ Facebook มาใช้กับแคมเปญที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ ก็เพราะจำนวนคนที่ออนไลน์นับวันจะยิ่งโตมากขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งคนมากเท่าไหร่ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ย่อมจะดีต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ผู้ผลิตก็ทำออกมาโดนใจคนส่วนใหญ่ และผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็รอที่จะกิน Win-Win กันไป
ดังนั้นแล้วคุณคงละเลยและหลีกหนีพลังแห่งมวลชนไม่ได้อีกแล้ว แต่ก็อย่าลืมว่ามีด้านบวก ก็ย่อมมีด้านลบ หากคุณทำอะไรกับแบรนด์แย่ๆ ผลที่ได้ก็จะได้ลบแบบมหาศาลจากกลุ่มมวลชนนี้เฉกเช่นกัน…
ที่มา: usatoday.com