ในช่วงที่ผ่านมาซีรีส์สุดร้อนแรงที่พูดถึงหนึ่งเรื่องคงหนีไม่พ้น “เด็กใหม่” ซีรีส์ที่หยิบเอาเรื่องราวจริงเกี่ยวกับผู้หญิงในสังคมมานำเสนอ
แล้วสร้างอิมแพคกับคนดูในทุกตอน โดยเอเจนซีที่อยู่เบื้องหลังนั้นคือ Sour Bangkok ที่บอกได้เลยว่าเข้าใจผู้หญิงจริงๆ
ภายใต้การนำของ เล็ก ดมิสาฐ์ องค์ศิริวัฒนา Co-Founder และ Executive Creative Director สาว ที่จะมาเล่าเรื่องราวการเปิดเอเจนซี่ที่ทำงานเกี่ยวกับเเคมเปญผู้หญิงทั้งหลายให้เราฟัง
What is Sour Bangkok Agency ?
ตามชื่อเลยก็คือ “เปรี้ยว” เราโชคดีที่ลูกค้าทุกคนน่ารักแล้วก็เป็นคนเปิดกว้างมากๆ เขามองหาไอเดียสดใหม่ๆ ทำให้เป็นเอเจนซี่ที่ทำงานหลากหลาย แล้วงานจะมีสีสัน ความซน
ทำไมเลือกจับงานเกี่ยวกับผู้หญิง
ช่วงปีหลังหลังโชคดีที่มีโอกาสได้ทำลูกค้าผู้หญิง แล้วพบว่าเมืองไทยมีครีเอทีฟที่เป็นผู้หญิงค่อนข้างน้อย ซึ่งพอไปทำลูกค้ารู้สึกว่าเรามีวิธีคิดหรือ Insight ที่แตกต่างจากครีเอทีฟผู้ชาย
จนลูกค้าประเภทนี้ก็เยอะขึ้นเรื่อยๆ เราเลยว่าจะออกมาเปิดเอเจนซี่ที่โฟกัสเรื่องผู้หญิงเลยดีกว่าเลยจนมาเปิด Sour
อิทธิพลของผู้หญิงในธุรกิจ
ตอนที่จะออกมาเปิดทำรีเสิร์ชแล้วพบว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่ในออนไลน์นั้นเป็นผู้หญิงกว่า 70%
และพฤติกรรมการบริโภคของผู้หญิงนั้นจะเป็นคนที่ตัดสินใจสำหรับครอบครัวด้วยอย่างผู้หญิงเวลาชอบก็จะเผื่อลูก เผื่อแฟน เผื่อสามี เผื่อพ่อเผื่อแม่ ทำให้เป็นกำลังซื้อหลัก
ที่สำคัญเวลาที่ต้องตัดสินใจอะไรที่เป็นของชิ้นใหญ่อย่างบ้าน รถยนต์ ที่ผู้ชายเหมือนจะเป็นคนซื้อแต่ผู้หญิงเป็นคนตัดสินใจอยู่เบื้องหลังต้องได้รับการอนุมัติ
นอกจากนั้นผู้บริหารส่วนใหญ่ในบริษัทส่วนใหญ่เดี๋ยวนี้เป็นผู้หญิงก้าวขึ้นมาบริหารเพราะฉะนั้นการตัดสินใจเชิงนโยบายก็จะคิดถึงพนักงานผู้หญิงมากขึ้น
เช่น ลองคิดดูว่าถ้าเจ้าของบริษัทเป็นผู้หญิงแล้วเค้าต้องทำประกันให้พนักงาน เขาก็จะเริ่มรู้ว่าการซื้อประกันของผู้หญิงจะมีโรคผู้หญิงที่ผู้ชายไม่มี ก็เลยคิดว่ามันเป็นออฟฟิศยูนิตี้ที่ใหญ่มาก เหมือนเหมือนพอเราเป็นผู้หญิงแล้วทำงานผู้หญิงจะมีความละเอียด
เรื่องท้าท้ายของการทำเอเจนซี่ผู้หญิง
