ผ่านพ้นงานแถลงข่าวประกาศวิสัยทัศน์ประจำปีครั้งใหญ่ของ LINE ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นสื่อสารระดับโลกในงาน LINE CONFERENCE 2019 ไปแล้ว วันนี้ทีมงาน Thumbsup จะมาสรุปเนื้อหาที่นักการตลาดควรทราบและสามารถไปใช้งานได้ให้ฟังกันค่ะ
เตรียมเปิด LINE mini app
ในช่วงปลายปี 2019 นี้ จะเริ่มเปิด LINE Mini App ให้องค์กรหรือธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างเพจของตัวเองบน LINE ได้ อีกทั้งสามารถใส่ข้อมูลเกี่ยวกับบริการ (เช่น เมนู และราคา) รวมถึงการทำการจอง, การออกคูปองพิเศษ และตั้งค่าบัตรสะสมคะแนนหรือLoyalty Cards พร้อมดัวยความสามารถในการแจ้งเตือนที่สามารถส่งถึงผู้ใช้รายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเช่น ธุรกิจซักแห้ง อาจตั้งค่าบัตรสมาชิกและขั้นตอนการชำระเงินในแอป LINE Mini ซึ่งเจ้าของร้านซักแห้งสามารถแจ้งเตือนลูกค้าได้ถึงสถานะของการให้บริการและแจ้งได้ว่าลูกค้าสามารถมารับเสื้อผ้าที่ซักแห้งเรียบร้อยแล้ว เพื่อช่วยเชื่อมต่อธุรกิจและการบริการบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น
ด้วยจำนวนผู้ใช้งานกว่า 80 ล้านคนในญี่ปุ่น และยังไม่รวมจำนวน Official Account ขององค์กร, ร้านค้า และผู้ให้บริการในธุรกิจต่างๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมหาศาล แน่นอนว่าไม่มีใครจะได้ทำได้นอกจาก LINE
LINE SCORE
บริการใหม่ที่เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่วันนี้ ซึ่งเปิดให้บริการผ่านทาง LINE Credit ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่อยู่ภายใต้ LINE Financial Corporation ที่ให้บริการเกี่ยวกับบริการด้านการเงิน โดยการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการสร้างโมเดลการให้สะสมแต้ม เพื่อพิจารณาการขอสินเชื่อผ่าน LINE ได้ต่อไป
โดย LINE Score จะให้บริการผ่านทางแอป LINE ด้วยการเข้าไปใช้งานทางเมนู LINE Wallet นอกจานี้ LINE Score ยังมี โปรโมชั่น ดีลสุดพิเศษ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่แบ่งชัดเจนตามแต่จำนวนแต้มของผู้ใช้งานแต่ละคน
Openchat
บริการใหม่ที่จะทำให้การสนทนาผ่าน LINE มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น โดย OpenChat จะมีส่วนช่วยให้การสนทนาบน LINE ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ผู้ใช้งานสามารถสร้างกลุ่มเฉพาะตามความสนใจ โดยผู้ใช้สามารถเปลี่ยนชื่อ display name ได้อย่างหลากหลายในแต่ละกลุ่ม และสามารถดูบทสนทนาย้อนหลังได้แม้จะเพิ่งเข้าไปร่วมกรุ๊ป รวมถึงการเพิ่มฟีจอร์พิเศษสำหรับผู้ที่เป็น admin กลุ่มที่จะตอบรับให้ใครเข้ามาร่วมสนทนาเพิ่มเติม และยังสามารถสร้างรหัสในการเข้าร่วม
โดย OpenChat พร้อมให้บริการในญี่ปุ่นแล้วในฤดูร้อน 2019 สำหรับประเทศไทยมีแผนที่จะเปิดให้บริการ OpenChat ภายในปีนี้เช่นกัน
LINE NEWS (ในไทยชื่อบริการ LINE TODAY)
