Site icon Thumbsup

Infographic : เจาะลึกตลาดคนเหงา กลุ่มผู้บริโภคที่นักการตลาดและคุณไม่ควรมองข้าม

“ความเหงา” เป็นสิ่งที่พบอยู่ในคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ Social Media กลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวัน ทำให้หลายๆ คนมีการพบปะพูดคุยกันแบบเห็นหน้าน้อยลง และใช้ชีวิตอยู่คนเดียวมากขึ้น ส่งผลให้กระแสคนเหงามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในทุกๆ วัน

วันนี้ทีมงาน thumbsup จึงนำข้อมูลจากงานวิจัย “Lonely in the deep เจาะลึกตลาดคนเหงา” ของนักศึกษาวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการตลาด รุ่น 20B มานำเสนอให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับชมกันครับ

เกณฑ์การทดสอบความเหงา

การออกแบบงานวิจัยครั้งนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

  1. วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผ่านการทำแบบสอบถาม UCLA Loneliness Scale จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบไปด้วยคำถามในเชิงจิตวิทยาที่มีต่อความเหงา ความโดดเดี่ยว โดยจะแบ่งกลุ่มของคนเหงาออกเป็น 4 ระดับคือ
    • ระดับ 4 (45-60 คะแนน) : กลุ่มคน “เหงาจับใจ”
    • ระดับ 3 (30-44 คะแนน) : กลุ่มคน “เหงาจนชิน”
    • ระดับ 2 (20-29 คะแนน) : กลุ่มคน ” แอบเหงา”
    • ระดับ 1 (น้อยกว่า 20 คะแนน) : กลุ่มคน “สบายสบาย”
  2. วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทำแบบสอบถามที่มี UCLA คะแนนมากกว่า 20 ขึ้นไป (อยู่ในกลุ่มคนเหงาระดับ 2-4) เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในช่วงเวลาที่รู้สึกเหงา การเล่น Social Media และวิธีจัดการกับความเหงา โดยมีผู้ยินยอมให้สัมภาษณ์จำนวนทั้งหมด 76 คน จากผู้ทำแบบสอบถาม 1,126 คน

ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง

จากกลุ่มตัวอย่าง 1,126 คนสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ เพศชาย 35.2%, เพศหญิง 64.2% และ เพศทางเลือก 0.6%

ผลการวิจัยพบว่าในกลุ่มเพศชายและเพศหญิงมีปริมาณคนเหงาอยู่ที่ประมาณ 40% ในขณะที่กลุ่มเพศทางเลือกมีปริมาณคนเหงาถึง 85.7% แต่เนื่องจากปริมาณของกลุ่มตัวอย่างของเพศทางเลือกในงานวิจัยดังกล่าวมีปริมาณที่น้อยกว่ามาก จึงไม่สามารถสรุปผลที่ชัดเจนได้

หากมองกลุ่มคนทื่มีความเหงาเป็นช่วงวัยหรืออายุ แบ่งได้ดังนี้

สังเกตได้ว่าวัยที่มีแนวโน้มจะอยู่ในกลุ่มคนเหงามากที่สุด คือ คนวัยทำงานที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว ต้องทำงานหนัก ปรารถนาให้มีใครสักคนมาเข้าใจ อีกทั้งยังมีเกณฑ์อายุอยู่ในกลุ่ม Millennial ซึ่งมีความคุ้นเคยกับ Social Media อย่างมาก จึงอาจส่งผลให้มีปริมาณคนเหงามากกว่าคนในช่วงวัยอื่น

ปริมาณคนเหงาในประเทศไทยสูงถึง 40.4%

จากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีบุคคลที่อยู่ในกลุ่มคนเหงาถึง 40.4% จำแนกตามกลุ่มได้เป็น กลุ่มเหงาจับใจ 2.3%, กลุ่มเหงาจนชิน 14.5% และ กลุ่มแอบเหงา 23.6%