ความท้าทายที่สำคัญที่สุดคือบางลูกค้าคนที่อนุมัติงานยังเป็นผู้ชายอยู่ (หัวเราะ) เค้าก็เลยคิดว่าเออผู้หญิงคิดแบบนี้จริงๆหรอ
แต่หลักๆ ความท้าทายส่วนใหญ่อยู่ที่ตัวเราเองเพราะเป็นคนที่พอทำงานแล้วคาดหวังกับงานทุกชิ้นออกมาอย่างดีที่สุดทำให้ความท้าทายส่วนใหญ่คือความคาดหวังของตัวเองต่อให้ลูกค้าเป็นผู้ชายแต่พอเค้ามากเค้ารู้ว่าเค้าจะได้อะไรทำให้งานส่วนใหญ่ขายไม่ยากรอบเดียวก็ผ่าน เลยคิดว่าเป็นเพราะความคาดหวังของตัวเองมากกว่า
สไตล์การบริหารงานแบบเรา
ตอนที่อยู่บริษัทใหญ่แล้วเราต้องไปประชุมในที่ที่มีผู้ชายส่วนใหญ่ในที่มันจะมีผลค่อนข้างมากในการซื้องาน อย่างงานประเภทที่เป็นงานที่เข้าใจ Insight ผู้หญิงมากๆแล้วผู้ชายจะไม่ค่อยเก็ต เขาก็จะเลือกงานในแง่ของ Global ก็จะโฟกัสไปในทางที่ไม่ได้ผู้หญิงมากมาย
ส่วนเวลาเปิดเอเจนซี่มีผู้บริหารที่เป็นผู้หญิงก็มีผลค่อนข้างเยอะ อย่าง partner เราเป็นผู้หญิงเค้าก็จะเป็นคนละเอียด เวลาไปคอมเมนต์ไปอะไรก็จะมีศิลปะของการโน้มน้าวอยู่เจราจาที่มันพิเศษก็ไม่ได้รู้สึกเป็นอุปสรรคอะไร
แต่เหมือนเป็นข้อดีของเรามากกว่า เพราะยิ่งเวลาเจอผู้ใหญ่ความเป็นผู้หญิงของเรามันก็จะดูนอบน้อมน่ารักน่าเอ็นดู
ภาพจาก : เด็กใหม่
ซีรีส์ “เด็กใหม่” ฉีกกรอบแคมเปญเดิม
ล่าสุดที่น่าจะ Impact ที่สุดก็น่าจะเป็นซีรส์เรื่อง “เด็กใหม่” โดยส่วนตัวชอบเพราะมันเป็นการใช้ความรู้ที่นอกเหนือจากวงการโฆษณาแล้วมันเป็นการสร้าง Business Model ใหม่ ที่ไม่ใช่การที่ลูกค้ามาถึงเจอโจทย์ Marketing แล้วเราก็มาแก้โจทย์
แต่อันนี้วิธีการมันจะคิดใหม่หมดเลย และวิธีการมันใหม่มากคือ พี่เจ๋อ ภาวิต ที่เป็น CEO ของแกรมมี่ ที่มาด้วยโจทย์ที่อยากทำ product ของบริษัทเอ็นเตอร์เทนเม้นท์
เหมือนเค้าชวนเรามาช่วยมาช่วยสร้าง product ซึ่งก็คือซีรี่ย์ละครนี่แหละค่ะ และมันใหม่มากเพราะวิธีการคิดมันไม่มีโจทย์เหมือนเวลาเราขายสินค้า
ภาพจาก : เด็กใหม่
เพราะคนที่ตัดสินใจเสร็จแบบตรงๆ เลยก็คือคนดูไม่ใช่ลูกค้า แล้วพี่เจ๋อเองข้อดีคือเป็นคนค่อนข้างเปิดกว้างมาก เพราะเขาจะไม่ยุ่งเกี่ยวหรือไม่คอมเม้นต์งานครีเอทีฟเลย แต่แกจะดูในแง่ภาพรวมมากกว่าว่าตอบคือเราต้องทำงานหนักจริงๆ
