ในงาน Start it Up, Power it Up #5 ได้มี Startup น้องใหม่ 3 ทีมที่ได้รับรางวัลการใช้งาน Microsoft Bizspark สำหรับใครเป็นใครกันบ้างนั้น เราไปทำความรู้จักกับทั้ง 3 ทีมพร้อมกับความคิดเห็นการใช้ Window Azure
Startup รายแรกที่เราจะแนะนำให้รู้จักกันคือ Bua Soft Development
(คุณชัชวาลย์ บัวเล็ก)
เป็นผู้พัฒนาซอฟแวร์บริหารจัดการตู้คอนเทนเนอร์ เปิดตัวและให้บริการลูกค้าไปแล้ว 15 ราย ในรูปแบบ Client-Server Application ชื่อโปรแกรม Container Depot Management System
จากกระแสทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปเป็น Cloud Technology ทางบริษัทจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับกระแสเทคโนโลยี จาก Business Model แบบเดิมที่เป็นการขาย ซอฟแวร์และให้บริการหลังการขาย ทางบริษัทมีแนวคิดที่จะเปลี่ยน Business Model เป็นการให้เช่าใช้งานระบบแทน เพื่อช่วยลดต้นทุนของลูกค้า และขยายฐานของลูกค้าให้กว้างขวางขึ้น เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทางและพื้นที่ในการดูแลลูกค้า ดังนั้นจึงต้องทำการพัฒนาระบบขึ้นใหม่ในรูปแบบ Cloud Technology โดยใช้ชื่อว่า @Depot Logistics on Cloud
ระบบ @Depot Logistics on Cloud ที่จะทำการพัฒนาขึ้นใหม่จะมีลักษณะเป็นโปรแกรมแบบเว็บเซอร์วิส ซึ่งซอฟท์แวร์จะทำงานบนเว็บไซต์ ในลักษณะการเช่าใช้งานบนเว็บตามรูปแบบของ SaaS (Software as a Service) และเก็บข้อมูลไว้บน Cloud Server โดยเลือกใช้ระบบของ Microsoft Azure Platform และพัฒนาระบบด้วย Visual Studio .NET
โดยระบบ @Depot Logistics on Cloud จะรองรับเรื่องของปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น และจะมี Data Center หลายแห่งในการเก็บข้อมูลพร้อมใช้ได้ตลอดเวลา สามารถใช้งานได้แบบ Pay Per User เพื่อให้ระบบมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และมีค่าใช้จ่ายในการใช้งานที่ถูกลง ทั้งยังสามารถรองรับลูกค้าในภูมิภาคอาเซียนที่จะเพิ่มขึ้นจากการเปิด AEC และบริษัทจะขยายขอบเขตของระบบงานไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเช่น Shipping Agent, ท่าเรือ, บริษัทขนส่งสินค้า เพื่อให้ระบบครอบคลุมการบริการด้านโลจิสติกส์ทั้งหมด
Startup รายที่ 2 PAGPOS
(คุณพิเชฐ หอมแสง)
โจทย์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการแก้ปัญหาคือ เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ จะทำยังไงที่จะทำให้ผู้ที่สั่งซื้อสินค้าเหล่านั้นจะไม่พลาดการรับสินค้าเมื่อถูกส่งไปถึงที่บ้าน เพราะในแต่ละวันเราทุกคนมีกิจกรรม มีธุระต่างๆ มากมายที่จะต้องทำอยู่แล้ว แน่นอนว่าธุระหรือกิจกรรมเหล่านั้นไม่ได้อยู่ที่บ้านตลอดเวลา ก็อาจจะทำให้พลาดการรับสินค้าที่กำลังรออยู่ ทำให้จะต้องเสียเวลาในวันถัดไปในการเดินทางไปรับสินค้าหรือพัสดุเอง หรือถ้าโชคไม่ดีที่วันถัดไปเป็นวันหยุดติดต่อกันก็ยิ่งเสียเวลามากขึ้นกว่าเดิม ด้วยแนวคิดนี้เองจึงได้สร้าง PAGPOS ขึ้นมาเพื่อช่วยให้ร้านค้าออนไลน์ต่างๆ มีช่องทางในการแจ้งเตือนสถานะของสินค้าชิ้นนั้นๆ ว่าสถานะเป็นยังไง สินค้าอยู่ที่ไหนแล้ว ให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการร้านค้าออนไลน์นั้นๆ แบบอัตโนมัติ ให้ได้ทราบถึงสถานะของสินค้าที่ตัวเองสั่งว่าเป็นยังไง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถวางแผนกิจกรรม หรือธุระต่างๆ ของวันนั้นได้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการฝากให้คนรู้จักรับสินค้าให้ในกรณีที่ตัวเองไม่อยู่บ้าน หรือวันนั้นอาจจะมีกิจกรรมพบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆ ก็อาจจะไปช้าสักนิดเพื่อรอรับสินค้าก่อน เป็นต้น
บริการของ PAGPOS คืออะไร?