ซึ่งหากนำตัวเลขมาเทียบสัดส่วนกับจำนวนประชากรทั้งหมด 66.41 ล้านคนในประเทศไทยแล้ว จะพบว่าตลาดคนเหงามีอยู่มากถึง 26.57 ล้านคน ถือว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนและนักการตลาด

3 อันดับวิธีคลายเหงายอดนิยม

  1. Social Media เนื่องจากเป็นช่องทางที่ทำให้คนเหงาสามารถเชื่อมต่อกับโลกภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็นการเสพย์คอนเทนต์ที่ตัวเองสนใจ หรือการติดต่อกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์ โดยผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนมากจะให้ความเห็นว่าการใช้ Social Media จะทำให้รู้สึกเหมือนมีคนอยู่ด้วย หรือลืมไปชั่วขณะหนึ่งว่าตนกำลังเหงาอยู่
  2. การไปร้านอาหาร / ร้านกาแฟ เนื่องจากกลุ่มคนเหงามักจะไม่ต้องการอุดอู้อยู่ในห้องของตัวเอง จึงหาโอกาสที่จะออกไปในบรรยากาศที่มีผู้คน และนอกจากนั้นกลุ่มคนเหงามักจะมีความสุขกับการได้รับประทานอาหาร การออกไปร้านอาหาร หรือร้านกาแฟจึงตอบโจทย์ทุกอย่างที่กลุ่มคนเหงาต้องการ
  3. Shopping เนื่องจากคนเหงาต้องการออกจากบรรยากาศที่ทำให้เกิดความเหงา การช้อปปิ้งจึงเปรียบเสมือนการออกไปผ่อนคลาย การเดินดูของที่ตนอยากได้ก็ทำให้มีความสุขโดยไม่จำเป็นต้องซื้อก็ได้ โดยคนเหงาแต่ละคนก็อาจมีพฤติกรรมแตกต่างกันออกไป เช่น บางคนอยากเดินช้อปปิ้งเงียบๆ คนเดียว หรือบางคนก็อาจจะอยากได้คำแนะนำจากพนักงานในร้าน เป็นต้น

Social Media ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในกลุ่มคนเหงา

จากผลสำรวจกลุ่มเป้าหมายพบว่า Social Media ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในกลุ่มคนเหงา แบ่งออกเป็นสัดส่วนได้ดังนี้

จะสังเกตได้ว่า Facebook ก็ยังเป็น Social Media ที่มีอิทธิพลที่สุดในกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน ในขณะที่หลายๆ คนรวมถึงตัวผู้เขียนเองอาจมองว่า Twitter ดูจะเป็นแพลตฟอร์มที่นิยมสำหรับคนเหงามากกว่า แต่เป็นเพราะกลุ่มคนเหงาส่วนมากมีอายุอยู่ในช่วงวัยทำงาน จึงอาจจะมีความคุ้นชินกับแพลตฟอร์ม Facebook มากกว่า

โดยความนิยมของ Social Media แต่ละประเภทจะจำแนกออกตามช่วงวัยได้ดังนี้

จากผลสำรวจข้างต้นจะสังเกตได้ว่า กลุ่มคนในวัยเรียนถึงวัยทำงานมีแนวโน้มที่จะเป็น “สายส่อง” หรือ “สายโพสต์” ที่มีพฤติกรรมการเลื่อนหน้า Feed บนแพลตฟอร์มต่างๆ และอ่านสิ่งที่ตนสนใจไปเรื่อยๆ

โดยจะมีการโพสต์เป็นครั้งคราว เพื่อเป็นการคลายเหงาผ่านการรับชมคอนเทนต์ที่ชอบ หรือโพสต์ในสิ่งที่ตนอยากจะนำเสนอ

ในขณะที่กลุ่มคนในวัยผู้ใหญ่ถึงวัยผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเป็น “สายเม้าท์” โดยใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ส่วนมากในแพลตฟอร์มแชทอย่าง LINE

ซึ่งอาจเป็นเพราะคนเหงาในช่วงวัยนี้ต้องการหาเพื่อนคุยมากกว่าการเสพคอนเทนต์บนโลกออนไลน์