เพราะคนดูดูแล้วต้องมีฟีดแบ็คมา ต้องดูว่าเขามีความรู้สึกกับเนื้อหาเป็นอย่างไร มันเลยใหญ่มากเป็นการทำงานกับ product และโปรเจ็คทำร่วมกับคน 60,000,000 คนเลย ซึ่ง Grammy กับ Sour ก็จะเป็น partner กัน เพราะเราจะคิดโครงสร้างไปด้วยกันและเราเป็นเจ้าของร่วมกัน
สุดท้ายนี้ product นี้มันไม่ได้จบแค่คนไทย อย่างตัวซีรีส์เองได้ถูกข้างบนจบไปใน Netflix ขายทั่วโลกเป็นกระแสเยอะมากสื่อต่างๆแม้กระทั่ง New York Time ยังแชร์ ทำให้รู้สึกว่าคุ้มค่าเพราะเหนื่อยมาก
ความรักของทุกคนคือ “Key Sucess”
“วิธีคิด” น่าจะเป็นตัวที่ทำให้มันประสบความสำเร็จ เพราะแม้จะคิดจากตั้งต้นที่ว่าอยากทำซีรี่ส์ที่สำหรับผู้หญิงก็จริง แต่ผู้หญิงดูแล้วผู้หญิงต้องรัก ในขณะเดียวกันเพศตรงข้ามก็ต้องรักด้วยเหมือนกัน
อีกส่วนหนึ่งคือเรากล้าพูดในมุมที่ไม่มีคนพูด คือ เราเคยอยู่โรงเรียนหญิงล้วนมาก่อนเรารู้ว่าความดาร์กเป็นยังไงบางคนอาจจะบอกว่ารั้วโรงเรียนชายความดาร์ก แต่ความจริงแล้วโรงเรียนหญิงล้วนก็ดาร์กนะ แต่คนข้างนอกไม่รู้มันมีเรื่องราวมากมาย
อย่างเรื่องของเด็กกับครูพละในโรงเรียนมันก็มีเรื่องราวมากมาย หรือแม้กระทั่งข่าวในสังคมเอง ที่เราพยายามสร้างจากเรื่องจริงเขาในสังคมนี้มันมีเรื่องเกิดขึ้นในทุกวัน แต่ทุกคนมันเก็บไว้ใต้พรมไม่มีใครกล้าพูด
**คุณเล็กบอกเราว่าคัดจากการดู 30-40 เทปออดิชั่น จนมาลงตัวที่คิตตี้ชิชชา ซึ่งทำได้ดีมากๆ ในฉากออดิชั่นที่เป็นฉากข่มขื่นแล้วต้องหัวเราะไปด้วย เธอก็ทำได้ดีจนทีมงานขนลุก
อีกหนึ่งแคมเปญที่ภูมิใจ
น่าจะเป็นแคมเปญของ ททท. ที่ทำงานร่วมกับอีกเอเจนซี่หนึ่งคือ Bangkok Writer โดยที่ลูกค้าเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
โดย Strategy ตั้งต้นคือเริ่มโฟกัส Segmentation ของผู้หญิง โดยผู้หญิงเวลาไปท่องเที่ยวเนี่ยใช้เงินค่อนข้างสูง เพราะมีการซื้อของฝากคนอื่นอีก
แล้วไปเจอ Insight ของผู้หญิงเวลาไปเที่ยวที่โจทย์ของ ททท. ชอบบอกว่าเวลาไปเที่ยวอยากให้เที่ยวให้มันลึก มีการสร้างบอลดิ้งกับท้องถิ่น แต่ความลึกในแง่ผู้หญิงมันจะรู้สึกลำบาก ว่าทำไมเราไปเที่ยวต้องเหนื่อยขนาดนั้น เราแค่อยากจะไปถ่ายรูปสวยๆ เช็กอินอะไรแบบนี้ (หัวเราะ)
