โดยปกติแล้วการใช้โซเชียลมีเดีย ก็คงหนีไม่พ้นการบอก การแชร์ข้อความต่างๆ ให้ผู้ที่ติดตามได้รับรู้ข่าวสารตามที่ผู้ส่งสารต้องการ และเมื่อรับรู้ก็อาจจะมีการส่งต่อหรือจบไปในที่สุด แต่สำหรับไอเดียนี้เป็นเปลี่ยนพลังโซเชียลที่จากเดิมอยู่เฉพาะบนออนไลน์ให้กลายเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้งานได้จริง
โครงการนี้จัดขึ้นโดย MINDDRIVE ด้วยนักเรียน 30 คนที่อยู่ในเมือง Kansas City ที่รวมตัวกันทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อที่จะให้นักเรียนได้แรงบันดาลใจในการเรียนรู้, ช่วยเพิ่มวิสัยทัศน์เพื่ออนาคต และเพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการพัฒนาแรงงานในเมืองด้วย โดยโครงการนี้ได้รับเงินทุนจากบริษัทที่เกี่ยวกับรถยนต์ต่างๆ มาช่วย ไม่ว่าจะเป็น Bridgestone, Hertz Corporation, SONIC®, America’s Drive-In®, American Society of Mechanical Engineers (ASME) เป็นต้น
อย่างที่บอกไปว่าโครงการนี้เป็นการที่เอาจำนวนการแชร์บนโซเชียลมีเดียเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ โดยเป้าหมายในการเดินทางเริ่มต้นที่ Kansas City ไปถึง Washington D.C. ระยะทางรวม 1000 ไมล์ ซึ่งมีการคำนวนออกมาแล้วว่าจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวน 71,040 วัตต์ และสำหรับการคิดคำนวนการแชร์เทียบกับจำนวนวัตต์ มีดังนี้
- ตาม Twitter @MINDDriveorg คิดเป็น 5 วัตต์
- Mention, Retweet, Reply และใส่ Hashtag
#minddrive คิดเป็น 3 วัตต์ - กด Like บน facebook.com/minddriveorg คิดเป็น 1 วัตต์
- เขียน Comment หรือ Share Post คิดเป็น 3 วัตต์
- ดู YouTube คิดเป็น 3 วัตต์
- ติด Tag บน Instagram minddrive คิดเป็น 3 วัตต์
- กด Like บน Instagram คิดเป็น 1 วัตต์
- เขียน Comment บน Instagram คิดเป็น 3 วัตต์
- ลงชื่อที่เว็บไซต์นี้ คิดเป็น 10 วัตต์ต่อชื่อ
ขณะที่เขียนนี้ได้เริ่มโครงการไปสักพักแล้ว โดยยังต้องการอีกกว่า 52,000 วัตต์ ถึงจะได้ตามเป้าหมาย
ใครที่สนใจอยากจะดูความเคลื่อนไหวของโครงการนี้รวมทั้งเข้าไปสนับสนุนก็ลองเข้าไปดูและติดตามได้ที่เว็บไซต์นี้ครับ minddrive.org
ลองดูวิดิโอแนะนำโครงการนี้ได้ครับ
สิ่งที่น่าสนใจในเว็บนี้ก็คือการสร้าง gimmick เพื่อกระตุ้นให้คนเข้าไปดูและบอกต่อด้วยโซเชียลมีเดีย ซึ่งช่วยกระจายข่าวสารได้เป็นอย่างดี จากเดิมที่ทำไปแล้วก็มีเพียงแค่เว็บไซต์แจ้งรายละเอียดและทำไปเพียงอย่างเดียว ถือเป็นการหยิบเอาเครื่องมือมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและสร้างความน่าสนใจให้ผู้ติดตามอย่างมาก
มองไปแล้วก็อดเทียบไม่ได้กับบางแบรนด์ในบ้านเราที่เอาแต่จะเรียกการกด Like เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ได้สร้างสรรค์อะไรเลยจริงๆ ผมเลยอยากยกให้เคสนี้เป็นตัวอย่างที่เอามาคิดต่อยอดครับ