บริการของ PAGPOS ก็ตรงไปตรงมาตามสโลแกนที่ว่า Package Position Notification System เป็นระบบสำหรับการแจ้งเตือนว่าสินค้า หรือพัสดุอยู่ที่ไหนนั่นเอง โดยจะแบ่งเป็นบริการสำหรับคนทั่วไป และบริการสำหรับ E-Commerce หรือร้านค้าออนไลน์ต่างๆ
ประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการของ PAGPOS คืออะไร?
สำหรับคนที่มีร้านค้าออนไลน์อยู่แล้ว หรือกำลังคิดจะเปิดขายแบบออนไลน์ ที่ต้องการช่องทางสำหรับการแจ้งเตือนตำแหน่งสินค้านั้นให้กับลูกค้าของตัวเองได้รู้แบบอัตโนมัติ อีกทั้งยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีของลูกค้าต่อการใช้บริการ ซึ่งนั่นหมายถึงเป็นการสร้างโอกาสในการที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อของที่ร้านค้า หรือเว็บไซต์ของท่านอีก อย่าลืมว่าครั้งแรกนั้นสำคัญเสมอ
ปัจจุบัน PAGPOS กำลังอยู่ในช่วง Alpha นั่นคือเปิดให้คนทั่วไปใช้งาน, สถานะ Beta คือจะเปิดรับร้านค้าสำหรับทดลองใช้ในจำนวนจำกัด พร้อมทั้งรับฟังเสียงตอบรับจากการใช้งาน หรือจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและให้ตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ หลังจากนั้นเราก็จะเปิดให้ร้านค้าออนไลน์ต่างๆ ใช้งานต่อไป
เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง PAGPOS
PAGPOS ถูกเขียนขึ้นด้วย Ruby on Rails และรันอยู่บน Windows Azure ซึ่งก็รองรับอยู่แล้วPAGPOS รันอยู่บน Windows Azure ตั้งแต่แรกเริ่มโปรเจคอยู่แล้ว โดยเหตุผลหลักๆ ที่ตัดสินใจเลือกใช้บริการของ Windows Azure เนื่องจากลักษณะการให้บริการของ PAGPOS คือการตรวจสอบสถานะ ตำแหน่งของสินค้า และการแจ้งเตือน ตามช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Email, SMS, Message และทาง Social Network เพื่อตอบสนองการให้บริการ และกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงบนเครือข่ายที่แทบจะเป็นแบบ realtime หรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้พร้อมกันได้ทีละมากๆ เราจึงต้องการ Server ที่ให้บริการอยู่เบื้องที่มีประสิทธิภาพ และสามารถปรับการใช้งานได้ง่ายในไม่กี่ขั้นตอน เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย อีกทั้งต้องรองรับการขยายตัว และเติบโตในอนาคตด้วย ซึ่งจากการได้ลองใช้ Windows Azure (จะได้รับเครดิต $200 เมื่อสมัครทดลองใช้งาน) ด้วยโจทย์ที่เราตั้งขึ้นว่าต้องรันบน Cloud, สามารถปรับแต่งได้ง่าย, รองรับการเติบโตในอนาคต และที่สำคัญที่สุดคือค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งสำคัญสำหรับ Startup อย่างมาก ด้วยเหตุผลเหล่านี้เองจึงไม่ยากเลยในการไว้วางใจให้ Windows Azure ให้รันอยู่เบื้องหลังเพื่อสนองตอบต่อบริการต่างๆ ของ PAGPOS นั่นเอง
Startup รายที่ 3 เป็นน้องใหม่ไฟแรงอายุเพียงแค่ 13 ปีน้องเคนก็สามารถพัฒนาโปรแกรมเองได้กับ Trip2Clip
( ดช.กษิดิส อรุณเรืองศิริเลิศ)
Trip2Clip เป็นแอพฯ ที่พัฒนาเพื่อให้การทำ Slideshow เป็นเรื่องที่สนุกมากขึ้น • นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักถ่ายรูปจำนวนมาก และเก็บภาพเหล่านั้นไว้ในโทรศัพท์มือถือ โดยไม่ได้นำไปอัดล้างที่ร้านถ่ายรูป เมื่อเดินทางหลายๆครั้งก็จะมีรูปสะสมจำนวนมาก ทำให้โทรศัพท์มือถือทำงานช้าลงการทำ Slideshow เป็นการเล่าเรื่องราวและส่งต่อความประทับใจได้ดีกว่าแต่ทำได้ยากและใช้เวลานานสำหรับบุคคลทั่วไป ดังนั้นน้องจึงเกิด Trip2Clip ขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งาน