จึงเป็นอีกโปรเจ็คหนึ่งที่ชื่อว่า “Palette of Thailand” ที่เราร่วมกับ ททท. มาร่วมกับ Oriental Princess ที่เอาสีสันของเมืองไทยมามาตีค่าสีให้กลายสีของเครื่องสำอางค์ เวลาแต่งหน้าก็จะแต่งตามสีของสามพันโบก และข้างหลังจะมีเรื่องราวของการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ให้เขาไปแต่งหน้าแล้วถ่ายรูปกับสถานที่จริงไหม เป็นการสวยทั้งรูปสวยทั้งคน (หัวเราะ)
เคล็ดลับจับ Insight ในงานให้อยู่หมัด
จริงๆเราจะมี Tools ในการหา Insight ที่ต้องเรียนตามตรงคือเราเชี่ยวชาญในเรื่อง Insight เพราะ Data ทุกคนหาได้อยู่แล้ว แต่คนที่เห็น Data แล้วเอามาใช้วิเคราะห์มันต้องเป็นคนที่เข้าใจใน Insight จริงๆ อย่างทุกแคมเปญนอกจากวิธีรีเสิร์ชที่เราจะเรียกคนเข้ามาคุย
อีกอย่างคือในออฟฟิศเองของเรา 80% ก็เป็นผู้หญิงด้วย ทำให้เข้าใจผู้หญิงอยู่แล้ว อีกส่วนหนึ่งคือ คุณแพะ ที่เป็น Social Media Director คอยแทร็กข้อมูลมาให้ ว่าถ้าถามคำถามแบบนี้จะเจอคำตอบแบบนี้นะ
มันจะมี Point of View ที่ผู้หญิงมองเราก็จะเห็นพฤติกรรมบางอย่าง แล้วรู้สึกว่า เฮ้ย.. ผู้หญิงคิดอะไรอย่างนี้วะ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งคือการที่ผู้หญิงเป็นคนวิเคราะห์ก็จะได้ insight ที่แตกต่างค่อนข้างเฉพาะเจาะจงเข้าใจผู้หญิงค่ะ
เหมือนอย่างเราเคยไปตัดสินงานเมืองนอกบ่อย ต้องยอมรับเลยว่าเวลาเปิดแคมเปญเกี่ยวกับบอล หรือผู้ชายมากๆ ก็ไม่เข้าใจ เลยคิดว่าผู้ชายก็คงคิดอย่างนั้นเหมือนกันถ้าเป็นอะไรที่ผู้หญิงมากๆ ก็คงไม่เข้าใจ(หัวเราะ)
“Specialist” คือกลยุทธ์ในการอยู่รอด
น่าจะเป็นเรื่องของความ Specialist คือเราค่อนข้างชัดเจนว่าเรา Specialist ทางผู้หญิง เราก็จะพยามทำมันมีงานที่เกี่ยวกับผู้หญิงออกมาให้สังคมเห็นกันอยู่เรื่อยๆ
เพราะเชื่อว่ายุคนี้วิธีการวิธีการที่ลูกค้ามาดิวกับเอเจนซี่หนึ่งเอเจนซี่ มันเหมือนเขาเริ่มมองหาอะไรที่เค้ารู้ว่าเค้าไปที่นี่แล้วมันจะได้อะไร มันจะไม่ค่อยไป One Stop หนึ่งที่แล้วโยน เงินก้อนใหญ่ให้ทำอะไรแบบมากกว้างมาก
เพราะโลกนี้ Budget จะถูกทอนลงเป็นก้อนที่ไม่ใหญ่มาก แล้วใช้ให้ตรงประเด็นและถูกที่ เลยคิดว่าการที่เรา Positioning ชัดเจนทำให้ใน 2 ปีนี้เรามีงานที่เป็นผู้หญิงออกมาเรื่อยๆ ลูกค้าที่อยู่ข้างนอกก็จะมาด้วยเหตุผลนี้
