เรื่องของพฤติกรรมคนรุ่นใหม่นั้น ไม่ว่าจะอยู่ใน Gen ไหน สิ่งที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาดและแบรนด์คือการปรับเปลี่ยนความต้องการตามรสนิยมที่ผันแปรตามการเวลา
ก่อนหน้านี้ทาง CMMU ได้จัดทำข้อมูลงานวิจัยที่ชื่อว่า “BRAGGER MARKETING รู้ก่อนใครได้ใจคนชอบอวด” แม้ผลวิจัยนี้จะจัดทำขึ้นได้สักพักหนึ่งแล้ว แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับคนที่ส่อง IG เป็นประจำคือพฤติกรรมการอวดของคนรุ่นใหม่ไม่ได้น้อยลงเลย
ยิ่งสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่อนคลายและเปิดกว้างให้ออกไปใช้ชีวิตมากขึ้น แม้จะรับรู้ได้ว่ายังมีความกังวล แต่ภาพที่ปรากฏออกมาให้เห็นในหลายสื่อออนไลน์คือ คนไทยและทั่วโลกเริ่มที่จะใส่แมสน้อยลงและปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่มากขึ้น
เรามีดูภาพสรุปเกี่ยวกับเทรนด์นี้ว่าแบรนด์และนักการตลาดจะสามารถดึงโอกาสจากเรื่องนี้อย่างไรได้บ้างกันค่ะ
รู้จักประเภทของการอวด
การอวดแบ่งเป็น 2 รูปแบบหลัก
- การอวดแบบเปิดเผย (BRAGGER) : ลักษณะอวดแบบให้โลกรู้ว่าเราอวด ซึ่งพฤติกรรมของพวกเขาจะมาจากคนที่รู้สึกไม่มั่นคงมีแนวโน้มจะ ‘อวด’ มากกว่า คนที่รู้สึกมั่นคง
- การอวดแบบถ่อมตน (HUMBLE BRAGGER) : ลักษณะอวดให้คนอื่นคิดว่าเราไม่ได้อวด ไม่ค่อยเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป และถูกมองว่ามีความสามารถน้อย และดูไม่จริงใจ แต่คนไทยชอบรูปแบบการอวดแบบนี้มากกว่า เพราะคนไทยส่วนมากมีนิสัยขี้เกรงใจแต่ภายในจิตใจลึกๆ ก็มี “แรงขับเคลื่อน” บางอย่างที่ทำให้เกิดการอวดได้เช่นกัน
โดยผู้บริโภคชอบให้ผู้มีประสบการณ์ อินฟลูเอนเซอร์ รีวิว แนะนำสินค้าและบริการด้วยวิธีการอวดแบบถ่อมตน ซึ่งช่วยให้สินค้าและบริการ ได้ผลตอบรับดีถึง 70.5% แต่หากเป็นผู้คนทั่วไป มักชอบวิธีการอวดแบบจริงจัง จะช่วยให้บริการได้ผลตอบรับดี 51.2%
3 คอนเทนต์แรกที่คนชอบอวด
- แบรนด์เนม
- การบริการ
- ไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวัน
สิ่งที่คนชอบโพสต์และแชร์มากที่สุด
- ท่องเที่ยว 33%
- ของกินของใช้ 25.5 %
- ร้านอาหาร ร้านกาแฟ 19.2%
- ข่าวสารทั่วไป 10.8%
- เทคโนโลยี 4.8%
- การลงทุน 4%
นอกจากนี้ การอวดยังนำไปสู่การรีวิวหรือการแชร์บนโลกออนไลน์ ในรูปแบบ E-WOM หรือบอกปากต่อปาก
มีอิทธิพลสามารถกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการซื้อ (Purchase Intention) โดยผู้มีรายได้มากกว่า 100,000 บาท มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมการซื้อตามมากกว่าระดับรายได้อื่นๆ
ช่องทางที่คนนิยมใช้ในการอวด
ทางด้านของช่องทางที่ใช้ในการอวด
- TikTok
- Youtube
- LINE
ความถี่ในการอวด
- ช่วงเวลาพิเศษ มีกิจกรรมหรือวันพิเศษ
- ช่วงเวลาทั่วไป สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
เหตุผลที่อยากอวด
- อยากให้คนอื่นรู้ว่าคุณมีสิ่งที่ดีที่สุด
- บ่งบอกสถานะทางสังคม
- ต้องการแสดงให้เห็นว่าการซื้อของคุณดีที่สุด
การรีวิวหรือแชร์ (Post & Share) บนโลกออนไลน์ยังค้นพบอีกว่า
- กลุ่ม LGBTQ+ มีแนวโน้มที่จะรีวิวหรือแชร์มากกว่าเพศอื่นๆ
