นอกจากเครื่องมือสำหรับใช้สร้างแคมเปญต่างๆ บน LINE ที่มีอยู่เดิมแล้ว ทาง LINE ประเทศไทย ก็ได้เสนอข้อมูลที่น่าสนใจและเครื่องมือใหม่สำหรับนักการตลาดได้นำไปปรับใช้กับแคมเปญหรือโปรโมชันต่างๆ กัน
คุณศรีสุภาคย์ อารีวณิชกุล ผู้อำนวยการธุรกิจองค์กร LINE ประเทศไทย เล่าถึงอินไซต์การใช้งานดาต้าบนแพลตฟอร์ม LINE ของธุรกิจต่างๆ ในไทยว่า แบรนด์ยุคนี้เก็บดาต้ามากขึ้นแต่ก็หาช่องทางใหม่ๆ ที่จะลดต้นทุนในการเก็บข้อมูลด้วย เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ที่จะมุ่งไปทำตลาด ในปี 2021-2024 มีการเก็บดาต้าบนแพลตฟอร์มของไลน์เพิ่มขึ้น 18% กลุ่มที่เก็บมากสุด เช่น FINANCE & Insurance, Retail & E-commerce, GOV, Automotive และ FMCG & Personal care
การเก็บข้อมูลนี้ก็หวังจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมและการใช้บริการของลูกค้าให้ดีขึ้น เวลายิงแมสเสจถึงลูกค้าจะได้ออกแบบให้เหมาะกับแต่ละกลุ่ม เพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าและบริการ หรือสร้างความรอยัลตี้ได้ดีขึ้น
หรือแบรนด์ที่ทำ OA ก็มีโอกาสที่จะสร้างกิจกรรมทำร่วมกับลูกค้าเช่นการทำเซอร์เวย์ความพึงพอใจแลกสติกเกอร์ฟรี ก็ช่วยให้แบรนด์ได้อัปเดตความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา กลุ่ม FMCG ชอบใช้กลยุทธ์นี้มาก เพราะมีคนทำเยอะ ได้ข้อมูลตอบกลับเยอะ และต้นทุนต่ำ
ดังนั้น สิ่งที่แบรนด์หรือนักการตลาดควรลองทำก็คือ
(1) ใช้ช่องทางโฆษณาแบบผสมผสาน โดยใช้ทั้งช่องทางโฆษณาแบบ Reservation เพื่อเข้าถึงระดับ Mass ควบคู่ไปกับช่องทางโฆษณาบน LINE Ads เพื่อระบุกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ช่วยให้แบรนด์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาได้ดีขึ้น
(2) ใช้กลุ่มเป้าหมายใหม่ในการยิงโฆษณา โดยทดลองเลือกกลุ่มเป้าหมายในเซกเมนต์ใหม่ๆ นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายโดยตรงที่เคยเลือกใช้ เพื่อขยายฐานผู้มีแนวโน้มสนใจสินค้าของแบรนด์ได้กว้างและครอบคลุมขึ้น เช่น กลุ่มธุรกิจยานยนต์ ที่ลองขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังผู้ที่สนใจเรื่องแต่งงาน ครอบครัว หรือเสียงเพลง เป็นต้น
(3) ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูล 1st Party Data โดยใช้เครื่องมือ MyCustomer ทำหน้าที่เป็นถังเก็บ รวบรวม และบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อนำมาจำแนก แบ่งกลุ่มเป้าหมาย ในการสื่อสารและใช้ทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง อาทิ ธุรกิจกลุ่มการเงินและประกัน ที่มีการอัปเดตข้อมูลบัญชี การทำธุรกรรมต่างๆ ของผู้ใช้แต่ละราย หรือนำเสนอบริการอันหลากหลาย ให้เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคนผ่าน LINE OA อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่แบรนด์ไม่มีข้อมูล 1st Party Data เป็นของตนเอง ก็สามารถใช้ Mission Stickers มาเป็นกลยุทธ์เสริมได้ อาทิ กลุ่มธุรกิจ FMCG และของใช้ส่วนตัว ที่ใช้ Mission Stickers ร่วมกับฟีเจอร์ ‘แบบสอบถาม’ ของ MyCustomer ในการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคได้โดยตรง เป็นต้น
(4) สร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคล ด้วยการเอาดาต้ามาจำแนก แบ่งกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างประสบการณ์ นำเสนอคอนเทนต์ให้ตรงกลุ่ม ตรงใจ ตรงการใช้งานจริงของแต่ละคน เช่น ธุรกิจยานยนต์ ที่มีการยิงโฆษณาด้วยเนื้อหาที่แตกต่างกันไปยังกลุ่มลูกค้าตามระดับความสนใจซื้อ ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจการเงิน ที่มีการแสดงผล Rich Menu บน LINE OA แตกต่างกันไปตามระดับสมาชิกของลูกค้าแต่ละคน เป็นต้น