5 โอกาสทางธุรกิจ เอาใจคนเหงา

จากผลการวิจัยนี้ สรุป Insight ของกลุ่มผู้บริโภคสายเหงาไว้ว่า

และทางกลุ่มผู้จัดทำงานวิจัยก็ได้สรุป 5 โอกาสทางธุรกิจเอาใจคนเหงา ดังนี้

1.Community

เป็นการสร้างสังคมเพื่อนำพาให้กลุ่มคนเหงาที่ชื่อชอบในสิ่งเดียวกันมาพบกัน ซึ่งอาจจะเป็นคนในวัยเดียวกัน หรือต่างวัยกันก็ได้ โดยธุรกิจที่เป็นตัวอย่างในการสร้าง Community คือ

2.Co-Living Space

ในยุคปัจจุบันที่มีคนให้ความสนใจกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในระดับสูง ส่งผลให้มีคนที่อาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น ซึ่งการอยู่คนเดียวก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหงาได้ การสร้าง Co-Living Space ให้คนเหงาได้ออกมาพบปะกันจึงเป็นอีกธุรกิจที่น่าสนใจ

โดยตัวอย่างในประเทศไทยก็มี “แสนสิริ” ที่นำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับคอนโดมิเนียมในเครือของตนผ่านคอนเซปต์ 3-Co ประกอบด้วย Co-Working พื้นที่ทำงาน ห้องประชุม Co-Recreation สนามกีฬาเอนกประสงค์ และ Co-Kitchen หรือ Co-Dining พื้นที่สำหรับประกอบอาหาร และรับประทานอาหารร่วมกันของผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม

3.Digital Life

ในยุคที่ทุกคนใช้สมาร์ทโฟนเป็นเรื่องปกติ ธุรกิจในเชิงดิจิทัล เช่น แอพลิเคชั่น, AI, หรือ Online Platform ก็น่าสนใจเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น แอพลิเคชั่นเอาใจคนเหงาอย่าง People Walker ในสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้คนเหงาสามารถเลือกเส้นทางที่จะเดินและหาเพื่อนร่วมทางผ่านแอพฯ เพื่อจะได้เดินไปด้วยกันและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้

4.Best Friend Pet

ธุรกิจสัตว์เลี้ยงเป็นอีกธุรกิจที่มีรูปแบบหลากหลาย และตอบโจทย์ได้ทั้งคนเหงาและคนรักสัตว์ โดยมีตัวอย่างดังนี้

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยง และต้องมีความรับผิดชอบ รวมถึงความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัตว์ประเภทนั้นๆ อย่างมาก จึงต้องมีการศึกษาอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะมาทำธุรกิจประเภทนี้ด้วยนะครับ

 

5.Travel Together

การออกไปเที่ยวในบรรยากาศใหม่ๆ ก็อาจจะเป็นวิธีคลายเหงาที่ดี แต่จะให้ไปคนเดียวก็เหงา ไปกับเพื่อนก็อาจจะว่างไม่ตรงกัน ดังนั้นธุรกิจท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์คนเหงาได้ จึงเป็นการท่องเที่ยวที่ไปคนเดียวได้แต่ไม่เหงานั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น

กลยุทธ์การตลาดเพื่อกลุ่มคนเหงา

จากข้อมูลทั้งหมดข้างต้น กลุ่มผู้จัดทำการวิจัยได้สรุปกลยุทธ์การตลาดเพื่อกลุ่มคนเหงาไว้ ดังนี้

การตลาดสำหรับกลุ่มคนเหงาก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่น่าสนใจมากๆ ทีมงาน thumbsup ขอขอบคุณข้อมูลจากงานวิจัย “Lonely in the deep เจาะลึกตลาดคนเหงา” และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน หากมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจอีกทีมงานจะนำมานำเสนอให้ผู้อ่านได้รับชมกันอีกนะครับ

ข้อมูลจาก : งานวิจัย Lonely in the deep เจาะลึกตลาดคนเหงา