หว่านล้อมแบบนุ่มนวลได้ผลทุกราย
จริงๆ ข้อนึงที่พอไปประชุมบ่อยบ่อยแล้วในห้องมีผู้ชายเยอะเยอะคือการต้องใช้ความเป็นผู้หญิงให้มีประโยชน์ค่ะ (หัวเราะ)
วิธี Aggressive มันไม่ได้ผลอย่าไปใช้ คือวิธีการหว่านล้อมแบบนุ่มนวลว่าอันนั้นก็ดีนะอันนี้ก็ดีนะหรือไปอย่างนี้ไหม เพราะการเจรจาแบบผู้หญิงมันจะค่อนข้างต่างจากแบบผู้ชาย
สำหรับผู้ชายถ้าไม่เห็นด้วยจะมีความแข็งกร้าวกล้าทะเลาะ ในขณะที่ผู้หญิงจะแปลงเพศที่ไม่ค่อยกล้าทะเลาะ แต่ว่าเราจะมีวิธีหว่านล้อมที่มันซอฟต์กว่า ด้วยการคุยกับคนทั้งห้องแล้วก็ค่อยๆ พาเขาไป มันก็จะเป็นวิธีการปะทะ อีกแบบหนึ่ง (หัวเราะ)
Work ไร้ Balance Or Work life Balance
ถ้าที่นี่จะพยามอยากให้ทุกคนมีชีวิตส่วนตัว แต่เนื้องานว่าความที่มันค่อนข้างยุ่ง และดีเทลจะค่อนข้างเยอะ วิธีการคือเสาร์-อาทิตย์เราไม่มีการเข้าออฟฟิศ เราก็จะพยามไม่ให้มีคิวลงวันเสาร์-อาทิตย์เลย
เพื่อให้วันจันทร์ถึงศุกร์ทำงานเต็มที่ ถ้าไม่ติดคิวโปรดักชั่นน้องเค้าจะกลับไม่ดึกทุ่มสองทุ่มก็หายไปหมดแล้ว แต่เค้าก็จะกลับไปเคลียร์งานที่บ้านกันนะ ซึ่งอย่างน้อยเราเชื่อว่าเค้ากลับบ้านเขายังมีเวลาที่จะไปบริหารจัดการชีวิตกับครอบครัวได้
เพราะเรางงว่าตีสองตีสามคิดงานกันออกหรอ อยู่กันดึกเพราะอะไรนะ ของเราน้องๆ จะอยู่กันดึกเพราะโปรดักชั่นที่มันหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วมั้งลากยาว แต่ถ้าให้มานั่งคิดยามที่นี่ถึงตีสองนั้นไม่มีวันเกิดขึ้น เพราะคิดไม่ออก (หัวเราะ)
ทำงานยังไง ไม่ให้ #หมดแพชชั่น
แพชชั่นมันเหมือนสัตว์เลี้ยงที่เราต้องให้อาหารมันแล้วมันจะโต การให้อาหารก็คือการที่เราทำงานออกไปแล้วสังคมยอมรับความดีงามของมัน
อย่าง “เด็กใหม่” ที่เราดูแล Facebook เอง ก็มีคนมาบอกว่าหนูมีเรื่องจะสารภาพ ตอนเด็กๆ หนูเคยแกล้งเพื่อนแล้วรู้สึกว่ามันจะตามเราหรือเปล่า พอมันเป็นผลลัพธ์กลับมาก็ทำให้แพชชั่นเราโตขึ้นเรื่อยๆ
ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ คุณเล็ก แอบกระซิบบอกทั้งรอยยิ้มกับเรา ว่ารู้ไหมว่าการเป็นผู้หญิงนั้นคือข้อได้เปรียบในการทำงาน เพราะถ้าทุ่มเทในการทำงานมากขึ้นอีกหน่อย ก็จะทำให้โดดเด่นในแวดวงของการทำงานได้ไม่ยาก
ชมคลิปสัมภาษณ์ :