- Gen Z มีแนวโน้มที่จะรีวิวหรือแชร์ มากกว่า Gen อื่น
- ระดับรายได้ 15,000 – 25,000 บาท
กลยุทธ์การตลาดคนขี้อวดสำหรับแบรนด์
B: Brandname กลยุทธ์จับกลุ่มผู้เลิฟสินค้าแบรนด์เนม – เหตุผลที่ผู้บริโภคต้องการอวดสินค้าแบรนด์เนม เนื่องจากเป็นสินค้าราคาสูง และมักใช้เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกสถานะทางสังคม
ข้อแนะนำ
- เลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ และ KOL ที่มีภาพลักษณ์เหมาะสมกับสินค้า และกลุ่มเป้าหมาย
- นำเสนอความคุ้มค่า
- ใช้วิธีการสื่อสารที่สะท้อนถึงความสำเร็จในชีวิต
- มอบของขวัญพิเศษ สำหรับลูกค้าคนสำคัญ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบอกต่อหรือแชร์
R: Restaurant อยากให้คนทราบว่าไปเที่ยวที่ไหน ทานอาหารอร่อยๆ บรรยากาศที่ดีอย่างไร – สร้างโมเมนต์ประทับใจ ถ่ายเก็บไว้อวดพร้อมบันทึกความทรงจำ
ข้อแนะนำ
- มีเมนูและการตกแต่งร้านที่สวยงามให้ลูกค้าสามารถถ่ายรูปและโพสต์ลงโซเชียลได้
- สร้างความยากในการเข้าถึง ไม่ได้ทานได้ง่ายๆ
- รักษามาตรฐานให้อยู่ในระดับที่สูงอยู่เสมอ
- การได้รับการรับรองจากสถาบันที่มีชื่อเสียง แต่ให้ระวังการกดไลก์หรือแชร์เพจ เพื่อแลกรับส่วนลด ไม่สามารถดึงลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์ได้ตลอด
A: Accommodation ที่พักบริการประทับใจ – บอกถึงสถานะทางสังคมที่เหนือกว่าผู้อื่น รวมถึงอาจจะไม่ได้มาที่พักแห่งนี้บ่อย จึงต้องการถ่ายรูปสวยๆ เก็บไว้ อาจจะเช็คข้อมูลว่ามีมุมอะไรเด่นบ้าง
ข้อแนะนำ
- มีจุดถ่ายรูปตามธีมเทศกาลต่างๆ
- จัดกิจกรรมตามสิ่งที่กำลังเป็นกระแส
- มอบสิทธิพิเศษสำหรับกลุ่มลูกค้าพรีเมียมที่จะได้รับการบริการเป็นพิเศษกว่าบุคคลทั่วไป
- ให้ความสำคัญกับรีวิวใน Travel Booking Platform ตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เช่น โรงแรม The Peninsula เทศกาลจุดพลุเคาท์ดาวน์ปีใหม่ที่ไอคอนสยาม เป็นต้น
G: Gym อวดรูปร่างที่ดีจากความพยายามของตนเอง – อวดเพื่อให้ตนเองดูดีในสายตาผู้อื่น ทำให้ตัวเองมีสไตล์หรือมีเอกลักษณ์โดดเด่นด้วยรูปร่างที่ดี ที่ได้มาจากความพยายามของตนเอง
ข้อแนะนำ
- คอยติดตามกระแสที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอยู่เสมอ และมีส่วนร่วมกับกระแสให้ทันอยู่ตลอดเวลา
- สร้างเทรนด์การออกกำลังกาย หรือปั้นหุ่นในฝัน อาจสร้างชาเลนจ์เพื่อให้เกิดกระแสไวรัล (Viral) แต่ก็ต้องระวังคนมักจะไม่อยากเข้าร่วมกิจกรรม
วิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดด้วย 3 ขั้นตอน คือ
- Awareness : เลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์และ KOL ออกแบบการบริการแบบพรีเมียม ให้มีความพิเศษและความแตกต่าง
- Engagement : ออกแบบ Theme Concept การสร้างบรรยากาศให้น่าถ่ายรูปและน่าจดจำ จัดกิจกรรมตามสิ่งที่กำลังเป็นกระแส หรือสอดคล้องกับเทศกาลต่างๆ
- Loyalty : มอบของขวัญพิเศษ สำหรับลูกค้าคนสำคัญ เพื่อกระตุ้นให้เกิด e-WOM พร้อมมอบสิทธิพิเศษสำหรับกลุ่มลูกค้าพรีเมียมที่จะได้รับการบริการเป็นพิเศษกว่าบุคคลทั่วไป
ลองนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้กับกลยุทธ์ออนไลน์กันดูค่ะ