- ผู้ใช้สามารถสร้าง Slideshow แบบมืออาชีพได้ง่าย สะดวก และ รวดเร็ว
- สามารถนำรูปมารวมกันและสร้างเป็น Slideshow ได้
- มีระบบ Vote ภาพเพื่อความบันเทิงและเพื่อคัดภาพ
- สามารถแชร์ผ่าน Social Media เช่น YouTube ,Facebook ได้ง่าย
- สามารถลบรูปที่ทำ Slideshow ไปแล้วออกจากเครื่องได้
- สามารถนำไปปรับใช้ได้กับงานลักษณะอื่นๆ เช่น งานรับปริญญา งานแต่งงาน งานบวช การนำเสนอสินค้า ฯลฯ
ปัจจุบันเปิดให้ทดลองใช้ผ่านทาง Android แล้ว
น้องเคนกล่าวว่า Windows Azure เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจเพราะค่าใช้จ่าย Fix Cost เป็นสิ่งสำคัญและต้องควบคุมให้เหมาะสม การที่ธุรกิจขนาดเล็กจะซื้อ Server เป็นของบริษัทเอง มันก็เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจาก Server มีราคาที่สูงมาก และเราก็ยังไม่ทราบว่าลูกค้าจะใช้บริการมาก- น้อยเท่าไร และยังมีค่า Maintenance ที่ค่อนข้างสูง จึงคิดว่าการซื้อ Server ที่มีราคาสูงยังไม่เหมาะสมกับธุรกิจ อีกทางเลือกหนึ่งก็คือการเช่า Co-Location , VPS ซึ่งมีค่าใช้จ่าย Fixed Cost ทุกเดือนจำนวนเท่ากันและไม่สามารถปรับแต่งได้ เช่น บางเดือนลูกค้ามีความต้องการใช้บริการมาก Server อาจจะ Overload และ Down ในที่สุด ซึ่งลูกค้าอาจจะไม่พึงพอใจมาก ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจ บางเดือนลูกค้ามีความต้องการใช้บริการน้อย บริษัทก็ยังต้องจ่าย Fixed Cost เท่าเดิมทุกๆ เดือน ซึ่งมีผลต่อกำไร- ขาดทุนของบริษัท และ Co-Location บางรายที่ให้บริการมี Bandwidth ไปต่างประเทศที่ต่ำมากซึ่งส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งไม่เหมาะสมกับธุรกิจเช่นกัน
Windows Azure ยังมีทีมดูแลที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ Server มีโอกาส Down ที่ต่ำมาก อีกทั้งยังมีแผงควบคุม Server บนเว็บทำให้สามารถดูการใช้งานของ Server รวมทั้งสถานะ Server และยังสามารถปรับแต่ง Server จากที่ไหนก็ได้ ทำให้ง่ายต่อการดูแล และหากไม่ได้ใช้ Server ก็สามารถสั่งปิดได้ ทำให้ประหยัดงบประมาณบริษัทอีกด้วย รวมทั้ง Windows Azure ยังเป็นของ Microsoft มีทีมดูแลที่มั่นใจได้แน่นอน และ Windows Azure ยังมีการ Maintenance Server โดยผู้เชี่ยวชาญทำให้ประหยัดเวลาและมั่นใจ อีกทั้ง Windows Azure ยังรองรับการเขียนโปรแกรมหลายภาษา ทำให้สะดวกในการสั่งงานอีกด้วยครับ จึงคิดว่าการเลือกใช้ Windows Azure เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดสำหรับธุรกิจในเวลานี้
อัพเดต (30/10/2014) ล่าสุดน้องเคนได้พัฒนาแอปฯ ที่ชื่อว่า SheepCheap แอปฯ เปรียบเทียบราคาใน Super Market ที่จะช่วยให้เพื่อนๆ ซื้อของในราคาที่ประหยัดและถูกใจมากขึ้น โครงการนี้เป็นหนึ่งในรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Mobile Development Apprentice for Retail โดย Software Park Thailand (2014) ใครใช้ android อยู่ ไปหาโหลดกันได้เลยที่ลิงค์นี้