ด้วยความร่วมมือกับสื่อกว่า 900 รายการเพื่อส่งมอบเนื้อหาที่ตอบโจทย์ความสนใจส่วนบุคคลมากกว่า 7,000 คอนเทนต์ต่อวันจากผู้ใช้งานกว่า 65 ล้านคน โดย LINE NEWS ยังคงมุ่งหน้าเป็นคอนเทนต์แพลตฟอร์มด้านข่าวสารที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น โดยประกาศความร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ TV Tokyo เตรียมเปิดตัวในฤดูร้อน 2019 ในคอนเซ็ปต์ “Replay Cast” ที่จะช่วยแจ้งเตือนให้กับผู้ใช้แบบ real-time ถึงการเตรียมออกอากาศของรายการสำคัญ ซึ่งทันทีที่คลิ๊กที่แถบแจ้งเตือน ผู้ใช้งานจะสามารถรับชมรายการได้เลยทันที โดยพันธมิตรรายแรกที่เริ่มทำโปรแกรมนี้ คือ TV Tokyo
นอกจากนี้ จะปรับการชมวีดีโอรูปแบบใหม่บนสมาร์ทโฟนผ่านโปรเจคที่ชื่อว่า VISION ซึ่งได้ร่วมมือกับครีเอเตอร์ชื่อดังในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ อาทิ Masahiko Sato, Kundo Koyama, และ Gakuto Akashi ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์แนวใหม่นี้ LINE NEWS มุ่งที่จะเป็นมากกว่าแพลตฟอร์มด้านข่าวสาร แต่จะเป็นแพลตฟอร์มคอนเทนต์สำหรับสื่อชั้นนำทุกรูปแบบทั้งโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์
LINE LIVE
LINE เตรียมเปิดบริการ Live Streaming บนแพลตฟอร์ม ซึ่งจะเป็นโอกาสให้เหล่าเซเลบริตี้ ผู้ทรงอิทธิพล หรือใครก็ตามได้สานฝันในการเป็น LINE LIVERs ในการสร้างคอนเทนต์สดๆ พร้อมฟีเจอร์ที่จะสนับสนุนการใช้บริการ Live ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อสร้างฐานแฟนประจำของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับแฟนคลับที่จะรวมตัวกัน: ผ่านช่องทาง Premium Channel (เปิดตัวเดือนกรกฎาคม 2019) เป็นฟีเจอร์สำหรับรับชม Live แบบเอ็กคลูซีฟด้วยค่าบริการแบบรายเดือน ซึ่งนอกจากจะชม Live แล้วยังสามารถสนทนาผ่าน Live ได้อีกด้วย ฟีเจอร์นี้จะช่วยทำให้คอนเทนต์มีความน่าสนใจและสร้างความใกล้ชิดระหว่าง LINE LIVERs และแฟนคลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ช้อปเพลินสุดๆ ระหว่างชม Live Stream ผ่านช่องทาง LIVE Commerce (เปิดบริการปี 2020) เป็นฟีเจอร์ที่จะช่วยผู้ชมสามารถช้อปหรือซื้อสินค้าระหว่างที่ชม Live ได้ทันที นอกจากนี้ผู้ชมยังสามารถถามคำถามเกี่ยวกับสินค้าได้ในระหว่างชม Live ซึ่งการจำหน่ายสินค้าเอ็กคลูซีฟของเหล่า LINE LIVERs จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางการหารายได้ที่น่าสนใจในอนาคต
LINE MUSIC
จะเปิดให้บริการในพฤษภาคม 2019 ปัจจุบันมีจำนวนผู้ดาวน์โหลดมากกว่า 32 ล้านคน จำนวนเพลงใน LINE MUSIC มากกว่า 54 ล้านเพลงและจำนวนผู้ใช้งาน มากกว่า 11 ล้านคน โดยจะมีการปรับปรุงระบบต่างๆ ดังนี้
- ยกเครื่อง UI ใหม่ทั้งหมด เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้นด้วยการใช้ AI เปิดตัวในฤดูใบไม้ร่วง 2019
- เพลิดเพลินกับเพลงฮิตผ่านฟีเจอร์ MUSIC VIDEO เปิดตัวในฤดูร้อน 2019
- เปิดตัว Freemium model ONE PLAY เปิดตัวในฤดูใบไม้ร่วง 2019 ซึ่งผู้ใช้จะสามารถฟังเพลงทั้ง 54 ล้านเพลงได้อย่างสะดวกและง่ายดาย
Mobile Payment Platform
