เพราะความนิยมการใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตนั้นมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อตามผู้บริโภคให้ทัน ผู้ประกอบการหลายๆ รายเลือกที่จะเปิดให้บริการการซื้อขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ทั้งแบบ e-commerce และ m-commerce หรือที่เรียกว่า Mobile Commerce นั่นเอง
และเพราะความนิยมที่เติบโตมาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องนั้นเอง ที่ทำให้ปัจจุบันผู้บริโภคนั้นมีแนวโน้มว่าจะมีความเคยชินกับการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ผ่านอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตมากขึ้น แต่ทว่าการใช้งานสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตนั้นกลับไม่กระทบกับยอดขายสินค้าหน้าร้านของผู้ประกอบการรายอื่นๆ มากนัก จากข้อมูลของ Gallop ที่เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2014 ที่ผ่านมา พบว่าอันที่จริงแล้วการใช้งานสมาร์ทโฟนนั้นกลับส่งผลต่อการซื้อสินค้าหน้าร้านแบบตรงกันข้ามกับที่หลายๆ คนคาด
จากข้อมูลดังกล่าวที่มาจากการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริโภคในสหรัฐฯ พบว่า 22% ของพวกเขาเผยว่าการชมสินค้าผ่านสมาร์โฟนนั้นทำให้พวกเขาเยี่ยมเยือนร้านค้าต่างๆ บ่อยขึ้น มีผู้บริโภคเพียง 3% เท่านั้นที่เผยว่าพวกเขานั้นไปเยี่ยมเยือนร้านค้าต่างๆ ลดลง นอกจากนี้ผู้บริโภคส่วนมากยังเผยว่าพวกเขายังคงเยี่ยมเยือนร้านค้าต่างๆ ด้วยจำนวนครั้งที่เท่าเดิม ทำให้สามารถสรุปได้ว่าอันที่จริงแล้วการใช้งานสมาร์ทโฟนนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหน้าร้านค้ามากอย่างที่เคยเข้าใจ
นอกจากนี้จากรายงานของ Deloitte ที่เปิดเผยเมื่อช่วงเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ยังได้เผยถึงผลกระทบจากความนิยมของการใช้งานสมาร์ทโฟนในร้านค้าต่างๆ ไว้ว่า การใช้งานสมาร์ทโฟนก่อน หรือระหว่าง การเดินชมสินค้าในร้านค้านั้นสามารถทำให้ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหน้าร้านค้านั้นสามารถสร้างรายได้ได้เช่นกัน โดยเมื่อปี 2013 ที่ผ่านมา ผู้บริโภคที่ชมสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนก่อนหรือระหว่างการเดินชมสินค้าในร้านนั้นมียอดการจับจ่ายสินค้าโดยรวมมากถึง 593 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราวๆ 19 ล้านล้านบาท) หรือคิดเป็น 19% จากรายได้ของการขายสินค้าผ่านหน้าร้านค้าทั้งหมดในสหรัฐฯ ในปีนั้น ซึ่งเพิ่มสูงจากปี 2012 เป็นอย่างมาก ที่ผู้บริโภคที่ใีพฤติกรรมดังกล่าวนั้นมียอดการจับจ่ายเพียง 159 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือราวๆ 5 ล้านล้านบาท)
ที่มา : eMarketer