ปี 2021 ยังคงเป็นปีที่มีความท้าทายจากการระบาดของ Covid-19 จากการเตรียมตัวและตั้งรับตั้งแต่ในช่วงแรกของการระบาดในปีที่ผ่านมา ทำให้แบรนด์เรียนรู้ที่จะจัดลำดับความสำคัญในการทำการสื่อสารไปยังกลุ่มผู้บริโภค โดยการใช้ data เพื่อปรับกลยุทธิ์และเสนอคอนเทนต์อย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบใหม่ของผู้บริโภคที่เกิดการรับรู้และสั่งซื้อสินค้าได้จากปลายนิ้ว
ทั้งนี้ โอกาสและความท้ายทายสำหรับแบรนด์ในการสื่อสารการตลาดในปี 2021 ยุคที่ผู้บริโภคมีวิถีชีวิตแบบใหม่สืบเนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19
คุณปัทมวรรณ สถาพร – กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ กล่าวว่า “ในปีที่ผ่านมาทั้งแบรนด์และผู้บริโภคต่างจำเป็นที่จะต้องปรับตัวจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส ซึ่งมาจนถึงวันนี้โควิท-19 ยังไม่ได้หายจากเราไป แต่ทั้งแบรนด์และผู้บริโภคมีประสบการณ์และเรียนรู้ในการรับมือกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของเม็ดเงินโฆษณา ทางเราเชื่อว่าปี 2021 จะเติบโตขึ้นจากปี 2020 ทั้งบนสื่อดิจิตัลและทีวี และแน่นอนว่า eCommerce ก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2021 นี้เช่นกัน
มายด์แชร์ คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้น 3% เทียบจากปี 2563 หรือมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 97,100 ล้านบาท ดิจิทัลยังคงเป็นสื่อที่มีการเติบโตสูงที่สุด ในขณะที่ทีวียังคงเป็นสื่อที่แข็งแกร่งที่ขับเคลื่อนด้วยทีวีดิจิทัล เนื่องด้วยวิถีของผู้บริโภคที่ work from home ในช่วงการระบาด
ข้อคิดต่อนักการตลาดในการทำกลยุทธิ์การสื่อสารในปี 2564
- Prioritization – ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อวิเคราะห์กลยุทธิ์การสื่อสารผลิตภัณฑ์ที่จะตอบโจทย์ต่อสถานการณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
- Audience วิเคราะห์สถานการณ์ ข้อมูล และคาดการณ์ถึงการปรับตัวของกลุ่มผู้บริโภคเพื่อให้เกิดการขาย
- Media เลือกใช้สื่อที่เข้าตรงถึงกลุ่มผู้บริโภคของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ
- Agile Communication ปรับการสื่อสารที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้จะสามารถซื้อสินค้าได้จากที่บ้านได้ทันที และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรวมตัว
- eCommerce and Search ให้แน่ใจว่าผู้บริโภคสามาถหาเราพบจากการ search และพิจารณาการทำแคมเปญสำหรับการสั่งซื้อจำนวนมากรวมไปถึงเรื่องการจัดส่ง