การตลาดเป็นส่วนสำคัญมากยิ่งขึ้นในองค์กรที่กำลังเติบโต นับตั้งแต่การวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรไปจนถึงการแสวงหารายได้จากลูกค้า ในปัจจุบันแบรนด์ต่างจับจ้องไปที่การสร้างการรับรู้ของแบรนด์ต่อตัวลูกค้า แทนที่จะเป็นการมองหา รายได้โดยตรง ซึ่งสามารถหาได้ง่ายกว่า จากการทำความเข้าใจเป้าหมายขององค์กรอย่างถี่ถ้วนและการทำให้ลูกค้าภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาว
ซึ่งหนึ่งในฟังก์ชั่นการวัดค่าเหล่านี้ถูกเรียกว่า Lifecycle marketing
Lifecycle marketing หรือ Customer journey ที่มีความซับซ้อนมากกว่าเดิม เป็นการเจาะลึกขั้นตอนการซื้อขายทั้งหมด ที่เน้นย้ำการพัฒนาและรักษาลูกค้าอย่างต่อเนื่อง การทำงานของฟังก์ชั่นนี้ ที่เห็นง่ายๆ คือการที่เราได้รับเมล์เกี่ยวกับการใช้สินค้าจากแบรนด์ ที่เคยลงทะเบียนไว้ หรือการแจ้งเตือนที่เกี่ยวข้องในอนาคต ซึ่งตัวฟังก์ชั่นเหล่านี้จะทำให้ลูกค้ารู้สึกได้รับคุณค่ากับตัวแบรนด์ เช่นในลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยใช้สินค้าแล้วได้รับวิธีการใช้งาน หรือการที่ลูกค้ายังลังเลในการซื้อแล้วได้รับการกระตุ้นหรือสิ่งเร้าจากแบรนด์
โดยทีมที่ทำงานจะต้องวิเคราะห์และสร้างประสบการณ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ ซึ่งก็สามารถมีได้หลากหลายวิธีที่จะสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย โดยทั่วไปแล้วจะวัดจากการใช้และเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ของลูกค้าและ LTV (Lifetime value : ค่าเฉลี่ยเงินที่ลูกค้าลงทะเบียนหรือสมัครสมาชิกต่างๆ)
รับฟังกระแสทางสังคม
เพราะ marketing รูปแบบนี้ต้องมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ของลูกค้าในปัจจุบัน ซึ่งการรับฟังนี้สามารถช่วยให้แบรนด์เข้าใจเหตุผลและความคิดเห็นต่อแบรนด์ได้เป็นอย่างดี เช่น การที่ลูกค้าเล่าถึงขั้นตอนการซื้อสินค้า ข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับสินค้าบนทวีตหรือปัญหาที่เกิดขึ้นหลังใช้สินค้า ทุกความเห็นต่างๆเหล่านี้ก็ยังสามารถตามหาได้อย่างง่ายดายบนโซเชียลมีเดีย
การทำงานร่วมกันของแบรนด์จะช่วยให้หลักการนี้ส่งผลดีมากยิ่งขึ้นไปอีก เช่น การแบ่งปัน KPI และกลยุทธ์ของเนื้อหาภายในทีมเป็นประจำ ทีมที่ทำหน้าโซเชียลมีเดียก็ทำให้มั่นใจว่าผู้คนจะอยากมีส่วนร่วมจากการหาคอนเท้นต์ที่ลูกค้าต้องการ ส่งผลให้ผู้คนอยากแชร์คอนเท้นต์ต่างๆจากแบรนด์ออกไป