เครื่องมือใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2024-2025
คุณวีระ เกษตรสิน รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ LINE ประเทศไทย เล่าว่า โร้ดแมปเกี่ยวกับเครื่องมือและโซลูชั่นต่างๆ บน LINE ภายในปี 2024-2025 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มสำคัญ คือ
กลุ่มบริการด้านโฆษณา : จะมีการเพิ่มรูปแบบและเพิ่มตัวเลือกในการระบุกลุ่มเป้าหมายที่ละเอียด ครอบคลุมมากขึ้น ล่าสุดเปิดให้แบรนด์สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายตามความสนใจในกลุ่มผู้ติดตามบน LINE OA และจะมีการขยายไปสู่กลุ่มผู้ใช้งาน LINE OpenChat ผู้ใช้งานบริการอื่นๆ บน LINE รวมถึง LINE TODAY ในอนาคต
กลุ่มโซลูชั่นด้านดาต้า : เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการดาต้าได้ดีและสะดวกยิ่งขึ้นบน MyCustomer ผ่านความสามารถใหม่ๆ อาทิ การจับคู่ข้อมูลด้านโปรไฟล์ของลูกค้ากับผู้ติดตามใน LINE OA การมีระบบอัตโนมัติมาช่วยดำเนินงานการตลาดให้ การเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบภายนอกได้ และการสร้างกลุ่มเป้าหมายคาดการณ์โดย AI ในขณะที่ MyCustomer | CRM มีแผนเปิดกว้างการเชื่อมต่อกับช่องทางการขายอื่นๆ มากขึ้น รวมไปถึงกับแอปฯ LINE MAN อีกทั้งยังมีการเพิ่มฟังก์ชั่นการสร้างกิจกรรมพิเศษตามกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
กลุ่มเครื่องมือเพื่อติดตามผล : เตรียมผลักดันการใช้งาน Conversion API เพื่อช่วยแบรนด์เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามผลพฤติกรรมผู้บริโภคได้แม่นยำ ครอบคลุมขึ้นกว่าเดิม

ทั้งนี้ LINE ยังมีทิศทางระยะยาวในการพัฒนาสู่แพลตฟอร์มเปิด (Open Platform) เพื่อคนไทย โดยแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มบริการ จะมุ่งเน้นไปที่
- OA Plus Platform เปิดกว้างให้บุคคลภายนอกสามารถเข้ามาสร้างและเชื่อมต่อเครื่องมือใหม่ๆ เข้ากับ LINE ได้ ภายใต้แพลตฟอร์ม LINE OA plus เปิดโอกาสให้ทั้งภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างบริการดิจิทัล ที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจที่แตกต่างกันไป และนักพัฒนาเข้ามามีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจดิจิทัล
- OA shopping assistance: มุ่งสร้าง/เพิ่มความสะดวกในการช้อปปิ้งผ่าน LINE OA เสมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวให้กับผู้ใช้ เป็นผู้ช่วยในการช้อป โดยใช้ ai/genai มาช่วย intent สินค้าให้ลูกค้า
- chat commerce solution : พัฒนาโซลูชั่นในการทำ Chat Commerce บน LINE ให้มีศักยภาพครบถ้วน รอบด้านมากขึ้น ช่วยแบรนด์ขาย จัดโปร สร้างโอกาสในการช็อปให้ง่ายขึ้น และมีแชตบอตมาช่วยตอบด้วย’
ด้วยทิศทางการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อภาคธุรกิจในอนาคต ทั้งสำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มบริการ โดยเน้นไปที่ การเปิดกว้างในการเชื่อมต่อกับเครื่องมือใหม่ๆ ภายใต้แพลตฟอร์ม LINE OA Plus การเพิ่มความสะดวกในการช้อปปิ้งผ่าน LINE OA เสมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวให้กับผู้ใช้ และการพัฒนาโซลูชั่นในการทำ Chat Commerce บน LINE ให้มีศักยภาพครบถ้วน รอบด้านมากขึ้น และผลิตภัณฑ์กลุ่มเทคโนโลยี เน้นไปที่ MyCustomer API, LINE SHOPPING API และ Mini App ช่วยให้แบรนด์สามารถใช้เทคโนโลยีบน LINE สร้างการเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้นในอนาคต