การให้บริการ LINE Pay ในเดือนมิถุนายน 2019 มีผู้ใช้บริการมากกว่า 48 ล้านคนทั้งในประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย แบ่งเป็น ในไต้หวัน ได้รับความนิยมอันดับหนึ่ง มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นจาก 2.9 ล้านคน เป็น 6.3 ล้าน คิดเป็นอัตราเติบโตถึง 30% และมีการรับรู้ถึง 83% ขณะเดียวกันในประเทศไทย มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเพิ่มชึ้นจาก 3.1 ล้าน เป็น 6 ล้านคน
นับตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี 2561 ผู้ใช้บริการทั้งชาวไต้หวันละชาวไทยสามารถใช้ LINE Pay เพื่อชำระค่าบริการการคมนาคมบางส่วน ส่วนที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นถือเป็นประเทศที่มีการให้บริการที่หลากหลายรูปแบบ ทำให้มีผู้ใช้งานถึง 36 ล้านคน
ร่วมมือกับ Starbucks
นับตั้งแต่เปิดตัวบัตร LINE Starbucks ในเดือนเมษายน 2562 มียอดสมาชิกผู้ถือบัตรเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านรายจากจำนวนสมาชิกเดิม 3.3 ล้านรายในเวลาเพียงสองเดือนครึ่ง นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับบริษัท Visa Worldwide จำกัด ในประเทศญี่ปุ่น และบริษัท Orient ในการออกบัตรเครดิต VISA ซึ่งมอบคะแนนสะสมที่คุ้มค่าแก่ลูกค้าเป็นอย่างมาก ถือเป็นการตอกย้ำการสร้างสัมคมไร้เงินสดในประเทศญี่ปุ่นอย่างแท้จริง
Financial Platform
เพื่อให้ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มด้าน Fintech ได้ร่วมทุนกับ Nomura Holdings ในการเปิดบริษัทหลักทรัพย์ LINE เพื่อให้บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ในแอพ LINE ซึ่งบริการนี้จะรวบรวมหุ้นที่คัดสรรจากบริษัทชั้นนำ 100 แห่งในญี่ปุ่นและอนุญาตให้ผู้ใช้เริ่มต้นลงทุนขั้นต้นที่ 150 เยน (ขั้นต่ำ) ถึง 3,000 เยน (เฉลี่ย) ต่อหุ้น
นอกจากนี้ LINE Credit จะเปิดให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ต้องใช้หลักประกันภายใต้บริการชื่อ LINE Pocket Money ซึ่งจะมอบสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ใช้ LINE Score โดยบริการใหม่นี้จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยและวงเงินสินเชื่อประจำปีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้แต่ละรายโดยพิจารณาจากคะแนน LINE Score เป็นหลัก
* LINE Credit เป็น บริษัท ร่วมทุนระหว่าง LINE Financial, Mizuho Bank Ltd. และ Orient Corporation
ทางด้านแพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าของ LINE ประกอบด้วย 3 บริการ คือ LINE Shopping, LINE Delima และ LINE Travel ซึ่งหลังจากนี้จะเน้นการผสานกันระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ผ่านแนวคิด OMO
ทิ้งท้าย
บริการทั้งหมดนี้ เน้นปรับตามไลฟ์สไตล์และการใช้จ่ายผ่านมือถือของคนรุ่นใหม่ ซึ่งการปรับเปลี่ยนหลายอย่างจะเริ่มต้นในญี่ปุ่นก่อนและค่อยขยายมายังประเทศอื่นๆ ซึ่งไทยเองก็นับว่าเป็นประเทศแรกๆ ที่ LINE ให้ความสนใจ