นับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 จากสถานการณ์ที่ผู้คนต้องกักตัวอยู่ภายในบ้าน ห้างสรรพสินค้าปิด ร้านค้าไม่สามารถเปิดบริการได้ ส่งผลให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการใช้จ่ายแบบออฟไลน์ไปเป็นออนไลน์มากขึ้น จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ขายในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ทีมงาน Thumbsup ได้รับเกียรติสัมภาษณ์ คุณภารดี สินธวณรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) ที่จะมาเล่าถึงภาพรวมของตลาด E-commerce ในประเทศไทยปี 2020
ภาพรวม E-commerce ปี 2020
ภาพรวมของ E-commerce ปี 2020 เราโตค่อนข้างเร็วมาก จริงๆ ก่อนยุคโควิด ก็โตอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว พอมาเจอกับโควิด-19 ก็ยิ่งทำให้โตมากขึ้นไปอีกอย่างก้าวกระโดดเลยก็ว่าได้ พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เพราะการสั่งซื้อออนไลน์ช่วยหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ สะดวก ปลอดภัย แล้วก็รวดเร็ว
ในมุมของลาซาด้าเอง ก็เห็นได้ชัดว่ายอดคำสั่งซื้อสูงมากขึ้นถึง 100% เลย ส่วนผู้ขายเองเราก็มีการผลักดันให้มีการช่วยเหลือ SMEs ที่ได้ผลกระทบจากการปิดตัวของร้านค้าออฟไลน์ ทำให้มีผู้ประกอบการออฟไลน์ย้ายมาเปิดร้านบนออนไลน์มากขึ้นกว่า 75%
เทรนด์ช้อปปิ้งออนไลน์บนลาซาด้า
เราเห็นได้ชัดจากดาต้าภายในของเรานะคะว่า ยอดใช้ไลฟ์ (LazLive) เพิ่มขึ้นกว่า 52% ผู้ใช้งานเข้ามาใช้เวลาบนแพลตฟอร์มมากขึ้น 30% ส่วนสินค้า 5 อันดับแรกที่ขายดี ก็จะตอบรับกับพฤติกรรมที่ผู้คนต้องอยู่บ้าน เช่น เครื่องเล่น ของเด็กเล่น เพราะเด็กไม่ไปโรงเรียน เครื่องเล่นกีฬา ออกกำลังกาย เพราะว่ายิมปิด เขาอาจจะซื้ออุปกรณ์ไว้สำหรับการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬามาไว้เล่นที่บ้าน แล้วก็เครื่องครัวเพราะว่าหันมาทำกับข้าวที่บ้านมากขึ้น ก็จะเป็นพวกสินค้าที่ขายดี ซึ่งก็ตอบรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนตาม New Normal ค่ะ
แพลตฟอร์มมอง Social Commerce อย่างไร
ลาซาด้าเปิดให้บริการอยู่ 6 ประเทศ ประเทศไทยนับว่าเป็นอันดับต้นๆ ในเรื่องของการใช้งานโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้ภาพรวมของตลาด E-commerce ช่วยเกื้อหนุนกันในการที่จะ Educate ตลาด กระตุ้นผู้บริโภคให้เข้าใจและตอบรับกับการซื้อของบนออนไลน์
แต่ข้อดีอย่างหนึ่งที่ทางแพลตฟอร์มมีให้แน่นอนคือ ความสะดวกสบายในเรื่องของ Seamless Experience หมายความว่าคุณไม่ต้องโอนเงิน ใส่บัตรเครดิตทุกครั้ง แต่สามารถที่จะมีข้อมูลที่อยู่บนแพลตฟอร์มอยู่แล้ว แล้วคุณสามารถที่จะได้ประโยชน์เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ voucher เก็บคะแนน เก็บ Coin เป็น Royalty ที่ทางแพลตฟอร์มมอบให้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ช้อปออนไลน์บ่อยๆ น่าจะได้ประโยชน์และสะดวกสบายมากขึ้น
จุดแข็งของ Lazada
ลาซาด้าเป็นบริษัทที่ Very Data-driven เราเริ่มทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น กลยุทธ์ในการวางแผนธุรกิจ เราเริ่มที่ Data ตลอด ข้อมูลของผู้ซื้อหรือแม้กระทั่งผู้ขายเองก็มีเก็บไว้ เพื่อที่จะให้ผู้ขายเองได้รับประโยชน์ แล้วก็สามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้มากที่สุด
ส่วนผู้ซื้อเอง เราเรียกว่า Personalization เพราะว่าเรามี Purchase behavior ที่ไม่เหมือนกัน มีสินค้าที่สนใจไม่เหมือนกัน ท้ายที่สุดประโยชน์อยู่กับใคร ประโยชน์อยู่ที่ผู้บริโภคคะ เพราะว่าการได้รับข้อมูลข่าวสารที่ Relevant กับตัวเรามากที่สุด จะแม่นยำมากกว่า ประหยัดเวลามากกว่า แล้วก็สะดวกสบายมากขึ้นด้วย